เมื่อเร็วๆ นี้ การยางแห่งประเทศไทย(กยท.) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ภายใต้โครงการ "การผลิตผลิตภัณฑ์หมอนยางพาราจากน้ำยาง" รุ่นที่ 3 ณ ห้องประชุมพิศ ปัญญาลักษณ์ และห้องปฏิบัติการกลุ่มอุตสาหกรรมยาง ฝ่ายวิจัย และพัฒนาอุตสาหกรรมยาง การยางแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร โดยมี ดร.ณพรัตน์ วิชิตชลชัย ผู้อำนวยการกลุ่มอุตสาหกรรมยาง เป็นผู้กล่าวเปิดการฝึกอบรมและแนะนำหลักสูตร และมีวิทยากรพิเศษ อาจารย์วราภรณ์ ขจรไชยกุล ที่ปรึกษาฝ่ายอุตสาหกรรม สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย เป็นผู้บรรยาย และให้ความรู้แก่ผู้เข้ารับการอบรม
ดร.ณพรัตน์ ผอ.กลุ่มอุตสาหกรรมยาง กล่าวว่า ปัจจุบันรัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนให้เกษตรกรหันมาแปรรูปยางพาราเป็นผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิต อีกทั้งยังเป็นช่องทางในการสร้างรายได้เพิ่มให้กับเกษตรกรชาวสวนยางด้วยการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ที่สำคัญ ยังเป็นการกระตุ้นให้เกิดการใช้ยางภายในประเทศ โดยเฉพาะ "ผลิตภัณฑ์หมอนยางพารา" กำลังเป็นที่ต้องการของตลาด และมีผู้สนใจอยากเรียนรู้ขั้นตอน กระบวนการผลิตที่ถูกต้อง เหมาะสม เพื่อไปประกอบอาชีพพัฒนาคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐาน ที่ผ่านมา ทางกลุ่มอุตสาหกรรมยาง มีการจัดโครงการอบรมการแปรรูปน้ำยางเพื่อผลิตหมอนยางพารา(หลักสูตร 2 วัน รุ่นละ 15 คน) ให้กับเกษตรกร สถาบันเกษตรกร ผู้ประกอบการกิจการยาง และผู้ที่สนใจทั่วไป โดยรุ่นนี้เป็นรุ่นที่ 3 แล้ว และยังมีรุ่น 4 และ 5 ในวันที่ 23 – 24 มิถุนายน 2559 และ 6 – 7 กรกฎาคม 2559 ตามลำดับ ปรากฏว่าได้รับผลตอบรับเกินกว่าจำนวนที่ตั้งไว้ ทำให้ขณะนี้ มีผู้มาสมัครเต็มแล้วทั้ง 2 รุ่น ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถแจ้งชื่อไว้ได้ที่ ฝ่ายวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมยาง การยางแห่งประเทศไทย โทร.02-940-7391 หรือ อีเมล์ [email protected] หากมีการขยายหลักสูตร จะประชาสัมพนัธ์ให้ทราบอีกครั้ง
แต่อย่างไรก็ตาม "ขณะนี้ ปัญหาที่พบจากการสำรวจตลาดหมอนยางพารา คือ ในท้องตลาดจะมีหมอนที่ผสมจากยางสังเคราะห์ ที่มีสีขาวสวยน่าใช้กว่า แต่หลังจากใช้งานไปได้สักระยะจะเกิดการหลุดล่อน ไม่เอื้อสำหรับการใช้งานต่อไป จึงฝากถึงผู้บริโภคว่าให้พิจารณาก่อนซื้อ เพราะหากเป็นหมอนที่ผลิตจากยางพารา 100% ตามโครงการฝึกอบรมในครั้งนี้จะมีคุณภาพ พร้อมคุณสมบัติที่ดี และอายุการใช้งานนานกว่าหลายเท่า (นับ 10 ปี) " ดร.ณพรัตน์ กล่าวทิ้งท้าย
HTML::image( HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit