Dr. Bruce Ravel กล่าวว่า "การมาซินโครตรอนไทยครั้งนี้เป็นครั้งที่ 6 แล้ว โดยที่ผ่านมาจะมาในฐานะวิทยากรของการอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการดูดกลืนรังสีเอกซ์ ASEAN Workshop on X-ray Absorption Spectroscopy โดยการเชิญของสถาบันฯ แต่ในครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกทีได้มาใช้แสงซินโครตรอนในเทคนิคการดูดกลืนรังสีเอกซ์ ณ ระบบลำเลียงแสงที่ 8 ห้องปฏิบัติการแสงสยาม จ.นครราชสีมา
ปัจจุบันผมและทีมวิจัยกำลังศึกษาเรื่องฝุ่นในระบบสุริยะ หรืออนุภาคของแร่ขนาดเล็กที่ลอยอยู่ในอวกาศ ซึ่งได้ร่วมกับองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา หรือ NASA ในการศึกษาหาองค์ประกอบของฝุ่นเหล่านั้น แน่นอนว่าเราไม่สามารถเก็บตัวอย่างฝุ่นจากอวกาศมาวัดได้ เราจึงใช้วิธีวัดการดูดกลืนรังสีเอกซ์ของฝุ่น โดยใช้รังสีเอกซ์ที่เกิดขึ้นในอวกาศอยู่แล้ว ผ่านตัวรับสัญญาณตามสถานีอวกาศต่างๆ และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ร่วมกับผลการทดลองการดูดกลืนรังสีเอกซ์ที่วัดจากห้องปฏิบัติการแสงสยาม โดยธาตุหลักๆ ที่กำลังศึกษาคือ แมกนีเซียม อะลูมิเนียม และซิลิกอน ซึ่งข้อมูลที่วัดได้ในครั้งนี้เป็นประโยชน์อย่างมากกับงานวิจัยของผม นอกจากนี้ผมรู้สึกประทับใจทีมงานทุกท่าน ที่คอยให้ความช่วยเหลือตลอดช่วงเวลาที่ทำการทดลอง และหากมีโอกาสจะกลับมาใช้แสงซินโครตรอนที่สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนอีกแน่นอน"
ดร. วันทนา คล้ายสุบรรณ์ หัวหน้าทีมงานระบบลำเลียงแสงที่ 8 กล่าวปิดท้ายว่า "เราช่วย Bruce ทำการทดลองตลอดสามวันเต็ม บันทึกสเปกตรัมได้มากถึง 150 สแกน จากตัวอย่างหินแร่กว่า 30 ชนิด คาดว่าจะเป็นฐานข้อมูลขั้นเลิศของงานวิจัยอีกหลายๆ เรื่องในอนาคต"
HTML::image( HTML::image( HTML::image(