ตามผลรายงานการสำรวจทั่วประเทศ ร้อยละ 25 ในภาคธุรกิจประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงาน อีกฉบับหนึ่งอธิบายว่าทุกๆ 100ตำแหน่งงาน บริษัทสามารถว่าจ้างพนักงานได้เพียง 77 ตำแหน่ง นี้เป็นผลลัพธ์จากปัญหาอัตราว่างงานที่น้อยมากในประเทศ คิดเป็นอัตราเฉลี่ยได้ร้อยละ 1 ภายในช่วงสิบปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นปัญหาที่เด่นชัดมากในภาคอุตสาหกรรมที่มีตำแหน่งงานว่างมากถึง 600,000 ตำแหน่ง ปัญหานี้ส่งผลให้แผนการขยายภาคอุตสาหกรรมติดอยู่ที่ก้าวแรก
ผู้ประกอบการไทยหลายแห่งทำการจ้างแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านตลอดเวลาที่ผ่านมา แต่เมื่อมาตรฐานการดำรงชีวิตและค่าจ้างที่ปรับระดับดีขึ้นในประเทศของกลุ่มแรงงานต่างชาตินั้น ส่งผลให้ภาคธุรกิจไทยต้องมองหาวิธีแก้ปัญหาที่ยั่งยืนมากขึ้น
การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่ (Industry 4.0) ในขณะนี้ได้กลายเป็นหนึ่งในความคิดริเริ่มล่าสุดของรัฐบาลไทยในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานและเพื่อเพิ่มผลผลิตให้กับประเทศ ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) บริษัทผู้ผลิตหลายแห่งทำการปรับปรุงโรงงานให้กลายเป็นโรงงานอัจฉริยะที่ใช้ระบบไซเบอร์ทางกายภาพ (Cyber-Physical System) ในการกระจายอำนาจการผลิตโดยใช้ครื่องจักรในการตรวจสอบกระบวนการทางกายภาพตามจริง
ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตฮาร์ดไดรฟ์คอมพิวเตอร์ที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลกรองจากประเทศจีน คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 40 ของการผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ทั่วโลก ซึ่งส่งออกต่างประเทศมากถึง 12,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯต่อปี หนึ่งในผู้ผลิตชั้นนำในอุตสาหกรรมนี้ คือ Seagate Technology ซึ่งเป็นบริษัทข้ามชาติรุ่นแรกๆในประเทศไทยที่ลงทุนสร้างโรงงานอัจฉริยะ โดยใช้หุ่นยนต์ในการผลิตและประกอบฮาร์ดไดรฟ์ตลอด 24 ชั่วโมงต่อวัน และอัพเดพข้อมูลให้กับมนุษย์ตามเวลาจริงผ่านอินเทอร์เน็ต
อุตสาหกรรม 4.0 ไม่ได้จำกัดเพียงธุรกิจโรงงานเท่านั้น บริษัทผลิตเครื่องดื่มอย่าง อิชิตัน ก็เลือกใช้ระบบคลังสินค้าอัตโนมัติซึ่งกำหนดจำนวนแพคเกจที่จะถูกส่งไปยังท่าเรือเพื่อจัดส่งต่อไปตามข้อมูลการขายที่อัพเดตอัตโนมัติด้วยระบบคลาวด์ผ่านเครื่องเก็บข้อมูล ณ จุดขายทั่วประเทศ
เรายังคงดูกันต่อไปว่าอุตสาหกรรม 4.0 จะมีผลต่อบริษัทผู้ผลิตทั่วโลกและแนวโน้มการย้ายที่ตั้งไปยังประเทศที่มีแรงงานค่าจ้างต่ำกว่า แน่นอนว่าประเทศในฝั่งตะวันตกหวังที่จะเห็นอุตสาหกรรม 4.0 ทำการผลิตภายในประเทศของตน แต่การแข่งขันในตลาดลงทุนโดยตรงนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย โดยฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีตลาดที่มีค่าใช้จ่ายในการผลิตน้อยกว่าและมีฐานอุตสาหกรรมที่มั่นคงอย่างประเทศไทยแข่งขันในยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่นี้
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit