นายกฤษฎาฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า "จากการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจ ประกอบกับความพยายามในการบริหารจัดการการจัดเก็บรายได้ของกระทรวงการคลัง ส่งผลให้การจัดเก็บรายได้รัฐบาลสุทธิปีงบประมาณ 2559 สูงกว่าประมาณการที่รวมงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ซึ่งเป็นปัจจัยที่ช่วยเสริมสร้างสภาพคล่องและสนับสนุนให้ฐานะการคลังของประเทศมีความเข้มแข็งเอื้อต่อการดำเนินนโยบายเพื่อสนับสนุนการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจในปีงบประมาณถัดไป "
ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลสุทธิเดือนกันยายน 2559
และปีงบประมาณ 2559 (ตุลาคม 2558 – กันยายน 2559)
ในเดือนกันยายน 2559 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 213,047 ล้านบาท ส่งผลให้ปีงบประมาณ 2559
รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 2,393,500 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ (2,330,000 ล้านบาท) จำนวน 63,500 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.7 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 8.1) และสูงกว่าประมาณการรวมงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม (2,386,000 ล้านบาท) จำนวน 7,500 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.31. เดือนกันยายน 2559
รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 213,047 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 955 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.5 (ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 0.7) โดยการจัดเก็บรายได้ของส่วนราชการอื่นสูงกว่าประมาณการ 4,440 ล้านบาท หรือร้อยละ 75.7 เนื่องจากการรับรู้เงินส่วนเกินจากการจำหน่ายพันธบัตรและการนำส่งค่าขายทรัพย์สินและบริการอื่น ๆ ที่สูงกว่าประมาณการ การนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจสูงกว่าประมาณการ 3,533 ล้านบาท หรือร้อยละ 39.9 เนื่องจากการนำส่งรายได้ของ บจม. ปตท. และเหมืองแร่บินตูลู ประเทศมาเลเซียที่สูงกว่าประมาณการไว้ สำหรับการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มต่ำกว่าประมาณการ 6,790 ล้านบาท หรือร้อยละ 10.0 โดยมีสาเหตุสำคัญจากภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 5,731 ล้านบาท หรือร้อยละ 20.1 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันดิบที่ลดลง สำหรับภาษีมูลค่าเพิ่มจากการบริโภคในประเทศต่ำกว่าประมาณการ 1,060 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.72. ในปีงบประมาณ 2559 (ตุลาคม 2558 – กันยายน 2559)
รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 2,393,500 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ63,500 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.7 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 8.1) และสูงกว่าประมาณการรวมงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม (2,386,000ล้านบาท) จำนวน 7,500 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.3 เนื่องจากมีรายได้จากการประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 900 และ 1800 MHz (4G) เป็นสำคัญผลการจัดเก็บรายได้ตามหน่วยงานจัดเก็บสรุปได้ ดังนี้
2.1 กรมสรรพากร จัดเก็บรายได้รวม 1,757,851 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 137,149 ล้านบาท หรือร้อยละ 7.2 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 1.7) โดยภาษีที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่
ภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 63,307 ล้านบาท หรือร้อยละ 8.1 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 1.1) โดยภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 49,660 ล้านบาท หรือร้อยละ 15.5 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 3.1) เนื่องจากมูลค่าการนำเข้าที่หดตัวอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากราคาน้ำมันดิบที่ลดลง ขณะที่ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการบริโภคภายในประเทศจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 13,648 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.0 (แต่สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 3.8)
ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 43,703 ล้านบาท หรือร้อยละ 48.6 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 44.6) เนื่องจากราคาน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ (เหลว) ลดลง ส่งผลให้ผู้ประกอบการมีกำไรเพื่อชำระภาษีลดลง
ภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 31,991 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.0 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 6.8) เป็นผลจากภาษีหัก ณ ที่จ่ายภาคเอกชน (ภ.ง.ด. 53) และภาษีจากประมาณการกำไรสุทธิครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี (ภ.ง.ด. 51) เป็นสำคัญอย่างไรก็ดี ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 5,831 ล้านบาท
หรือร้อยละ 1.9 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 5.5) โดยภาษีหัก ณ ที่จ่ายภาคเอกชนจากเงินเดือน (ภ.ง.ด. 1) และอสังหาริมทรัพย์จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ เนื่องจากการขยายตัวของฐานเงินเดือนที่สูงกว่าประมาณการและผลจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาลในช่วงที่ผ่านมา
2.2 กรมสรรพสามิต จัดเก็บรายได้รวม 517,686 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 21,386 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.3 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 17.9) โดยภาษีน้ำมันจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 11,667 ล้านบาท หรือร้อยละ 7.0 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 39.1) เป็นผลจากการปรับขึ้นอัตราภาษีน้ำมันดีเซลและเบนซินจากลิตรละ 5.35 และ 6.0 บาท เป็นลิตรละ 5.65 และ 6.30 บาท ตามลำดับ ตั้งแต่วันที่ 8 กรกฎาคม 2559 ภาษีสรรพสามิตรถยนต์จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 7,264 ล้านบาท หรือร้อยละ 7.8 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 24.9) เนื่องจากการปรับโครงสร้างอัตราภาษีสรรพสามิตรถยนต์ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559 เป็นต้นไป ได้ส่งผลให้รถยนต์บางประเภทมีภาษีสรรพสามิตรถยนต์เฉลี่ยต่อคันเพิ่มขึ้น ส่วนภาษีเบียร์จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 4,943 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.1 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 7.5)
2.3 กรมศุลกากร จัดเก็บรายได้รวม 111,541 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 8,959 ล้านบาท หรือร้อยละ 7.4 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 3.4) เนื่องจากได้รับผลกระทบของการปรับโครงสร้างอัตราภาษีศุลกากรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตระยะที่ 2 และมูลค่าการนำเข้าที่ยังคงหดตัว โดยมูลค่าการนำเข้าในรูปดอลลาร์สหรัฐและเงินบาทในช่วง 11 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2559 หดตัวร้อยละ 9.9 และร้อยละ 2.7 ตามลำดับ ทั้งนี้ สินค้าที่จัดเก็บอากรขาเข้าได้สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ยานบกและส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบ เครื่องจักรและเครื่องใช้กล ของทำด้วยเหล็กหรือเหล็กกล้า และพลาสติก
2.4 รัฐวิสาหกิจ นำส่งรายได้รวม 133,727 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 13,727 ล้านบาท หรือร้อยละ 11.4 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 17.1) ทั้งนี้ รัฐวิสาหกิจที่นำส่งรายได้สูงกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่ สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารออมสิน รายได้จากกองทุนรวมวายุภักษ์ และการประปานครหลวง
2.5 หน่วยงานอื่น จัดเก็บรายได้รวม 291,855 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 144,255 ล้านบาท หรือร้อยละ 97.7(สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 66.9) เนื่องจากการนำส่งรายได้จากการประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 900 และ 1800 MHz(4G) จำนวน 56,273 ล้านบาท การรับรู้เงินส่วนเกินจากการจำหน่ายพันธบัตรเป็นรายได้จำนวน 45,773 ล้านบาท การชำระภาษีการพนันในส่วนของสลากพิเศษแบบเลขท้าย 3 ตัว และ 2 ตัว ของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลจำนวน 11,982 ล้านบาท และการนำส่งเงินสภาพคล่องส่วนเกินของกองทุนหมุนเวียน 10,634 ล้านบาท ตามลำดับ
สำหรับกรมธนารักษ์จัดเก็บรายได้รวม 6,761 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 1,161 ล้านบาท หรือร้อยละ 20.7 (สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 20.8) เนื่องจากมีรายได้จากการขายที่ราชพัสดุให้การท่าเรือแห่งประเทศไทย จำนวน 665 ล้านบาท และรายได้จากค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์สูงกว่าประมาณการ 186 ล้านบาท เป็นสำคัญ
2.6 การคืนภาษีของกรมสรรพากร จำนวน 273,571 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 21,529 ล้านบาท หรือร้อยละ7.3 ประกอบด้วยการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม 204,644 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 37,056 ล้านบาท หรือร้อยละ 15.3 และการคืนภาษีอื่น ๆ (ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์) จำนวน 68,927 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 15,527 ล้านบาท หรือร้อยละ 29.1
2.7 อากรถอนคืนกรมศุลกากร จำนวน 10,669 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 1,369 ล้านบาท หรือร้อยละ 14.7
2.8 การจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับองค์การบริหารส่วนจังหวัด จำนวน 14,478 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 2,722 ล้านบาท หรือร้อยละ 15.8
2.9 เงินกันชดเชยภาษีสำหรับสินค้าส่งออก จำนวน 17,542 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 1,258 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.72.10 การจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตาม พ.ร.บ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจฯ จำนวน 12 งวด เป็นเงิน 102,900 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 6,100 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.6