พล.อ.ธนะศักดิ์ กล่าวว่า ที่ประชุมยังได้พิจารณาอนุญาตให้การจัดเทศกาลภาพยนตร์สวีเดน ประจำปี 2559 ตามที่สถานเอกอัครราชทูตสวีเดนประจำประเทศไทย แจ้งขอนำภาพยนตร์ 7 เรื่องมาฉายในเทศกาลภาพยนตร์สวีเดน วันที่ 7-11 ก.ย. ณ โรงภาพยนตร์เอสเอฟ เวิลด์ ซีเนม่า ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพมหานคร และอนุญาตให้จัดเทศกาลภาพยนตร์นิวซีแลนด์ ตามที่สถานทูตนิวซีแลนด์ประจำประเทศไทย แจ้งขอนำภาพยนตร์ 3 เรื่องมาฉายในเทศกาลภาพยนตร์นิวซีแลนด์ วันที่ 6-9 ต.ค. ณ โรงภาพยนตร์เอสเอฟ เวิลด์ ซีเนม่า ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพมหานคร
พล.อ.ธนะศักดิ์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ที่ประชุมได้พิจารณาภารกิจและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับเทศกาลภาพยนตร์ระหว่างประเทศตามพ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 เนื่องจากที่ประชุมคณะกรรมการภาพยนตร์แห่งชาติ เมื่อวันที่ 13 มิ.ย. 2559 มติเห็นว่าภารกิจการพิจารณายกเว้นการเผยแพร่ภาพยนตร์ที่ไม่ต้องผ่านการตรวจพิจารณาเป็นภารกิจของกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) และมีมติให้จัดทำ (ร่าง) คำสั่งฯ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการภาพยนตร์ระหว่างประเทศ โดยมีรองปลัด วธ. ที่ได้รับมอบหมาย เป็นประธานอนุกรรมการ ทั้งนี้ จากการประชุมหารือได้ข้อสรุป ดังนี้ 1. ภารกิจการตรวจพิจารณาและอนุญาตเผยแพร่ภาพยนตร์ตามมาตรา 25 ของ พ.ร.บ.ภาพยนตร์ฯ เป็นภารกิจของวธ. รวมถึงภารกิจการพิจารณายกเว้นการเผยแพร่ภาพยนตร์ที่ไม่ต้องผ่านการตรวจพิจารณาและได้รับอนุญาตตามมาตรา 27(4) ภาพยนตร์ที่ฉายในเทศกาลภาพยนตร์ต่างประเทศตามเทศกาลกำหนด ดังนั้นการพิจารณาการเผยแพร่ภาพยนตร์ในเทศกาลภาพยนตร์ระหว่างประเทศของอนุกรรมการเทศกาลภาพยนตร์ระหว่างประเทศ ถือเป็นภารกิจของ วธ. จากเดิมเป็นหน้าที่กรมการท่องเที่ยว
ทั้งนี้ จากประชุมของอนุกรรมการฯ ได้มีมติให้ปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับเทศกาลภาพยนตร์ระหว่างประเทศ โดยมีประเด็นการพิจารณาสำคัญ ได้แก่ 1.กำหนดคำนิยามของเทศกาลภาพยนตร์ระหว่างประเทศให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน 2.ปรับปรุงรายชื่อเทศกาลภาพยนตร์ระหว่างประเทศฯ ให้ดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ปรับปรุงรายชื่อให้ทันสมัยโดยอ้างอิงจากรายการรายชื่อเทศกาลภาพยนตร์ระหว่างประเทศที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้รวบรวม โดยกำหนดหลักเกณฑ์เบื้องต้นว่า เป็นเทศกาลภาพยนตร์ที่จะต้องจัดต่อเนื่องอย่างน้อย 3 ปี มีความน่าเชื่อถือและได้รับการยอมรับจากสาธารณชน และเทศกาลภาพยนตร์ระหว่างประเทศอื่นๆ ที่ต้องการขอยื่นเข้าเป็นเทศกาลภาพยนตร์ระหว่างประเทศ ให้มีการกำหนดกฎระเบียบให้ชัดเจนและเปิดให้ผู้จัดงานยื่นขอรับสมัครเข้าเป็นเทศกาลภาพยนตร์ระหว่างประเทศตามท้ายประกาศโดยจะต้องยื่นขอเป็นเทศกาลภาพยนตร์ระหว่างประเทศ อย่างน้อย 3 เดือน ก่อนการจัดงาน และจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการภาพยนตร์และ วีดิทัศน์แห่งชาติ จึงสามารถยื่นขอยกเว้นตรวจพิจารณาตามมาตรา 27 (4) ได้
พล.อ.ธนะศักดิ์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ที่ประชุมรายงานความคืบหน้าเพื่อทราบในการดำเนินการแก้ไขปรับปรุงพ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 และมาตรการส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์ โดยกระทรวงวัฒนธรรมได้ประชุมคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อพิจารณาการแก้ไขปรับปรุงพ.ร.บ.ภาพยนตร์ฯ เมื่อเร็วๆนี้ โดยมีสาระสำคัญที่จะแก้ไข อาทิ 1. เพิ่มคำว่าและวีดิทัศน์ในมาตราที่เกี่ยวกับการจัดตั้ง "กองทุนส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์" 2. เปลี่ยนผู้แทนคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทยจากผู้แทนการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเป็นผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ 3. กฤษฎีกาขอให้พิจารณาการกำหนดบทบัญญัติเรื่องกองทุนฯ ให้สอดคล้องกับพ.ร.บ.การบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ. 2558 และ 4. ที่ประชุมเห็นควรย้ายหมวดที่เกี่ยวข้องกับกองทุนส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์ จากเดิมหมวด 6/1 ที่อยู่ในหมวดการอุทธรณ์เป็นหมวด 4/1 ซึ่งเป็นเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมอุตสาหกรรมฯ ตามพ.ร.บ.ภาพยนตร์ฯ
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit