อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวต่อว่า ศูนย์สุขภาพจิตมีโครงสร้างและบทบาทที่ชัดเจนอยู่แล้วในการพัฒนากลไกการดำเนินงานสุขภาพจิตเพื่อชี้นำและร่วมกำหนดทิศทางงานสุขภาพจิตระดับเขตสุขภาพ ตลอดจนสร้างการมีส่วนร่วมของเครือข่ายเพื่อให้ประชาชนสามารถดูแลสุขภาพจิตของตนเองได้ จึงเป็นโอกาสในการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านสุขภาพจิตเชิงรุกให้เข้าถึงทุกครัวเรือน ให้ประชาชนและชุมชนเห็นถึงความสำคัญของการมีสุขภาพจิตที่ดี มีภูมิคุ้มกัน สัมผัสได้ถึงการได้รับการดูแลด้านสุขภาพจิตอย่างเป็นรูปธรรมภายใต้บริบท สภาพปัญหา และความต้องการของชุมชน ซึ่งการที่ประชาชนในชุมชนได้รับการดูแล ส่งเสริม และป้องกันปัญหาสุขภาพจิต ได้ตรงกับสภาพปัญหาและความต้องการอย่างแท้จริง ย่อมสามารถตอบโจทย์สำคัญของการมีสุขภาพจิตที่ดี มีความสุข ที่เกิดจากรากฐานของชุมชน นำไปสู่การลดจำนวนผู้ป่วยและเพิ่มความแข็งแรงให้กับประชาชนทั่วทุกคนในประเทศได้เป็นอย่างดี และในวันนี้ ได้เห็นถึงการดำเนินงานเชิงรุกของศูนย์สุขภาพจิตที่น่าชื่นชม อาทิ โมเดลการสร้างสุขในชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน โมเดลแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตายโดยชุมชนมีส่วนร่วม การสร้างพื้นที่การเรียนรู้ของพ่อแม่/ผู้ปกครองในการดูแลลูกวัยรุ่น ค่ายครอบครัวสุขภาพจิตดี สำหรับกลุ่มออทิสติก และการ บูรณาการการซ้อมแผนเผชิญเหตุรุนแรง จากสถานการณ์ความไม่สงบจังหวัดชายแดนใต้ เป็นต้น
"การส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิต ถือเป็นเรื่องใหญ่ที่สำคัญมาก ปีนี้ จึงมุ่งหวังให้ศูนย์สุขภาพจิตทั่วประเทศขับเคลื่อนการดำเนินงานร่วมกับอำเภอจัดการสุขภาพให้เป็นรูปธรรมชัดเจนมากขึ้น ช่วยทำให้ชุมชนมีระบบหรือมีแนวทางดูแลสุขภาพจิต ที่ประชาชนสามารถจับต้องได้ มีมาตรฐานในการส่งเสริมและป้องกัน เกิดระบบเฝ้าระวัง มีแผนป้องกันปัญหาสุขภาพจิตโดยอยู่บนพื้นฐานของสุขภาพจิตในชุมชน หากเฝ้าระวังได้ดี ย่อมป้องกันปัญหาสุขภาพจิต ป้องกันเสี่ยงซึมเศร้า และปัญหาการฆ่าตัวตายลงได้ จึงจำเป็นต้องดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน มีฐานข้อมูลสุขภาพจิตชุมชนที่ดีและเป็นระบบ ตลอดจน มีมาตรฐานการทำงานเช่นเดียวกับโรงพยาบาล เพื่อเป็นหลักประกันให้กับหน่วยงานในการดูแลสุขภาพจิตประชาชนต่อไป" อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าว
HTML::image( HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit