1. ฐานะการคลังเดือนพฤศจิกายน 2559
1.1 รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลัง จำนวน 203,805 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 25,409 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 14.2) ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจสูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว
1.2 รัฐบาลมีการเบิกจายเงินงบประมาณทั้งสิ้น จำนวน 175,712 ล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว จำนวน 57,216 ลานบาท (คิดเป็นร้อยละ 24.6) โดยเป็นรายจ่ายปีปัจจุบัน จำนวน 148,435 ล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว ร้อยละ 29.0 ประกอบด้วยรายจ่ายประจำ จำนวน 126,649 ล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 35.9 และรายจ่ายลงทุน 21,786 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 89.8 และการเบิกจ่ายเงินจากงบประมาณปีก่อนจำนวน 27,277 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 13.8 (ตารางที่ 1)
การเบิกจ่ายเงินงบประมาณที่สำคัญในเดือนนี้ ได้แก่ เงินอุดหนุนของกระทรวงศึกษาธิการ 10,935 ล้านบาท รายจ่ายอื่นของกระทรวงกลาโหม 7,869 ล้านบาท และเงินอุดหนุนของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 4,201 ล้านบาท
ตารางที่ 1 การเบิกจายเงินงบประมาณเดือนพฤศจิกายน 2559
หนวย: ลานบาท
เดือนพฤศจิกายน
เปรียบเทียบ
2559
2558
จำนวน
ร้อยละ
1. รายจายปปจจุบัน
148,435
208,966
(60,531)
(29.0)
1.1 รายจายประจำ
126,649
197,487
(70,838)
(35.9)
1.2 รายจายลงทุน
21,786
11,479
10,307
89.8
2. รายจายจากงบประมาณปกอน
27,277
23,962
3,315
13.8
3. รายจายรวม (1+2)
175,712
232,928
(57,216)
(24.6)
ที่มา: กรมบัญชีกลาง
1.3. ดุลการคลังรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด จากรายได้นำส่งคลังและการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของรัฐบาลข้างต้น ส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณในเดือนพฤศจิกายน 2559 เกินดุล จำนวน 28,093 ลานบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุล 74,881 ลานบาท ซึ่งมีสาเหตุหลักจากรายจ่ายเหลื่อมมาจากเดือนตุลาคม จำนวน 45,419 ล้านบาท การไถ่ถอนตั๋วเงินคลังสุทธิ จำนวน 9,600 ล้านบาท
และการถอนคืนภาษีมูลค่าเพิ่มงวด 11 ให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนฯ จำนวน 7,888 ล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาลไดกูเงินเพื่อชดเชยการขาดดุล จำนวน 4,260 ลานบาท ส่งผลให้ดุลเงินสด (หลังกูชดเชยการขาดดุล) ขาดดุลเทากับ จำนวน 42,528 ล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2559 มีจำนวนทั้งสิ้น จำนวน 193,277 ล้านบาท (ตารางที่ 2)
ตารางที่ 2 ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดเดือนพฤศจิกายน 2559
หน่วย: ล้านบาท
เดือนพฤศจิกายน
เปรียบเทียบ
2559
2558
จำนวน
ร้อยละ
1. รายได้
203,805
178,396
25,409
14.2
2. รายจ่าย
175,712
232,928
(57,216)
(24.6)
3. ดุลเงินงบประมาณ
28,093
(54,532)
82,625
151.5
4. ดุลเงินนอกงบประมาณ
(74,881)
(3,996)
(70,885)
(1,773.9)
5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4)
(46,788)
(58,528)
11,740
20.1
6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล
4,260
109,076
(104,816)
(96.1)
7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6)
(42,528)
50,548
(93,076)
(184.1)
8. เงินคงคลังปลายงวด
193,277
346,428
(153,151)
(44.2)
ที่มา: กรมบัญชีกลาง และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
2. ฐานะการคลังในช่วง 2 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2560 (ตุลาคม – พฤศจิกายน 2559)
2.1 รายได้นำสงคลัง รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังทั้งสิ้น 358,217 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 23,482 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 7.0) ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและการจัดเก็บภาษีน้ำมันที่สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว
2.2 รายจ่ายรัฐบาล การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของรัฐบาลมีจำนวนทั้งสิ้น 611,067 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 3,938 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 0.6) ประกอบด้วยรายจ่ายปีปัจจุบัน 570,818 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 20.9 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายปีปัจจุบันหลังโอนเปลี่ยนแปลง สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ร้อยละ 0.4 และรายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 40,249 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 4.4 (ตารางที่ 3)
รายจ่ายปีปัจจุบันจำนวน 570,818 ล้านบาท ประกอบด้วยรายจ่ายประจำ 521,500 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 23.9 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำหลังโอนเปลี่ยนแปลง 2,183,653 ล้านบาท) ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 2.3 และรายจ่ายลงทุน 49,318 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 9.0 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนหลังโอนเปลี่ยนแปลง 549,347 ล้านบาท) สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 40.9
ตารางที่ 3 การเบิกจายเงินงบประมาณในช่วง 2 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2560 (ตุลาคม – พฤศจิกายน 2559)
หน่วย: ล้านบาท
2 เดือนแรก
เปรียบเทียบ
ปีงบประมาณ 2560
ปีงบประมาณ 2559
จำนวน
ร้อยละ
1. รายจ่ายปปจจุบัน
570,818
568,574
2,244
0.4
1.1 รายจ่ายประจำ
521,500
533,564
(12,064)
(2.3)
1.2 รายจ่ายลงทุน
49,318
35,010
14,308
40.9
2. รายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน
40,249
38,555
1,694
4.4
3. รายจ่ายรวม (1+2)
611,067
607,129
3,938
0.6
ที่มา: กรมบัญชีกลาง
2.3 ดุลการคลังรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดขาดดุล 304,997 ล้านบาท โดยเป็นการขาดดุลเงินงบประมาณ 252,850 ล้านบาท และขาดดุลเงินนอกงบประมาณ จำนวน 52,147 ล้านบาท ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากรายจ่ายเหลื่อมจ่ายปีก่อน จำนวน 26,607 ล้านบาท และการถอนคืนภาษีมูลค่าเพิ่มงวดที่ 10 - 11 ให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนฯ จำนวน 16,882 ล้านบาททั้งนี้ รัฐบาลไดบริหารเงินสดใหสอดคล้องกับความต้องการใชเงินโดยการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลจำนวน 56,974 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสด (หลังการกูเพื่อชดเชยการขาดดุล) ขาดดุลเทากับ 248,023 ล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2559 มีจำนวนทั้งสิ้น 193,277 ล้านบาท (ตารางที่ 4)
ตารางที่ 4 ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในช่วง 2 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2560 (ตุลาคม – พฤศจิกายน 2559)
หน่วย: ล้านบาท
2 เดือนแรก
เปรียบเทียบ
ปีงบประมาณ 2560
ปีงบประมาณ 2559
จำนวน
ร้อยละ
1. รายได้
358,217
334,735
23,482
7.0
2. รายจ่าย
611,067
607,129
3,938
0.6
3. ดุลเงินงบประมาณ
(252,850)
(272,394)
19,544
7.2
4. ดุลเงินนอกงบประมาณ
(52,147)
(15,530)
(36,617)
(235.8)
5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4)
(304,997)
(287,924)
(17,073)
(5.9)
6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล
56,974
208,170
(151,196)
(72.6)
7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6)
(248,023)
(79,754)
(168,269)
(211.0)
8. เงินคงคลังปลายงวด
193,277
346,428
(153,151)
(44.2)
ที่มา: กรมบัญชีกลาง และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
สำนักนโยบายการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
โทร 0 2273 9020 ตอ 3563
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit