ตามที่กรมศุลกากรได้มุ่งเน้นนโยบายสำคัญในการเร่งรัดปราบปรามสินค้า ลักลอบ หลีกเลี่ยงอากร ข้อห้ามข้อกำกัด เพื่อความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษีปกป้องสังคมและสิ่งแวดล้อม นายกุลิศ สมบัติศิริ อธิบดี กรมศุลกากร จึงสั่งการให้นายวิจักษณ์ อภิรักษ์นันท์ชัย รองอธิบดีรักษาการที่ปรึกษาด้านการพัฒนาและบริหาร การจัดเก็บภาษี วางแผนร่วมกับ นายวิรัช ฐานะเศรษฐ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคการตรวจสอบสินค้า รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าลาดกระบัง มอบหมายให้หน่วยปฏิบัติการในสังกัดวางแผนตรวจค้นจับกุมอย่างเข้มงวดเป็นพิเศษ เพื่อสกัดกั้นป้องกันและปราบปรามสินค้าลักลอบและหลีกเลี่ยงหนีศุลกากร สินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา สินค้าที่เป็นภัยต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ได้มีการจับกุมสินค้า ดังนี้
1. รถยนต์ส่วนบุคคลเก่าใช้แล้ว ยี่ห้อ Nissan รุ่น CUBE จำนวน 4 คัน มูลค่า 3,000,000 บาท จับกุมได้ที่ฝ่ายบริการศุลกากรที่ 3 ลาดกระบัง นำเข้ามาโดยไม่มีใบอนุญาตเป็นการหลีกเลี่ยงข้อห้ามข้อกำกัด อันเป็นความผิดตามมาตรา 99 และ 27 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 ประกอบมาตรา 16 และ 17 พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 และ พ.ร.บ.การส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ.2522
2. รถยนต์เก่ายี่ห้อ Citroen รุ่น 2CV จำนวน 1 คัน มูลค่า 1,000,000 บาท และ ไวน์ต่างประเทศ จำนวน 5,183 ขวด มูลค่า 9,000,000 บาท จับกุมได้ที่ฝ่ายบริการศุลกากรที่ 7 ลาดกระบัง โดยสำแดงชนิดสินค้า ปริมาณ ประเภทพิกัด และอัตราอากรเป็นเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงอากร ข้อห้าม ข้อกำกัด อันเป็นความผิดตามมาตรา 99 และ 27 แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 ประกอบมาตรา 16 และ 17 พ.ร.บ. ศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 และ พ.ร.บ.การส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522
3. รถยนต์เก่าใช้แล้ว ยี่ห้อ Nissan รุ่น SKYLINE จำนวน 3 คัน ตัวถังรถยนต์เก่าใช้แล้ว ยี่ห้อ Toyota จำนวน 4 โครงและรถจักรยานยนต์เก่าใช้แล้ว ขนาด 50 cc จำนวน 8 คัน รวมมูลค่า 2,000,000 บาท จับกุมได้ที่ฝ่ายบริการศุลกากรที่ 3 ลาดกระบัง ความผิดกรณีนำของต้องห้ามเข้ามาในราชอาณาจักร ตาม พ.ร.บ.การส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522 ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้ตัวถังของรถยนต์นั่งที่ใช้แล้ว และโครงรถจักรยานยนต์ที่ใช้แล้วเป็นสินค้าที่ต้องห้ามในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555
4. เมล็ดพริกแห้งบด จำนวน 47 ตัน มูลค่า 4, 000,000 บาท จับกุมได้ที่ฝ่ายบริการศุลกากรที่ 3 ลาดกระบัง สำแดงเป็นผ้าม่าน โดยมีเจตนาแก้ไขรายละเอียด ชนิดสินค้า และเจตนาสำแดงเอกสารเท็จ เพื่อหลีกเลี่ยงอากร ข้อห้ามข้อกำกัด เป็นเหตุให้อากรขาด อันเป็นความผิดตามมาตรา 99 และ 27 แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 ประกอบมาตรา 16 และ 17 แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 พ.ร.บ. อาหาร พ.ศ. 2522 และ พ.ร.บ. กักพืช พ.ศ. 2551
5. ชุดแผงโซล่าเซลล์ จำนวน 1,680 ชุด มูลค่า 10,0000,0000 บาท จับกุมได้ที่ฝ่ายบริการศุลกากรที่ 4 ลาดกระบัง โดยสำแดงเมืองกำเนิดสินค้าเป็นเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงข้อห้ามข้อกำกัด อันเป็นความผิดตามมาตรา 99 และ 27 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 ประกอบมาตรา 16 และ 17 พ.ร.บ. ศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 และ พ.ร.บ. ห้ามนำของที่มีการแสดงกำเนิดเป็นเท็จเข้ามา พ.ศ. 2481
6. ของเล่นเด็กละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา จำนวน 3,840 กล่อง มูลค่า 1,500,000 บาท จับกุมได้ที่ฝ่ายบริการศุลกากรที่ 2 ลาดกระบัง ความผิดกรณีนำของต้องห้ามเข้ามาในราชอาณาจักร อันเป็นความผิดตามมาตรา 99 และ 27 แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 ประกอบมาตรา 16 และ 17 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 และ พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534
รวมมูลค่าของกลางทั้งสิ้น 30,500,000 บาท
อนึ่ง ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2559 ถึงเดือนมกราคม 2560 สำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าลาดกระบัง มีสถิติในการจับกุมการกระทำความผิดตามกฎหมายศุลกากรและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องรวมทั้งสิ้น 688 ราย และยังคงมุ่งมั่นปฏิบัติการตรวจค้นจับกุมสินค้าอย่างต่อเนื่องและเข้มข้นตามนโยบายของ กรมศุลกากร และยังเป็นการให้ความคุ้มครองกับกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจที่สุจริตและประกอบอาชีพอย่างถูกต้องตามกฎหมายอีกด้วย
HTML::image( HTML::image( HTML::image(