พ.ต.อ. ดร.ณรัชต์ เศวตนันทน์ อธิบดี
กรมคุมประพฤติ เปิดเผยว่า การทำงานบริการสังคมเป็นมาตรฐานการแก้ไขฟื้นฟูที่เปิดโอกาสให้ผู้กระทำผิดหรือผู้ถูกคุมความประพฤติ สามารถทำงานช่วยเหลือสังคม โดยไม่ได้รับค่าตอบแทน มุ่งหวังให้เกิด
การเรียนรู้และสร้างคุณค่า ความภาคภูมิใจให้กับตนเอง รวมถึงการฝึกความมีวินัย ความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม อันนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ถูกคุมความประพฤติให้ไปในทางที่ดีขึ้น พร้อมเดินหน้าขับเคลื่อนโครงการ "ประชารัฐร่วมใจป้องกันภัยอาชญากรรม"
ทั่วประเทศ จำนวน 8,100 คน ด้วยการคืนคนดี สู่สังคม ซึ่งความร่วมมือในครั้งนี้เกิดขึ้นระหว่างกรมคุมประพฤติและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้มีการกำหนดแนวทางการทำงานร่วมกันในระดับพื้นที่ โดยสำนักงานคุมประพฤติทั่วประเทศและกองบัญชาการกองบังคับการหรือสถานีตำรวจในพื้นที่ ซึ่งสำนักงานคุมประพฤติจะพิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ถูกคุมความประพฤติ ที่เหมาะสมในการทำงานบริการสังคมหรือสาธารณะประโยชน์ที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายโดยจะมีพนักงานคุมความประพฤติเป็นผู้กำกับ ดูแล บันทึก และประเมินผลการปฎิบัติงานและการให้คำแนะนำของเจ้าพนักงานตำรวจอย่างใกล้ชิด ซึ่งสอดคล้องตามนโยบายของ พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ให้มีการบูรณาการทำงานของ
อาสาสมัครคุมประพฤติร่วมกับอาสาสมัครอื่นๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ในการขับเคลื่อนภารกิจของกรมคุมประพฤติไปสู่เป้าต่อไป