พล.อ.ธนะศักดิ์ กล่าวต่อว่า จากการสำรวจความเห็นพบว่า ปัญหาอุปสรรคในการเรียนการสอนดนตรีไทยในโรงเรียน/สถานศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ พบว่าร้อยละ 46.06 บอกว่า เครื่องดนตรีไทยมีไม่เพียงพอ ร้อยละ 23.88 เครื่องดนตรีไทยเก่า/ชำรุด ร้อยละ 16.17 ครูสอนดนตรีไทยมีจำนวนไม่เพียงพอ ร้อยละ 8.63 ไม่มีห้องเรียนสำหรับเรียนดนตรีไทยโดยเฉพาะ และร้อยละ 3.79 ครูที่สอนไม่ได้จบการศึกษาด้านดนตรีไทย จากการสอบถามว่า สถานศึกษามีการจัดการเรียนการสอนดนตรีไทยอย่างไรเด็กและเยาวชน ร้อยละ 76.06 บอกว่ามีครูผู้สอนที่โรงเรียน ที่จบหลักสูตรดนตรีไทยโดยตรงร้อยละ 13.92 มีครูผู้สอนที่โรงเรียน ที่ไม่ได้จบหลักสูตรดนตรีไทยโดยตรง และร้อยละ 3.74 มีครูผู้สอนจากที่อื่นมาสอนที่โรงเรียน และได้สอบถามเยาวชนว่า เคยเรียนดนตรีไทย/ดนตรีประเภทใดที่เคยเรียน พบว่า ร้อยละ 26.52 เคยเรียนเครื่องตีคือ ฉิ่ง ระนาดเอก ฉาบ กลองยาว ระนาดทุ้ม กรับพวง ร้อยละ 21.10 เรียนเครื่องดนตรีพื้นบ้านไทย ภาคอีสาน ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ ร้อยละ 20.94 เคยเรียนเครื่องเป่า ขลุ่ยเพียงออ ขลุ่ยอู้ ขลุ่ยหลิบ ปี่ชวา ปี่มอญ ปี่ไฉน เป็นต้น
นอกจากนี้ได้สำรวจว่าเด็ก เยาวชนว่าเล่นดนตรีไทยได้กี่ชนิด พบว่า ร้อยละ 49.22 เล่นได้ 1 ชนิด ร้อยละ 19.76 เล่นไม่ได้ ร้อยละ 16.22 เล่นได้ 2 ชนิด ร้อยละ 7.44 เล่นได้ 3 ชนิด ร้อยละ 4.53 เล่นได้ 4 ชนิดร้อยละ 2.83 เล่นได้มากกว่า 5 ชนิด และจากการสำรวจความคิดเห็นเยาวชนว่า ปัจจุบันโรงเรียน/สถานศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ ได้จัดการเรียนการสอนดนตรีไทยหรือไม่ พบว่า ร้อยละ 60.75 บอกว่ามีและเปิดสอนนักเรียน/นักศึกษาระดับมัธยมต้น มัธยมปลาย ประถม และร้อยละ 20.07 ไม่มี ทั้งนี้ได้สอบถามความเห็นเยาวชนที่ไม่เคยเล่นดนตรีไทยว่าถ้ามีโอกาสสนใจจะเรียนดนตรีไทย หรือไม่ พบว่าร้อยละ 60.08 สนใจต้องการจะเรียนดนตรีไทยประเภท/ชนิด : ขิม ระนาดเอก จะเข้ ระนาด พิณ ฉิ่งกลอง และร้อยละ 39.92 ไม่สนใจ รวมทั้งได้สอบถามว่า การเล่นดนตรีไทยมีคุณค่าหรือมีความสำคัญหรือมีประโยชน์อย่างไร พบว่า ร้อยละ 22.97 บอกว่ารักษาขนบธรรมเนียมประเพณีไทยให้คงอยู่ต่อคนรุ่นหลังและตลอดไป ร้อยละ 21.56 ได้ฝึกสมาธิช่วยให้เป็นคนรอบคอบ ร้อยละ 17.79 ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และร้อยละ 15.66 สนุกสนานและผ่อนคลายความเครียด
อย่างไรก็ตามได้มอบหมายให้ วธ. นำความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ จากเด็ก เยาวชน ผู้ปกครองและบุคลากรทางการศึกษาที่ได้จากการสำรวจความคิดเห็นครั้งนี้มาใช้ประกอบในการกำหนดแนวทางในการส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนไทยเล่นดนตรีไทยเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งใช้เป็นแนวทางในการกำหนดมาตรการการสนับสนุนทั้งเรื่ององค์ความรู้และสนับสนุนเครื่องดนตรีไทยให้กับเยาวชนที่ต้องการเรียนดนตรีไทยแต่ขาดแคลนเครื่องดนตรี