ม.แม่โจ้ ร่วมกับ โรงพยาลาลสันทราย สาธารณสุขอำเภอสันทราย และเทศบาลแม่โจ้ เร่งทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง กำจัดเชื้อไวรัสซิก้า

05 Sep 2016
จากสถานการณ์ พบผู้ป่วยไข้ซิก้าในเขตพื้นที่อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งสาเหตุมาจากยุงลายเป็นพาหะนำโรค ล่าสุด พบผู้ติดเชื้อเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ 1 ราย ซึ่งมีภูมิลำเนาในพื้นที่อำเภอสันทราย ทางโรงพยาบาลให้หยุดพักรักษาตัวที่บ้านจนกว่าจะหายเป็นปกติ
ม.แม่โจ้ ร่วมกับ โรงพยาลาลสันทราย สาธารณสุขอำเภอสันทราย และเทศบาลแม่โจ้ เร่งทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง กำจัดเชื้อไวรัสซิก้า

นางเจริญศรี เอี้ยงกุญชร หัวหน้างานอนามัยและพยาบาล มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า "จริงๆแล้วเรื่องการป้องกันและกำจัดยุงลาย พาหะนำโรคไข้เลือดออก และไข้ซิก้า นั้น ทางมหาวิทยาลัยได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ได้มีสำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และพ่นฝอยละอองกำจัดยุงตามสูตรมาโดยตลอด และเมื่อได้พบผู้ป่วยใหม่เป็นนักศึกษาของเรา จำนวน 1 ราย ก็ได้มีมาตรการเข้มข้นขึ้น โดยในระยะ 4-5 วันนี้ ได้จัดนักศึกษาแม่โจ้ ร่วมทำงานกับสาธารณสุขอำเภอสันทราย สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ทำลายแหล่งน้ำขังในจุดต่างๆ และทางเทศบาลเมืองแม่โจ้ กับโรงพยาบาลสันทราย จะได้เข้ามาพ่นฝอยละอองเพื่อกำจัดยุงลาย ไม่ให้เกิดการแพร่ของเชื้อไข้ซิก้าต่อไปได้ ซึ่งขณะนี้ทางมหาวิทยาลัยได้มีการประชาสัมพันธ์ให้นักศึกษาทราบเกี่ยวกับโรคไข้ซิก้า เพื่อให้นักศึกษาได้ป้องกันตัวเองไม่ให้ถูกยุงกัด ได้จัดจุดบริการโลชั่นกันยุง และให้ความรู้แก่นักศึกษาเพื่อได้สังเกตอาการตัวเองหากเจ็บป่วย และให้บริการตรวจสุขภาพนักศึกษาเบื้องต้นเพื่อเป็นการคัดกรองโรค"

นายทวีศักดิ์ เทียมตระกูล สาธารณสุขอำเภอสันทราย กล่าวเพิ่มเติมว่า " เกี่ยวกับเรื่องนี้ นายอดุลย์ ฮวกนิล อำเภอสันทราย ได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งและมีนโยบายมาอย่างชัดเจน ทางเราก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ เพราะเมื่อพบผู้ป่วยใหม่ ก็ได้ร่วมกันวางแผนควบคุมแบบเข้มข้นในรัศมี 100 เมตร จากจุดที่พบผู้ป่วย จากจุดที่ผู้ป่วยไปพัก โดยดำเนินการ 5 มาตรการหลัก คือ 1. ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบสถานการณ์ 2.แบ่งทีมดำเนินการสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ซึ่งในครั้งนี้เราได้รับความร่วมมือจัดนักศึกษามาร่วมทีมสำรวจด้วย โดยจะต้องให้ค่า HI และ CI เป็น 0 ภายในระยะเวลา 5 วัน และสุ่มตรวจอีกครั้ง และเฝ้าระวังต่ออีก 28 วัน จึงจะถือว่าปลอดภัย 3. ดำเนินการพ่นฝอยละออง ULV ตามสูตร 0-3-7-14-21-28 เมื่อพบผู้ป่วย หากค่า HI และ CI ไม่เห็น 0 ต้องพ่นต่อทุกๆ 7 วัน 4. จัดทีมเฝ้าระวังและค้นหาผู้ป่วยที่มีอาการของโรค และหญิงมีครรภ์ในพื้นที่ เพื่อเฝ้าระวัง คัดกรอง และทำการรักษาได้ทันท่วงที และ 5. สรุปทำการประเมินผล และรายงานแจ้งหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องได้รับทราบต่อไป"

HTML::image(