ในงานสัมนาดังกล่าวยังมีการนำเสนอบทบาทของการทดสอบบ่งชี้วัดทางชีวภาพด้านมะเร็งที่ใช้ตัวอย่างตรวจจากเลือด การทดสอบทางโมเลกุลโดยใช้ตัวอย่างตรวจที่เป็นพลาสมาและการตรวจพิสูจน์เนื้อเยื่อเพื่อรักษาผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสมที่สุด รวมถึงการอภิปรายเกี่ยวกับประโยชน์และคุณค่าของระบบการวินิจฉัยและการทดสอบสำหรับบุคลากรทางการแพทย์อีกด้วย
งานสัมมนาครั้งนี้ มีแนวคิดหลักเกี่ยวกับ "การรักษาผู้ป่วยมะเร็งปอดด้วยนวัตกรรมการตรวจทางห้องปฏิบัติการตลอดช่วงที่ทำการรักษาต่อเนื่อง" เพื่อช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยผลการรักษาได้รวดเร็วขึ้น พยากรณ์โรคและสังเกตการณ์ได้แม่นยำขึ้น สามารถรักษาโรคได้อย่างเหมาะสมที่สุด และที่สำคัญยังช่วยให้แพทย์ตัดสินใจเลือกวิธีรักษาที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยอีกด้วย
ที่ผ่านมา การทดสอบตัวชี้วัดทางชีวภาพสำหรับมะเร็งปอดนั้นมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว การสัมมนาครั้งนี้มุ่งเน้นที่การรักษาโรคมะเร็งปอดชนิดที่ไม่ใช่เซลล์เล็ก (Non-small cell lung cancer, NSCLC) และพยาธิวิทยาโมเลกุลของโรคดังกล่าว รวมถึงการประเมินข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน ผังการทำงานของการทดสอบ และความสำคัญของการทดสอบ EGFR และ ALK นอกจากนี้ ยังมีการนำเสนอมุมมองต่ออนาคตของวงการนี้ ซึ่งมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit