ทั้งหมด 600 แปลง มีพื้นที่รวมในการบริหารจัดการร่วมกันกว่า 1.5 ล้านไร่ มีเกษตรกรที่เข้าร่วม 96,544 ราย แบ่งเป็น 9 กลุ่มสินค้า ได้แก่ สินค้าข้าว 381 แปลง พืชไร่ 81 แปลง ไม้ยืนต้น 20 แปลง ผักสมุนไพร 19 แปลง ไม้ผล 52 แปลง หม่อนไหม 3 แปลง กล้วยไม้ 1 แปลง ปศุสัตว์ 25 แปลง และประมง 18 แปลง ซึ่งมีจำนวน 33 ชนิดสินค้า เป็นต้น
ดร.พจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า สภาหอการค้า-แห่งประเทศไทย สภาเกษตรกรแห่งชาติ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ลงนามความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนและส่งเสริมโครงการสานพลังประชารัฐภาคการเกษตรอย่างเป็นรูปธรรม โดยการลงนามความร่วมมือในวันนี้
มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมกลไกประชารัฐ พัฒนาความเข้มแข็งสหกรณ์และองค์กรเกษตรกรของประเทศไทย
ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตั้งแต่กระบวนการผลิต การแปรรูปสินค้าเกษตร และการตลาด ทั้งในและต่างประเทศ ตลอดห่วงโซ่อุปทาน หรือ Value Chain พร้อมทั้ง การสร้างความเข้มแข็ง และพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรไทย พัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันให้ภาคเกษตร ให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม โดย 3 องค์กร มีเจตนารมณ์ความร่วมมือ ดังนี้
1) สร้างความร่วมมือในการส่งเสริมพัฒนาความเข้มแข็งสหกรณ์และองค์กรเกษตรกรตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
2) สร้างความร่วมมือในการส่งเสริมความเข้มแข็งและพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรไทยทั้งห่วงโซ่อุปทาน หรือ Value Chain
3) สร้างกลไกความร่วมมือในการส่งเสริมและยกระดับการวิจัยและพัฒนาภาคการเกษตรของประเทศไทยเพื่อเพิ่มมูลค่าการเกษตรให้มั่นคงและยั่งยืน
4) พัฒนาศักยภาพและผลิตภาพของการทำเกษตรกรรมในด้านพืชเศรษฐกิจหลัก ด้านปศุสัตว์ ด้านการประมง และการแปรรูปสินค้าเกษตร
5) ส่งเสริมองค์ความรู้และแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีด้านการเกษตรระหว่างหน่วยงานเพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันให้ภาคเกษตร
6) ตลอดจน การดำเนินกิจกรรมอื่นๆ ตามที่หน่วยงานจะมีบทบาทให้การสนับสนุนซึ่งกันและกัน ให้มีผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม
นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวว่า ในนามของสภาเกษตรกรแห่งชาติ มีความยินดีอย่างยิ่งในการร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ภายใต้โครงการสานพลังประชารัฐ จากการที่สภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้ร่วมจัดทำโครงการเพื่อพัฒนาความรู้ให้เกษตรกรผู้ประกอบอาชีพเลี้ยงกุ้ง นำไปเพิ่มศักยภพาในการผลิต เป็นที่ยอมรับจากผู้รับซื้อสินค้ากุ้งที่ได้รับมาตรฐานคุณภาพ มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม อีกทั้ง สภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้ตั้งศูนย์ต้นแบบการทำเลี้ยงฟาร์มกุ้งสาธิตของเกษตรกรโดยใช้นวัตกรรมการเลี้ยงแบบอิงธรรมชาติระบบน้ำหมุนเวียน ซึ่งจะเป็นต้นแบบการผลิตกุ้งที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล
ดังนั้น การร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงโครงการสานพลังประชารัฐ ระหว่างสภาเกษตรกรแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย จะนำไปสู่ความร่วมมือกันในการพัฒนาความเข้มแข็งของกระบวนการห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่กระบวนการผลิต กระบวนการแปรรูป การส่งเสริมการตลาดทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และเป็นการฟื้นฟูอุตสาหกรรมสินค้าเกษตรกรรมไทยให้กลับมาขับเคลื่อนสร้างรายได้สู่เกษตรกรชาวไทยและประเทศชาติต่อไป
นายธนิตย์ เอนกวิทย์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สนับสนุนการขับเคลื่อนโครงการสานพลังประชารัฐ ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นกลไกหนึ่ง ภายใต้การขับเคลื่อนของคณะทำงานด้านการพัฒนาการเกษตรสมัยใหม่ และมีความมุ่งมั่นผ่านแผนงานสานพลังประชารัฐด้านการพัฒนาการเกษตรสมัยใหม่ ใน 2 ระยะ คือ 1) แผนระยะสั้น ประกอบด้วย แผนการรวมกลุ่มการผลิตเพื่อพัฒนาให้เป็นเกษตรสมัยใหม่ แผนการพัฒนาสหกรณ์การเกษตรภาคประชารัฐ และแผนการพัฒนาสินค้าเกษตรสร้างรายได้เร็ว (Cash Crop) 2) แผนระยะกลาง และระยะยาว ประกอบด้วย การตั้งศูนย์วิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ และนวัตกรรมการเกษตร และการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาพัฒนา Application เพื่อการเกษตร และการจัดทำทะเบียนเกษตรกร
อย่างไรก็ตาม บทบาทของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการพัฒนาการเกษตรของประเทศโดยรวม ซึ่งได้มีการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตร ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) เพื่อใช้เป็นแผนหลักในการกำหนดทิศทางการดำเนินงานและเป้าหมายของภาคการเกษตร ซึ่งสอดรับกับการดำเนินการสานพลังประชารัฐในการพัฒนาการเกษตรสมัยใหม่ ภายใต้แผนพัฒนาการเกษตร ประกอบไปด้วย 4 ยุทธศาสตร์ คือ
ยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร
ยุทธศาสตร์ที่ 2 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสินค้าเกษตรตลอดโซ่อุปทาน
ยุทธศาสตร์ที่ 3 เพิ่มความสามารถในการแข่งขันภาคการเกษตรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม
ยุทธศาสตร์ที่ 4 บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน
นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ยังได้ดำเนินการตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี ในการจัดทำแผนงานบูรณาการระยะยาว 5 ปี และ 20 ปี เพื่อนำภาคการเกษตรก้าวข้ามไปสู่ Thailand Agriculture 4.0 เป็นต้น
ดร.พจน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้ขับเคลื่อนแนวทางโครงการสานพลังประชารัฐ โดยได้จัดทำโครงการคลัสเตอร์กุ้งเลี้ยงแวนนาไมสู่ตลาดโลกอย่างยั่งยืน เป็นมิตร ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ระหว่าง บริษัท อันดามัน ซีฟู้ด จำกัด และ สหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งลุ่มน้ำสามร้อยยอด-ปราณบุรี จำกัด ตามแนวทางความร่วมมือเกษตรสมัยใหม่ โดยมี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้การสนับสนุนกลไกและบริหารจัดการพัฒนาแปลงให้ได้มาตรฐานอย่างมีคุณภาพ ซึ่งทั้ง 3 องค์กร มีความตั้งใจจะนำองค์ความรู้รูปแบบการเลี้ยงกุ้งภายใต้ความร่วมมือนี้ขยายผลไปยังสหกรณ์พื้นที่ในจังหวัดต่างๆ เพื่อจะเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้ภาคการเกษตร เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้ จนนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของประเทศตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างยั่งยืนต่อไป