จากที่กล่าวข้างต้นไม่ผิดแน่นอนค่ะ เพราะได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมโรงไฟฟ้าพลังน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือเขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น และได้มีโอกาสพุดคุยกับคุณเกรียงศักดิ์ ชินวงษ์ นักคอมพิวเตอร์ระดับ 9 หัวหน้าแผนกอุปกรณ์ควบคุม สังกัดกองเดินเครื่อง โรงไฟฟ้าพลังน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
คุณเกรียงศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า "โรงไฟฟ้าพลังน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือประกอบด้วยโรงไฟฟ้าทั้งหมด 7 โรงไฟฟ้า คือ 1.โรงไฟฟ้าเขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น 2. โรงไฟฟ้าเขื่อนน้ำพุง จ.สกลนคร 3.โรงไฟฟ้าเขื่อนจุฬาภรณ์ 4.โรงไฟฟ้าเขื่อนห้วยกุ่ม จ.ชัยภูมิ 5.โรงไฟฟ้าเขื่อนสิรินธร 6.โรงไฟฟ้าเขื่อนปากมูล จ.อุบลราชธานี 7.โรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา จ.นครราชสีมา โดยมีศูนย์กลางการบริหารและจัดการอยู่ที่เขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น สามารถควบคุมการเดินเครื่องด้วยระบบควบคุมทางไกลจากศูนย์ควบคุมโรงไฟฟ้าพลังน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ""เขื่อนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นเขื่อนอเนกประสงค์ บริหารจัดการทรัพยากร "น้ำ" มาใช้ประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติสูงสุด สามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่ประชาชนได้หลายประการ ไม่ว่าจะเป็นการชลประทานเพื่อการเกษตรกรรม การประมง การรักษาสิ่งแวดล้อม บรรเทาการท่องเที่ยวและการผลิตไฟฟ้า สำหรับประโยชน์ด้านการผลิตไฟฟ้าถือเป็นผลพลอยได้จากการสร้างเขื่อน ไม่ใช่วัตถุประสงค์หลัก แต่ผลที่กลับมาในด้านการผลิตไฟฟ้าถือเป็นประโยชน์สำคัญที่ประชาชนได้รับ
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตได้นำเทคโนโลยีมาใช้ในการการเดินเครื่องด้วยระบบควบคุมทางไกล (ระบบ Remote Control ) ที่ศูนย์ควบคุมฯ โดยสามารถทำการเดินเครื่องไปยังโรงไฟฟ้าที่อยู่ห่างออกไปในจังหวัดต่างๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งจะไม่มีพนักงานประจำอยู่ภายในโรงไฟฟ้า มีเพียงพนักงานรักษาความปลอดภัยที่ดูแลสถานที่ทั่วไปเท่านั้น เพราะฉะนั้นในการปฏิบัติงานเดินเครื่องด้วยระบบ Remote นั้นนอกจากจะมีระบบควบคุม ระบบแจ้งเตือนต่างๆ จากระบบ SCADA ของแต่ละโรงไฟฟ้าที่อยู่ใน Control Room แล้ว ยังมีความจำเป็นอย่างมากที่เราจะต้องมองเห็นอุปกรณ์จริงที่อยู่ที่โรงไฟฟ้า สภาพทั่วไปของอุปกรณ์ เพื่อตรวจสอบความพร้อม ความปลอดภัย และการเฝ้าระวัง ด้วยกล้องวงจรปิดที่มีความสามารถมองเห็นสภาพจริงแบบ Real time ชัดเจนตลอด 24 ชั่วโมง โรงไฟฟ้าพลังน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้นำกล้องวงจรปิดแอ็กซิสหรือเรียกว่าระบบรักษาความปลอดภัยแบบวิดีโอระบบเครือข่าย ที่มีประสิทธิภาพสูงมาใช้เพื่อตอบสนองให้ภารกิจของ กฟผ. บรรลุเป้าหมายได้เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพสูงสุด เพิ่มเติม www.axis.com
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit