"ทั้งนี้ การกำกับการประกอบกิจการของเอกชน โทษทางปกครองสูงสุดคือการพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต อันจะทำให้เกิดการจอดำแต่จะมีผลกระทบต่อผู้บริโภคทำให้ไม่สามารถรับชมได้ ในกรณีนี้ผู้บริโภคควรได้รับการชดเชยที่เป็นธรรมเพียงพอ จึงเป็นที่มาของการหารือร่วมกับทาง สคบ. เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภคต่อไป ซึ่งหากมีการดำเนินการเจรจาไกล่เกลี่ยของผู้ร้องเรียนแล้วแต่ยังไม่สามารถตกลงกันได้ ทาง สคบ.ยินดีจะช่วยผู้บริโภคดำเนินการฟ้องร้องทางแพ่งต่อไป ส่วนมาตรการทางสังคมจะประสานงานกับทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ช่วยดำเนินการทวงถามสิทธิ์ และเรียกร้องมาตรการเยียวยาอีกทางด้วย ระหว่างนี้ขอให้ผู้บริโภคเตรียมตรวจสอบสิทธิ์ของตนเอง หรือสอบถามข้อมูลจาก กสทช. (โทรฟรี 1200) หรือ สคบ.(โทรฟรี 1166) และติดตามความคืบหน้าเป็นระยะ"สุภิญญากล่าว
นายอำพล เลขาธิการ สคบ. กล่าวว่า ช่วงต้นปีที่ผ่านมามีผู้บริโภคร้องเรียน กรณียุติการให้บริการ Z PAY TV บนกล่องGMM Z ของ บ.จีเอ็มเอ็ม บี จำกัด(บ.ซีทีเอช) 34 ราย และรายอื่นๆอีก 20 กว่าราย โดยขั้นตอนของ สคบ. หลังรับเรื่องร้องเรียนแล้วจะมีการเชิญผู้ร้องมาสอบถามรายละเอียดเรื่องการทำสัญญากับบริษัทต่างๆ หลังจากนั้นจะเชิญตัวแทนบริษัทมาชี้แจง พร้อมทั้งมีการชดเชย เยียวยา คืนค่าบริการ หรือตกลงกับผู้ร้องจนเป็นที่พอใจ
"หากสุดท้ายเกิดกรณีว่าไม่สามารถตกลงกันได้ หรือบริษัทไม่มีการส่งตัวแทนมาดำเนินการเจรจาไกล่เกลี่ย ก็จะดำเนินการเข้าสู่กระบวนการฟ้องร้องต่อศาลต่อไป รวมถึงกรณีหากมีผู้บริโภคร้องเรียนผลกระทบจากการยกเลิกบริการ CTH ไม่พอใจการเยียวยาที่บริษัทเสนอมาหรือไม่สามารถตกลงกันได้ สคบ.จะมีขั้นตอนการไกล่เกลี่ย และหากไม่สำเร็จอาจถึงขั้นฟ้องร้อง โดย สคบ. จะดำเนินการฟ้องร้องแทนผู้บริโภค และหากมีผู้ร้องเกิดความเสียหายในทำนองเดียวกันหลายราย สคบ.จะสามารถรวมสำนวนฟ้องเป็นชุดเดียวกันได้ทั้งหมด ซึ่งจากการหารือร่วมกับทาง กสทช. หากพบว่ามีผู้บริโภคบางส่วนได้ร้องเรียนไปยังสำนักงาน กสทช. แล้วไม่สามารถยุติเรื่องร้องเรียนได้ จะมีการส่งเรื่องต่อมายัง สคบ. เราก็จะดำเนินการตามขั้นตอนทางกฎหมายเช่นเดียวกัน" อำพลกล่าว...
HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit