ภายหลังประเมินเหตุการณ์วิกฤตการเงิน โลก 3 เหตุการณ์ เช่น ปี 2008 วิกฤตการเงินของสหรัฐ ต่อมาในปี 2011 วิกฤตหนี้กรีซ ส่งผลกระทบต่อการลงทุนทั้งระบบ แต่สำหรับเหตุการณ์ Brexit ที่เกิดขึ้นกลับส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นในเอเชียน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว
ทั้งนี้หากประเมินผลกระทบต่อประเทศไทย ซึ่งพิจารณาจากทั้ง 3 เหตุการณ์ อาทิ วิกฤตการเงินของสหรัฐ ในปี 2008 พบว่า ต้นทุนความเสี่ยงของไทย (CRP) ปรับเพิ่มไปที่ 13.5% ส่วนในปี 2011วิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรป ส่งผลให้ CRP ของไทย ปรับเพิ่ม ไปที่ 16.3% แต่ในเดือนมิ.ย. ปี 2016 เหตุการณ์ Brexit ส่งผลให้ CRP ของไทยปรับลงมาที่ 7% หรือลดลง 1.8% ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์ บล. เออีซี กล่าวเพิ่มว่า นอกจากนี้ยังคงมีปัจจัยที่น่าสนใจ และมีผลต่อการลงทุนในช่วงไตรมาส 3/2559 เช่น โครงการที่กำลังจะเริ่ม ดำเนินการผลิตมีโครงการ UHV ของ IRPC, โครงการพลังงานลมของ EA, GUNKUL และในไตรมาสนี้ยังมีการเปิดประมูล โดยโครงการที่มีความแน่นอนแล้ว คือ โครงการประมูลโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวลในเดือนส.ค., การประมูลรถไฟฟ้าและรถไฟรางคู่, การประมูลโครงการปรับสายไฟฟ้าลงดิน และโครงการวางเครือข่าย Fiber
รวมถึงการเร่งเปิดโครงการใหม่ของกลุ่มที่อยู่อาศัย โดยสัดส่วนการเปิดโครงการเฉลี่ยของกลุ่มที่อยู่อาศัยคิดเป็น 70% ของแผนการเปิดโครงการในปี 59 และการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้กับประชาชนทั่วไป (IPO) ในธุรกิจโรงไฟฟ้า และการได้กำลังการผลิตในโครงการพลังงานทดแทนเพิ่ม
ดังนั้นแนะนำกลยุทธ์การลงทุน การเลือกอุตสาหกรรมเจาะไปใน Sub Sector ที่มีความโดดเด่นโดยอุตสาหกรรมที่มีความแข็งแกร่ง เราเลือกกลุ่มสายการบิน, พลังงานทดแทน, กลุ่มสินเชื่อเช่าซื้อ, กลุ่มอสังหาฯ (ที่อยู่อาศัยและเพิ่มกลุ่มรับเหมาฯ) และเครื่องดื่ม ส่วนการลงทุนระยะยาวที่มองว่ามีส่วนต่างจากราคาเป้าหมายสูงได้แก่ BA, EA
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit