อดีตเลขาธิการสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ อดีตสมาชิกวุฒิสภาศิษย์เก่า ปป.รุ่น 1 โรงเรียนฝึกหัดครูนครราชสีมา และอดีตอาจารย์วิทยาลัยครูนครราชสีมา เป็นประธานในพิธีบวงสรวงยกเสาเอก และให้รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องแนวทางการดำเนินงาน โดยมี คณะผู้บริหารคณาจารย์ บุคลากร และแขกผู้มีเกียรติ เข้าร่วมพิธี
การดำเนินงานเรือนโคราช ได้รับการสนับสนุนเงินประมาณ จำนวน 1.2 ล้านบาท จากการบริจาคของชมรมศิษย์เก่าโรงเรียนฝึกหัดครูนครราชสีมา และวิทยาลัยครูนครราชสีมา โดยการนำของ ดร.นิเชต สุนทรพิทักษ์ ประธานชมรม และผู้ช่วยศาสตราจารย์นฤมล ปิยวิทย์ อดีตผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ผู้ประสานงานหลัก ซึ่งการดำเนินงานก่อสร้างเรือนโคราช ได้แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย
ระยะที่ 1 การปลูกเรือนโคราช ตัวเรือนมีรูปแบบเป็นบ้านทรงไทยอีสาน อายุมากกว่า 100 ปี ประกอบด้วย ตัวเรือน 2 ชั้น ใต้ถุนสูงใช้สลักไม้โดยไม่ใช่ตะปู ระยะจากชานระเบียงหน้าบ้านไปถึงครัวยาวประมาณ 20 เมตร ลักษณะเป็นบ้านหลังคาทรงไทยจั่วสูงสองหลัง ชายคนชนกันเหมือนบ้านฝาแฝด มีรางน้ำเชื่อมกลางยาวตลอดชายคา ฝาบ้านแบ่งภายในบ้านเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนพื้นที่บ้านติดกับฝาด้านหน้าทั้งสองข้างสูงกว่าพื้นของบ้านที่อยู่ตรงกลางบ้าน ประมาณ 60 เซนติเมตร ด้านหลังเป็นครัว พื้นครัวสูงกว่าชานกลาง ส่วนที่เป็นห้องพัก ห้องนอน ห้องครัว จะมีตั่งรองหน้าประตูเพื่อให้ก้าวขึ้นห้องได้สะดวก ฝาบ้านโดยรอบเป็นไม้กระดานฝาเข้าลิ้น ติดเป็นแผ่นเรียบตลอดแผง ด้านล่างของฝาแต่ละแผงจะเป็นลูกฟักยาวตลอด แล้วตีกรอบเป็นแผงสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ เวลาประกอบเป็นฝาบ้านจะต้องยกขึ้นทั้งแผง ฝาด้านบนเป็นช่องลมระบายอากาศชนไปถึงหลังคา ส่วนบันไดพาดอยู่ชานระเบียงด้านหน้าเป็นแบบชักขึ้น-ลงได้ นับเป็นการค้นพบเรือนโคราชที่มีคุณสมบัติเข้าข่ายในเรื่องของภูมิสถาปัตย์ รวมไปถึงสะท้อนถึงวิถีชีวิตของคนโคราชอย่างแท้จริง โดยเรือนหลังนี้ตั้งอยู่ ณ อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งทางสำนักศิลปะฯ ได้มีการประสานงานติดต่อผู้เป็นเจ้าของเรือน และมอบเรือนให้กับมหาวิทยาลัยเป็นที่เรียบร้อยในการนี้ คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายน 2559 รวมระยะเวลาในการก่อสร้างทั้งสิ้น 3 เดือน โดยการดำเนินงานระยะที่ 2 เป็นการตกแต่งปรับปรุงภูมิสถาปัตย์ และสวนบริเวณโดยรอบให้มีความสวยงาม สะท้อนถึงความเป็นอยู่ ต้นไม้ และอาหารการกินของคนโคราช ส่วนในระยะที่ 3 เป็นการจัดนิทรรศการกึ่งถาวร ภายในตัวเรือนโคราช เมื่อโครงการทั้ง 3 ระยะเสร็จสิ้น สำนักศิลปะและวัฒนธรรม จึงจะสามารถเปิดให้ประชาชนเข้าชมและเรียนรู้พิพิธภัณฑ์มีชีวิตของเมืองโคราชได้ในลำดับต่อไป