ดัชนีการเข้าถึงยา เป็นการจัดอันดับบริษัทผู้วิจัยและพัฒนายาชั้นนำ 20 แห่งทั่วโลกในด้านการสนับสนุนการเข้าถึงยาในกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา โดย GSK เป็นบริษัทที่ได้รับการจัดอันดับสูงสุดในด้านการดำเนินงานที่เกี่ยวกับการสนับสนุนการเข้าถึงยาและวัคซีน นับตั้งแต่ที่มีการจัดทำดัชนีนี้ขึ้นในปี 2551
เซอร์ แอนดรูว์ วิตตี้ ซีอีโอของ GSK กล่าวว่า "GSK มีปณิธานที่ยึดมั่นมาตลอด 1 ทศวรรษที่ผ่านมาในการขยายการเข้าถึงยาในทั่วโลก ซึ่งได้รับการยอมรับจากการประเมินของดัชนีการเข้าถึงยา นับเป็นข้อพิสูจน์ที่เห็นอย่างชัดเจนว่า GSK รวมทั้งหุ้นส่วนทางธุรกิจของเรามีความมุ่งมั่นในการค้นคว้าและพัฒนาเพื่อส่งมอบยาและวัคซีนนวัตกรรม ซึ่งความพยายามเหล่านี้ส่งผลให้เด็กในประเทศที่ยากจนได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคมากขึ้น และผู้ป่วยได้รับยารักษาการติดเชื้อเอชไอวีและยารักษาโรคหอบมากขึ้น รวมถึงผู้คนซึ่งอยู่ในพื้นที่ห่างไกลได้รับการดูแลสุขภาพที่จำเป็น"
"การปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจของ GSK ช่วยให้ผู้คนสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์ของเราได้โดยสะดวกและในราคาที่เหมาะสม ขณะเดียวกันยังให้ผลตอบแทนทางธุรกิจที่ดีแก่บริษัทฯ ตลอดจนการลงทุนเพื่อการค้นคว้าวิจัยได้อีกด้วย ในฐานะองค์กรธุรกิจและอุตสาหกรรมยา บริษัทฯ จะมุ่งมั่นต่อไปเพื่อการขยายการเข้าถึงยาที่เพิ่มขึ้น บริษัทฯ จะผลักดันให้องค์กรมีการพัฒนายิ่งขึ้นและดำเนินการให้รวดเร็วขึ้นเพื่อเสริมสร้างการเข้าถึงยา ซึ่งนับเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งที่เราพร้อมรับมือและมุ่งมั่นที่จะดำเนินการ" เซอร์ แอนดรูว์ กล่าว
GSK ได้ดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อขยายการเข้าถึงยา ได้แก่: การปรับเปลี่ยนมาตรการการจดสิทธิบัตรและทรัพย์สินทางปัญญาของผลิตภัณฑ์ของบริษัทในประเทศต่างๆ เพื่อขยายการเข้าถึงยาในกลุ่มประเทศที่ยากจนที่สุดการพัฒนาวัคซีนรักษาโรคมาลาเรีย ซึ่งได้รับความเห็นสนับสนุนจากคณะกรรมการควบคุมของยุโรป สำหรับใช้ในการป้องกันโรคมาเลเรียในเด็กเล็กในกลุ่มประเทศแอฟริกาใต้ ทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาราการดำเนินการเพื่อขยายการเข้าถึงยาโดลูเทกราเวียร์ ซึ่งเป็นยาต้านเชื้อเอชไอวีตัวใหม่ของบริษัทฯ บริษัทวีไอไอวี เฮลท์ แคร์ ที่ดูแลด้านยาต้านเชื้อเอชไอวี ได้ขยายการนำสิทธิบัตรยาต้านเชื้อเอชไอวีสำหรับผู้ใหญ่ตามระบบร่วมใช้สิทธิในสิทธิบัตรยา เพื่อให้ครอบคลุมถึงประเทศที่มีรายได้ปานกลางค่อนข้างต่ำ ซึ่งหมายความว่าจะมีจำนวนคนเพิ่มขึ้นอีก 270,000 คน ที่เข้าข่ายในการนำสิทธิบัตรนี้มาใช้ รวมถึงกว่าร้อยละ 94 ของผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อเอชไอวีในประเทศที่กำลังพัฒนาด้วย การพัฒนาห้องปฏิบัติการแบบเปิดของแอฟริกา (Africa Open Lab) เพื่อสนับสนุนการค้นคว้าเกี่ยวกับโรคกลุ่มไม่ติดต่อ และการร่วมมือกันกับมหาวิทยาลัยต่างๆ ในแอฟริกา เพื่อพัฒนาทักษะและขีดความสามารถต่างๆการนำมาตรการการกำหนดราคายาที่มีความเป็นธรรมและเหมาะสมครอบคลุมจำนวนผลิตภัณฑ์ยามากขึ้น รวมทั้งยาต้านเชื้อเอชไอวี/ เอดส์ ยารักษาโรคเกี่ยวกับระบบหายใจส่วนล่าง โรคหอบ และโรคไอกรนการสนับสนุนให้เด็กจำนวนกว่า 1.3 ล้านคนในประเทศที่ยากจนที่สุดของโลกสามารถเข้าถึงยารักษาโรค ได้แก่ โรคมาลาเรีย โรคปอดบวม และโรคท้องเสีย รวมทั้งการที่เด็กๆ สามารถเข้าถึงวัคซีนรักษาโรคต่างๆ ด้วย โดยความร่วมมือของมูลนิธิ Save the Childrenการพัฒนาค้นคว้ายาปฏิชีวนะใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพ และการลงนามความร่วมมือในการดำเนินงานของอุตสาหกรรมยาเพื่อกำหนดเจตนารมณ์ที่จะช่วยลดภาวะการดื้อยาปฏิชีวนะ และการลงทุนในการวิจัยและพัฒนา และปรับปรุงการเข้าถึงยาปฏิชีวนะ
การดำเนินการของ GSK มุ่งสร้างความเปลี่ยนแปลงและขับเคลื่อนให้เกิดการเข้าถึงยาและการพัฒนานวัตกรรมอย่างยั่งยืน ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือด้านการวิจัยในโรคต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อประเทศกำลังพัฒนา สนับสนุนชุมชนต่างๆ ให้มีระบบการดูแลสุขภาพที่ดีขึ้น และสร้างความร่วมมือกับภาครัฐ องค์กรไม่หวังผลกำไร และบริษัทต่างๆ เพื่อดำเนินการส่งเสริมการเข้าถึงยาอย่างต่อเนื่อง
ดัชนีการเข้าถึงยาประจำปี 2559 ระบุว่า GSK เป็นองค์กรที่ให้ความสำคัญในการเข้าถึงยามากที่สุด ทั้งนี้ GSK สามารถทำคะแนนเพิ่มขึ้นจากการจัดอันดับครั้งก่อนในดัชนีการเข้าถึงยาประจำปี 2557 ตอกย้ำให้เห็นถึงความพยายามและความมุ่งมั่นของ GSK ในการดำเนินมาตรการกำหนดราคายาที่มีความเป็นธรรมและเหมาะสมครอบคลุมจำนวนผลิตภัณฑ์ยาที่มากขึ้น และปณิธานที่ GSK ยึดมั่นมาโดยตลอดที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพทั่วโลก ดัชนีนี้ยังเป็นการยอมรับในความพยายามปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจอย่างจริงจังของ GSK และเป็นตัวอย่างของอุตสาหกรรม ด้วยการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดจำหน่ายและทำการตลาดยาให้มีความทันสมัยยิ่งขึ้น การยกเลิกการจ่ายค่าตอบแทนให้กับบุคลากรทางการแพทย์ในการกล่าวถึงผลิตภัณฑ์ และการยกเลิกการกำหนดเป้าหมายในการขายของผู้แทนจำหน่ายของ GSK
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit