โดยนายไมเคิล อาราเนตา และทีมนักวิเคราะห์อุตสาหกรรมเทคโนโลยีของไอดีซีประเทศไทย ยังเผยการคาดการณ์สำคัญเชิงกลยุทธ์ที่จะเกิดขึ้นในปี 2560 เป็นต้นไป ที่สร้างผลกระทบมากที่สุดให้แก่องค์กรในประเทศไทย
1: รุ่งอรุณแห่งเศรษฐกิจ DX ภายในปี 2563 นั้น 30% ของผู้ประกอบการที่ใหญ่ที่สุด 500 บริษัทของไทย จะพบว่าธุรกิจของพวกเขาส่วนใหญ่นั้นขึ้นอยู่กับความสามารถในการสร้างผลิตภัณฑ์ บริการ และประสบการณ์การใช้งานที่มีดิจิทัลเป็นองค์ประกอบในสองปีที่ผ่านมานั้น องค์กรไทยจำนวนมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ ได้เริ่มกระบวนการทำดิจิทัลทรานฟอร์เมชั่นโดยใช้เทคโนโลยีคลาวด์ อนาไลติกส์ เทคโนโลยีโซเชียล และเทคโนโลยีอื่น ๆ เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันผ่านสินค้า/บริการ รูปแบบการทำธุรกิจ และความสัมพันธ์ต่าง ๆ ในรูปแบบใหม่ แต่ในปัจจุบันการทำดิจิทัลทรานฟอร์เมชั่นส่วนใหญ่นั้นยังอยู่ในระดับ "โครงการริเริ่ม" เท่านั้นแต่ภายในปี 2563 นั้น การทำดิจิทัลทรานฟอร์เมชั่นจะเปลี่ยนไปสู่ระดับที่แตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง นั่นคือระดับของเศรษฐกิจมหภาค อันเนื่องมาจากการที่ธุรกิจจำนวนมากนั้นสร้างรายได้กว่าครึ่งหนึ่งจากการทรานส์ฟอร์มผลิตภัณฑ์/บริการ การดำเนินงาน ซัพพลายเออร์ ผู้จัดจำหน่าย และเครือข่ายลูกค้า ซึ่งจะยังผลให้ในทุกบริษัท (ที่มีการเติบโต) กลายเป็น "ชาวดิจิทัล" และการผลักดันของรัฐบาลไทยสู่ "ประเทศไทย 4.0" ก็จะได้รับการเปลี่ยนรูปแบบในขณะที่องค์การต่าง ๆ นั้นได้ทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน
2: รายได้เชิงดิจิทัล ภายในปี 2062 นั้น 25% ของโครงการด้านไอทีจะสามารถสร้างบริการและแหล่งรายได้ใหม่เชิงดิจิทัล ที่เกิดจากการเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นรายได้
ในยุค DX นั้นการทำทรานสฟอร์เมชั่นด้านข้อมูลเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญสู่ความสำเร็จ ทรานสฟอร์เมชั่นด้านข้อมูลเป็นแนวทางที่มุ่งเน้นไปที่การวิเคราะห์และการพัฒนาคุณค่า และประโยชน์ของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับลูกค้า ตลาด การทำธุรกรรมบริการ ผลิตภัณฑ์ สินทรัพย์ และประสบการณ์ทางธุรกิจ ซึ่งข้อมูลจะกลายเป็น "ทุนดิจิตอล" อย่างแท้จริง การสร้างรายได้จากข้อมูลจะผลักดันในเกิดความต้องการสถาปัตยกรรมข้อมูลสำหรับทั่วทั้งองค์กรและการพัฒนาในด้านการวิเคราะห์อนาไลติกส์
บริษัทจะต้องจัดการข้อมูลเช่นเดียวกับสินทรัพย์ที่มีมูลค่าต่าง ๆ และซีไอโอจะต้องสร้างกลยุทธ์องค์กรสำหรับการนำข้อมูลมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์/บริการ ตามความต้องการของลูกค้าและโอกาสต่าง ๆ สถาปัตยกรรมข้อมูลแบบใหม่ที่เอื้อต่อการวิเคราะห์ข้อมูลในแบบเรียลไทม์รวมถึงทักษะการทำเหมืองข้อมูลนั้นจะมีความจำเป็นในการสร้างรายได้เชิงดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ
3: การซัพพอร์ตโดยใช้ดิจิทัล ภายในปี 2561 นั้น 60% ของการบริการซัพพอร์ตลูกค้าจะอยู่ในรูปแบบดิจิทัลและเกิดขึ้นในชุมชนออนไลน์
การมอบบริการซัพพอร์ตและการบริการต่าง ๆ ให้กับลูกค้าได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของ 'ประสบการณ์การใช้แบรนด์' ที่ดีไปกว่าแค่บริการทั่วไป และด้วยสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นของประชากรโลกโซเชียลของไทย ที่มีการใช้งานโซเชียลมีเดียเกิน 40 ล้านคนไปแล้วนั้น ไอดีซีคาดการณ์ว่าจะมีองค์กรมากขึ้นที่จะเพิ่มการปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าผ่านชุมชนโซเชียลและชุมชนออนไลน์
การบริการซัพพอร์ตลูกค้าออนไลน์นั้น ช่วยแก้ปัญหาของลูกค้าและก็ยังช่วยเพิ่มภาพลักษณ์ของแบรนด์อีกด้วย นอกจากนี้ชุมชนที่ประสบความสำเร็จจะสามารถสร้างแบรนด์แชมป์เปี้ยนหรือผู้สนับสนุนแบรนด์ ที่ไม่เพียงแต่จะแนะนำสินค้าหรือบริการให้แก่ลูกค้ารายอื่นเท่านั้น แต่ยังจะช่วยแก้ปัญหาของลูกค้าในนามของแบรนด์อีกด้วย ซึ่งไอดีซีประเทศไทยเชื่อว่า ในอนาคตอันใกล้นี้จะมีองค์กรมากขึ้นที่จะใช้ไอทีเพื่อบูรณาการระบบการบริการลูกค้าและระบบซัพพอร์ตต่าง ๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบันเข้าด้วยกัน และจะมีการติดตั้งระบบที่สามารถดึงข้อมูลต่าง ๆ ออกมาจากชุมชนออนไลน์ เพื่อนำมาวิเคราะห์ให้เข้าใจถึงพฤติกรรมลูกค้าและแก้ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในรูปแบบเชิงรุกได้
4: อินเตอร์เฟซแบบ 360 องศาจะได้รับความสนใจมากขึ้น ในปี 2561 นั้น 30% ของบริษัทขนาดใหญ่ 100 บริษัทแรกที่ขายผลิตภัณฑ์/บริการให้กับลูกค้าโดยตรงจะทำการทดสอบการใช้งานเออาร์/วีอาร์ให้เป็นส่วนหนึ่งของการทำการตลาดอินเตอร์เฟซเป็นหน้าด่านที่จำเป็นต่อการปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า และในปัจจุบันได้มีการพัฒนาเร็วกว่าที่หลายฝ่ายได้คาดการณ์ไว้ การใช้งานเทคโนโลยีเออาร์/วีอาร์และความก้าวหน้าของเทคโยโลยีการสั่งงานด้วยเสียงจะทำให้ประเทศไทยเห็นโลกดิจิทัลเชื่อมต่อกับโลกแห่งความเป็นจริง และเห็นคนเข้าไปอยู่ในโลกดิจิทัลอย่างสมบูรณ์แบบในอีก 3 – 4 ปีข้างหน้า ซึ่งจะเป็นการเพิ่มและขยายปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลต่าง ๆ ในเศรษฐกิจ DX
โดยในปี 2563 ประสบการณ์การใช้งานโมบายล์ เว็บ หรือแอปพลิเคชัน "ที่เจ๋งที่สุด" ของวันนี้จะดูน่าเบื่อมาก ดังนั้นนักการตลาดทั่วประเทศจะต้องริเริ่มและนำคอนเทนต์ในรูปแบบเออาร์/วีอาร์มาใช้ประโยชน์ เพื่อหาวิธีการใหม่ในการปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า
5: การเติบโตของอุตสาหกรรมไอโอที ในปี 2560 รถยนต์อัจฉริยะ ประกันภัยเชิงเทเลเมติกส์ เทคโนโลยีด้านสุขภาพส่วนบุคคล และสมาร์ตบิลดิ้งจะเป็น 4 กรณีการใช้งานไอโอทีที่แพร่หลายมากที่สุดของประเทศไทย ซึ่งจะกระตุ้นการลงทุนในเทคโนโลยีไอโอทีถึง 7 พันล้านบาท
ไอดีซีคาดการณ์ว่าการลงทุนไอโอทีของประเทศไทยจะมีจำนวนถึง 7 พันล้านบาทในปี 2560 เนื่องมาจากแนวโน้มการลงทุน ทัศนคติ และกรณีการใช้งานต่าง ๆ ที่จะถูกผลักดันโดยโครงสร้างธุรกิจ สถานการณ์ กฎข้อบังคับ และระดับนวัตกรรมที่หลากหลายและแตกต่างกัน
รถยนต์อัจฉริยะที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้จะเป็นตัวชูโรง ซึ่งจะได้รับอานิสงส์จากนวัตกรรมต่าง ๆ ที่ผู้ผลิตยานยนต์ ผู้ให้บริการไอที และผู้ให้บริการสาธารณูปโภคได้สร้างสรรค์ขึ้นมา ส่วนการประกันภัยเชิงเทเลเมติกส์จะยังคงเติบโต และกลายเป็นบริการมาตรฐานของอุตสาหกรรมนี้อย่างค่อยเป็นค่อยไป เทคโนโลยีสุขภาพส่วนบุคคลจะเป็นกรณีการใช้งานที่เกิดขึ้นใหม่ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า และจะมีอุปกรณ์ใหม่ ๆ ที่มีประสิทธิภาพในการเชื่อมต่อพร้อมด้วยคุณสมบัติการวิเคราะห์ที่ก้าวหน้าขึ้นเกิดขึ้นเรื่อย ๆ
สุดท้ายนี้ สมาร์ตบิลดิ้งจะมีระดับการลงทุนสูงมากในประเทศไทย โดยจะได้รับการส่งเสริมจากกฎหมายที่รอการบัญญัติอยู่ซึ่งเอื้อต่อการใช้งานเทคโนโลยีสนับสนุนต่าง ๆ ในอนาคต
6: รถยนต์อัจฉริยะ ภายในปี 2562 นั้น 25% ของรถยนต์ที่เปิดตัวใหม่จะมาพร้อมความสามารถในการรายงานสภาพความสึกหรอของตนเอง แจ้งซ่อมบำรุง ส่งข้อมูลกลับไปหาผู้ผลิตเพื่อพัฒนาเพิ่มเติม และตรวจสอบการเคลมประกันได้
รถยนต์นั้นสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพของรถผ่านเทเลมาติกส์มาได้ในระดับหนึ่งแล้ว แต่การใช้เซ็นเซอร์และเทเลมาติกส์ที่เพิ่มขึ้นนั้นช่วยยกระดับของรถยนต์เหล่านี้ไปสู่ระดับใหม่ที่สูงขึ้น ในไม่ช้านี้นวัตกรรมที่เกี่ยวกับการวินิจฉัยปัญหาในระบบเครื่องกลหรือไฟฟ้าของรถยนต์จะเปลี่ยนจากการเก็บข้อมูลย้อนหลังไปสู่เพื่อการเก็บ และวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์ที่สามารถใช้ร่วมกับเทคโนโลยีแมชชีนเลิร์นนิ่ง เพื่อนำไปสู่การทำ "แอ๊คชันต่อไปที่ดีที่สุด" ได้ ผู้ผลิตอุปกรณ์ยานยนต์ในปัจจุบันนั้นมีศูนย์บริการลูกค้าที่ช่วยประสานการนัดหมายการเข้ารับบริการ หรือติดต่อประกันภัยได้ แต่ในอนาคตอันใกล้นี้ รถยนต์จะสามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้ด้วยตัวเอง
การเกิดขึ้นของเทคโนโลยีแพลตฟอร์มที่ 3 (โมบิลิตี้ คลาวด์ และการวิเคราะห์ข้อมูลแบบบิ๊กดาต้า) รวมถึงตัวเร่งนวัตกรรม เช่น ไอโอทีและคอกนิทีฟซิสเต็ม (แมชชีนเลิร์นนิง) นั้นช่วยนำไปสู่การสร้างระบบอัตโนมัติในรถยนต์ให้เกิดขึ้น และทำให้รถยนต์สามารถวินิจฉัยปัญหาเชิงคาดการณ์ล่วงหน้าได้
7: การปฏิสัมพันธ์กับผู้ป่วย ในปี 2017 การปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยกับผู้ให้บริการด้านสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์ชีวภาพ จะเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดจากเชิงรับเป็นเชิงรุก
การเข้าถึงสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตได้กลายเป็นเรื่องธรรมดาในประเทศไทยไปแล้วเนื่องจากภายในปี 2560 นั้นประชากรไทยได้เข้าถึงสมาร์ทโฟนกว่า 73% บริการด้านสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์ชีวภาพเอง ก็ได้เล็งเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้บริโภค/ผู้ป่วยกับสภาวะแวดล้อมผ่านแอปพลิเคชันต่าง ๆ และพยายามที่จะสร้างการปฏิสัมพันธ์แบบเดียวกันกับผู้ป่วยด้วยการปฏิสัมพันธ์กับผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นนั้นสามารถนำไปสู่การปรับปรุงผลลัพธ์ของการรักษา การเพิ่มความพึงพอใจของผู้ป่วย การลดระยะเวลาในการนำยาตัวใหม่ออกสู่ตลาด และการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายได้ ไอดีซีคาดการณ์ว่าองค์กรในภาคอุตสาหกรรมวิทยาศาสตร์ชีวภาพและการดูแลสุขภาพจะพยายามหาวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศในเชิงการปฏิสัมพันธ์กับสังคม เพื่อเพิ่มการปฏิสัมพันธ์กับผู้ป่วยภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาความสัมพันธ์กับผู้ป่วยอย่างสมบูรณ์และเปลี่ยนผู้ป่วยจากผู้เข้ารับการรักษาหรือผู้ใช้ยาไปเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่ส่งผลกระทบต่อทุกแง่มุมของอุตสาหกรรม
8: กลยุทธ์มัลติคลาวด์ กว่า 55% ของแผนกไอทีจะดำเนินกลยุทธ์การสรรหาและจัดการสถาปัตยกรรมมัลติคลาวด์ภายในปี 2563 ซึ่งจะช่วยผลักดันความเร็วของการเปลี่ยนแปลงภายในแผนกไอทีขององค์กรต่าง ๆ องค์กรต่าง ๆ ของไทยกำลังทำการย้ายจากไอทีแบบดั้งเดิมไปสู่แพลตฟอร์มคลาวด์ ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่สำคัญที่สุดที่มีการใช้งานเพิ่มมากขึ้นทั่วประเทศ การใช้เทคโนโลยีคลาวด์นั้น ไม่เพียงแต่สร้างผลกระทบต่อธุรกิจไทยในแง่ผลประโยชน์ด้านค่าใช้จ่ายเท่านั้น แต่ยังรวมถึงประสิทธิภาพการดำเนินงาน การใช้งานได้อย่างรวดเร็ว และความยืดหยุ่นด้วย
ไอดีซีคาดการณ์ว่าองค์กรที่มีความก้าวหน้าด้านไอที ที่ได้ทำการย้ายโครงสร้างพื้นฐานภายในองค์กรไปสู่ระบบคลาวด์จะเริ่มดำเนินการสรรหา และควบรวมบริการคลาวด์ที่ดีที่สุดสำหรับแต่ละกิจกรรมการทำงานหลาย ๆ บริการเพื่อนำไปสู่กลยุทธ์สถาปัตยกรรมมัลติคลาวด์ อันจะเป็นการใช้งานระบบคลาวด์ที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมกับกิจกรรมการทำงานต่าง ๆ มากที่สุด
9: การยกเครื่องเพย์ทีวี ในปี 2561 การเติบโตของผู้ใช้บริการทีวีที่มีการออกอากาศแบบโอเวอร์เดอะท็อป (โอทีที) จะผลักดันให้เพย์ทีวีแบบเดิมนั้นต้องทำการยกเครื่องตนเองผ่านการใช้งานคลาวด์
ปี 2561 จะเป็นปีสำคัญสำหรับโครงสร้างพื้นฐานของวิดีโอและเป็นปีที่มีการเพิ่มการใช้งานโซลูชั่นเทคโนโลยีของผู้ให้บริการทีวี ไอดีซีคาดว่าผู้ให้บริการเพย์ทีวีในปัจจุบันจะต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้นเนื่องจากการพัฒนาของวิดิโอแอปพลิเคชัน ประเภททีวีเอวรี่แวร์ ที่สามารถรับชมได้แบบมัลติสกรีน ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้บริการเพย์ทีวีถูกบังคับให้ต้องให้บริการแบบมัลติสกรีนอย่างเข้มข้นขึ้นเช่นเกียวกัน ไม่เพียงแค่แบบทีวีเอวรี่แวร์เท่านั้น แต่อาจจะรวมถึงบริการโอทีทีอื่น ๆ ด้วย ซึ่งในที่สุดจะผลักดันให้ทั้งอุตสาหกรรมทีวีให้ย้ายไปสู่ระบบคลาวด์มากขึ้น
แนวทางการใช้คลาวด์เป็นหลักเพื่อบริการวิดีโอนี้ต้องใช้โซลูชันที่สามารถจัดการการแพร่ภาพวิดิโอทั้งแบบสดและแบบโอทีทีโดยที่มีโฮสต์สำหรับบริการย่อยอื่น ๆ ซึ่งตั้งอยู่บนแพลตฟอร์มคลาวด์แบบโมดูลาร์ ผู้ให้บริการเพย์ทีวีจำเป็นจะต้องมีพาร์ทเนอร์ทางเทคโนโลยีที่มีแผนงานไปสู่ปลายทางของการพัฒนาการบริการมากกว่าจะมีแค่โซลูชันธรรมดาที่สนับสนุนการเสนอวิดีโอในปัจจุบันเท่านั้น
10: คอกนิทีฟไซเบอร์ซิเคียวริตี้ ภายในปี 2562 กว่า 30% ของระบบไซเบอร์ซิเคียวริตี้ขององค์กรในประเทศไทยจะใช้เทคโนโลยีคอกนีฟ/เอไอ เพื่อช่วยในการจัดการกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้นและซับซ้อนขึ้นอย่างมาก
ไซเบอร์ซิเคียวริตี้นั้นถือเป็น "เกมแมวไล่จับหนู" โดยเป็นการต่อสู้กับระหว่างเหล่าอาชญากรที่สร้างการโจมตีแบบใหม่ ๆ และผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยที่ต้องหาวิธีการเพื่อเอาชนะการโจมตีดังกล่าวในภายหลัง
ในโลกที่ทุกสิ่งเชื่อมต่อกันภายใต้สถาปัตยกรรมใหม่ ๆ เช่น คลาวด์ การเติบโตของอุปกรณ์ปลายทางที่ปฏิสัมพันธ์กับเครือข่ายซึ่งรวมถึงอุปกรณ์บีวายโอดี และไอโอทีนั้นทำให้การปกป้องเครือข่ายที่มีข้อมูลเก็บอยู่กลายเป็นเรื่องที่ซับซ้อนมากกว่าเดิมมากความซับซ้อนของการโจมตีนั้นทำให้การรับมือต้องอาศัยเครื่องมืออนาไลติกส์อย่างเข้มข้น ไอดีซีเชื่อว่าหลายองค์กรจะต้องทำการศึกษาการใช้งานอนาไลติกส์ และคอกนิทีฟขั้นสูงเพื่อการวิเคราะห์พฤติกรรมของภัยคุกคาม และต้องนำมาปรับใช้งานในที่สุด เทคโนโลยีคอกนิทีฟนั้นจะช่วยให้เกิดการสร้างฐานข้อมูลที่จะสามารถศึกษาและวิเคราะห์ได้ ส่งผลให้เกิดระบบไซเบอร์ซิเคียวริตี้แบบอัตโนมัติที่สามารถเรียนรู้ และคาดการณ์ภัยคุกคามและตอบสนองด้วยมาตรการที่เหมาะสมในระดับที่มนุษย์ไม่สามารถทำสำเร็จได้
สุดท้ายนี้ ไอดีซีคาดการณ์ว่าโลกจะได้เห็นแพลตฟอร์มที่ 4 ปรากฏขึ้นภายในปี 2563 ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว หนึ่งในสามของบริษัทด้านสุขภาพ/วิทยาศาสตร์ชีภาพและสินค้าอุปโภคบริโภคจะเริ่มพัฒนาสินค้า/บริการกลุ่มแรกที่มีการผสานแพลตฟอร์มที่ 3 กับร่างกายมนุษย์ ซึ่งจะทำให้สามารถสร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการประเภท "มนุษยชาติเสริม" จนกลายเป็นกระแสหลักได้ในช่วงปี 2568 เป็นต้นไป
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit