เปิดรับสมัครนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ประจำภาคการศึกษาที่ 1 /2559 ในสาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ/สหสาขาวิชา)

13 Jun 2016
1) หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตและหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ/สหสาขาวิชา)
เปิดรับสมัครนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ประจำภาคการศึกษาที่ 1 /2559 ในสาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ/สหสาขาวิชา)

หลักสูตรดังกล่าวเป็นหลักสูตรนานาชาติแบบสาขาวิชาร่วม โดยความร่วมมือของคณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะเทคนิคการแพทย์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร คณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์และบัณฑิตวิทยาลัย ซึ่งมีการบริหารจัดการหลักสูตรฯ โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์

2) จุดมุ่งหมาย

หลักสูตรนี้เน้นที่จะพัฒนาบัณฑิตให้มีความสามารถในการทำวิจัยทางด้าน Medical Imaging / Medical Image Processing / Medical Signal Processing / Bioinformatics / Biomechanics / Cell and Tissue Engineering / Cardiac Electrophysiology / Biomaterials / or Related Fields ทั้งนี้รวมถึงการเตรียมความพร้อมให้นักศึกษามีทักษะทางด้านภาษา และมีความสามารถในการสื่อสารที่ดี รวมทั้งมีความเข้าใจในเรื่องของวัฒนธรรมต่างสังคม และมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งในหลักสูตรนี้จะช่วยให้มีการพัฒนาอุปกรณ์ทางการแพทย์ขึ้นใช้ได้เองในประเทศ ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการนำเข้า และช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาอุปกรณ์เหล่านี้ อีกทั้งยังได้อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เหมาะสมกับสรีระของคนไทย และสิ่งแวดล้อมภายในประเทศอีกด้วย

3) รูปแบบการเรียนการสอน

การเรียนการสอนในหลักสูตรฯ จะเป็นการเรียนการสอนที่เกี่ยวกับการพัฒนาเครื่องมือทางการแพทย์ โดยการนำเอาความรู้ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ไปใช้แก้ปัญหาทางด้านการแพทย์ว่าทำอย่างไรจึงจะทำให้คนทั่วไปมีสุขภาพดีขึ้นหรือสามารถที่จะตรวจเจอโรคภัยต่างๆได้รวดเร็วขึ้นและจะรักษาอย่างไรให้ได้ผลเร็วที่สุด โดยนำเอาความรู้ทั้งหลายทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ สำหรับการเรียนการสอนในหลักสูตรนี้ จะเป็นการเรียนในภาคปกติ ตั้งแต่วันจันทร์-วันศุกร์

4) อาจารย์ผู้สอน

คณาจารย์ทุกท่านจบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยชั้นนำที่มีชื่อเสียง มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านวิชาการเฉพาะทาง มีประสบการณ์การสอนและทำวิจัยเป็นอย่างมาก มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในวงวิชาการ มีความพร้อมที่จะให้ความรู้และให้คำปรึกษาด้านการเรียน การวิจัยแก่นักศึกษา รวมไปถึงมีความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ

5) ระยะเวลาการศึกษา

ป.โท หลักสูตร 2 ปี โดยค่าเทอมเหมาจ่ายเทอมละ 50,000 บาท

ป.เอก หลักสูตร 3 ปี โดยค่าเทอมเหมาจ่ายเทอมละ 55,000 บาท

6) คุณสมบัติของผู้ที่สนใจจะเข้าศึกษา

หลักสูตร ป.โท

คนที่จะเรียนต่อในสาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ได้นั้นจะเป็นต้องผู้ที่สำเร็จการศึกษาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ แพทยศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์การแพทย์ หรือเทคนิคการแพทย์ สามารถมาเรียนต่อในสาขานี้ได้ เพราะทางหลักสูตรจะมีวิชาปรับพื้นฐานให้ เพื่อให้ผู้เรียนมีพื้นฐานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์เพียงพอสำหรับทำงานวิจัยในด้านที่ตนสนใจ

สำหรับผู้ที่เรียนจบมาจากต่างสาขาวิชากันจะมีการเรียนที่แตกต่างกันอย่างไร เนื่องจากทางหลักสูตรของเราจะรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในหลายสาขาวิชาเข้ามาเรียนด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ แพทยศาสตร์ และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นนักศึกษาที่เข้ามาจากทางสายหนึ่ง ก็จะขาดความรู้พื้นฐานจากอีกด้านหนึ่ง เราจึงแยกนักศึกษาออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ถ้าผู้ที่จบทางสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์จะมีวิชาบังคับ 6 หน่วยกิต ทางด้านแพทยศาสตร์ คือ วิชาสรีรวิทยา และกายวิภาคศาสตร์ เพื่อปรับพื้นฐานให้มีความรู้ทางด้านการแพทย์ ส่วนนักศึกษาที่จบมาทางด้านวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ จะต้องไปเรียนวิชาปรับพื้นฐานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ 6 หน่วยกิตเช่นกัน จากนั้นจึงเรียนร่วมกันตามปกติหลักสูตร ป.เอกหลักสูตร แบบ 1.1 (วิทยานิพนธ์อย่างเดียว 48 หน่วยกิต)

1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ หรือสาขาอื่นที่เทียบเท่าที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรเห็นชอบ หรือสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพที่เป็นหลักสูตร 6 ปี ที่มีพื้นความรู้ความสามารถและศักยภาพเพียงพอที่จะทำวิทยานิพนธ์ได้ โดยมีเกรดเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.25 หรือ

2. ในกรณีที่มีเกรดเฉลี่ยน้อยกว่า 3.25 จะต้องเป็นผู้มีประสบการณ์ในวิชาชีพวิศวกรรมหรือวิทยาศาสตร์สุขภาพหรือวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมชีวการแพทย์มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือมีผลงานวิจัยในสาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์หรือเทียบเท่าที่ได้ผลดีเป็นพิเศษ และผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตรบัณฑิตศึกษา ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์หลักสูตร แบบ 2.1 (เรียนกระบวนวิชา 12 หน่วยกิต และวิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิต)

สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ หรือสาขาอื่นที่เทียบเท่าที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรเห็นชอบ หรือสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพที่เป็นหลักสูตร 6 ปี ที่มีพื้นความรู้ความสามารถและศักยภาพเพียงพอที่จะทำวิทยานิพนธ์ได้ และ/หรือผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตรบัณฑิตศึกษา ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์

7) การประกอบอาชีพ

ผู้สำเร็จการศึกษา สามารถไปทำงานในส่วนของงานวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับอุปกรณ์ทางการแพทย์ หรือพัฒนาให้เกิดสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่มีประโยชน์ต่อวงการแพทย์ขึ้นมาได้โดยอาจจะผลิตเครื่องมือที่ได้มาตรฐานทัดเทียมกับต่างประเทศในราคาที่ถูกลง หรือทำงานในส่วนของผู้ดูแลเครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ในหน่วยงาน โรงพยาบาล สถานประกอบการสุขภาพทั้งหลายก็ได้

8) ระยะเวลาการรับสมัคร

สำหรับในการรับสมัครในภาคการศึกษาที่ 1/2559 นี้ สมัครได้ตั้งแต่บัดนี้ - 5 กรกฎาคม 2559ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบข้อเขียน วันที่ 6 กรกฎาคม 2559 ที่ http://biomed.eng.cmu.ac.th

สอบข้อเขียนและสัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษ วันพุธที่ 13 กรกฎาคม 2559

หรือการสมัครอีกทางหนึ่งคือผู้สมัครยื่นคะแนนสอบ TOEFL หรือ IELTS และ GRE หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องพร้อมใบสมัคร (ดาวน์โหลดใบสมัครที่ http://biomed.eng.cmu.ac.th)โดยส่งมาให้ทางสาขาวิชาฯ พิจารณาโดยตรง ได้ที่ [email protected]

อย่างไรก็ตามหลักสูตรของเราสามารถสมัครเรียนได้ตลอดทั้งปี โดยไม่ต้องรอรอบการสมัคร โดยสามารถสมัครได้ทั้งทางเว็บไซต์ของบัณฑิตวิทยาลัย http://www.grad.cmu.ac.th/admissions/indexth.php หรือยื่นใบสมัครโดยตรงได้ที่สาขาวิชาฯ ห้อง 702 ชั้น 7 อาคาร 30 ปี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มช.

9) ฝากข้อความ

หากใครที่มีความสนใจทั้งสายวิทยาศาสตร์การแพทย์กับสายวิศวกรรมศาสตร์ ขอแนะนำวิศวกรรมศาสตร์สาขาใหม่ วิศวกรรมชีวการแพทย์ ซึ่งจะเป็นทางเลือกใหม่อีกทางหนึ่ง เรามีเจ้าหน้าที่ที่คอยให้คำแนะนำทั้งที่สำนักงานและแบบออนไลน์ทางอินเตอร์เน็ต

Facebook: https://www.facebook.com/bmecmu

Fanpage: https://www.facebook.com/BiomedCMU/

10) การสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและสมัคร (โทรศัพท์-เว็บไซต์)

โทรศัพท์ 053-942083-4 หรือ http://biomed.eng.cmu.ac.th

HTML::image(