นายอดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า ในพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 มาตรา 83 ได้กำหนดให้คนประจำเรือต้องมีหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย และในกรณีคนประจำเรือเปนคนต่างด้าว ต้องได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง และต้องได้รับใบอนุญาตให้ทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าวโดยนายกรัฐมนตรีได้ลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องการออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง พ.ศ. 2559 ลงวันที่ 13 กันยายน 2559 และได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2559
เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 เจ้าของเรือประมงพาณิชย์ที่มีขนาดตั้งแต่ 30 ตันกรอสขึ้นไป และ 10 ตันกรอสขึ้นไปที่ใช้เครื่องมืออวนลาก อวนล้อมจับ อวนครอบปลากะตัก ที่ประสงค์จะให้คนต่างด้าว ซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี ทำงานบนเรือประมง ต้องจัดให้แรงงานผู้นั้นยื่นคำขอรับหนังสือคนประจำเรือ ดังนั้น ตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2559 เป็นต้นไป เจ้าของเรือประมงพาณิชย์ ที่มีขนาดตั้งแต่ 30 ตันกรอสขึ้นไป และเจ้าของเรือประมงพาณิชย์ ที่มีขนาด 10 ตันกรอสขึ้นไป ที่ใช้เครื่องมือทำการประมงประเภทอวนลาก อวนล้อมจับ และอวนครอบปลากะตัก ที่ได้รับใบอนุญาตออกไปทำการประมงพาณิชย์ หากประสงค์ให้คนต่างด้าวทำงานในเรือประมง จะต้องมายื่นคำขอรับหนังสือคนประจำเรือ (Sea Book) สำหรับแรงงานต่างด้าว ณ ศูนย์การควบคุมการแจ้งเข้า-ออกเรือประมง
โดยมีขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้
1. ยื่นคำขอ
1.1 ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตทำการประมงหรือผู้ได้รับมอบอำนาจ ต้องมายื่นคำขอ ณ ศูนย์แจ้งเข้า-แจ้งออกของเรือประมง (PIPO)
1.2 กำหนด...
1.2 กำหนดวันยื่นคำขอ
· วันที่ 15 ก.ย. – 14 ต.ค. 59 เวลา 08.30 – 16.30 น. (ไม่เว้นวันหยุดราชการ)
ยกเว้นค่าธรรมเนียม
· วันที่ 15 ต.ค. 59 เป็นต้นไป เวลา 08.30 – 15.00 น. (เว้นวันหยุดราชการ)
เสียค่าธรรมเนียม
1.3 ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตทำการประมงหรือผู้ได้รับมอบอำนาจจะต้องกรอกข้อมูลในแบบฟอร์ม พร้อมแนบหลักฐาน ดังนี้
· สำเนาใบอนุญาตให้ทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าว
· สำเนาใบอนุญาตทำการประมงของเจ้าของเรือ
· สำเนาหนังสือสัญญาจ้างให้ทำงานในเรือประมง
· หนังสือมอบอำนาจของผู้ได้รับใบอนุญาต (กรณีมอบอำนาจ ติดอากรแสตมป์ 10 บาท)
1.4 เจ้าหน้าที่ออกใบแจ้งนัด เพื่อกำหนดให้นำแรงงานมาจัดทำประวัติ และรับคำขอสำหรับแทน
หนังสือคนประจำเรือประมงตามวันและสถานที่ที่กำหนด
(**ทั้งนี้ หากคำขอไม่สมบูรณ์ หลักฐานไม่ครบ ไม่เข้าเงื่อนไข ไม่มีข้อมูลในฐานข้อมูล เจ้าหน้าที่จะคืนคำขอ ส่วนกรณีแรงงานที่มายื่นซ้ำในระบบ จะยึดตามผู้ที่มายื่นรายแรก)
2. จัดทำประวัติแรงงาน
2.1 ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตทำการประมงหรือผู้ได้รับมอบอำนาจจะต้องนำใบนัดพร้อมด้วยแรงงานต่างด้าวมาติดต่อเพื่อจัดทำประวัติ ถ่ายรูป และจัดเก็บลายนิ้วมือ
2.2 ชำระค่าธรรมเนียม 100 บาท/เล่ม พร้อมออกใบเสร็จรับเงิน (ผู้ยื่นระหว่าง 15 ก.ย. – 14 ต.ค.59 ยกเว้นค่าธรรมเนียม)
2.3 รับใบรับคำขอ (ใช้แทนหนังสือคนประจำเรือชั่วคราว มีอายุ 60 วัน) พร้อมนัดวันรับหนังสือคนประจำเรือเล่มจริง
(**ทั้งนี้ กรณีตรวจสอบตัวตนแรงงานต่างด้าวแล้วมีลักษณะบางประการไม่ตรงกับข้อมูล เช่น ลักษณะใบหน้ากับแรงงานที่มาแสดงตนแตกต่างกัน ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตทำการประมงหรือผู้ได้รับมอบอำนาจจะต้องลงลายมือชื่อเพื่อรับรองยืนยันตัวตน แต่หากพบว่าแตกต่างมากเจ้าหน้าที่จะไม่ออกใบรับคำขอให้)
3. รับหนังสือคนประจำเรือ
3.1 ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงหรือผู้ได้รับมอบอำนาจ พร้อมด้วยแรงงานต่างด้าวจะต้องนำใบรับคำขอมายื่นต่อเจ้าหน้าที่ เพื่อรับหนังสือคนประจำเรือ ณ ศูนย์ควบคุมการแจ้งเข้า-ออกเรือประมง (PIPO) ทั้งนี้ หากแรงงานคนดังกล่าวไม่สามารถมารับได้ด้วยตนเอง จะต้องมีหนังสือมอบอำนาจมาแสดง
สำหรับการดำเนินการดังกล่าวนี้ เชื่อมั่นว่าจะสามารถบรรเทาปัญหาการแรงงานประมงที่ผิดกฎหมายไปได้ และสามารถบริหารจัดการการทำประมงได้ดียิ่งขึ้น ดังนั้น จึงขอความร่วมจากเจ้าของเรือประมงพาณิชย์ที่เข้าข่ายตามที่แจ้งแล้วข้างต้นให้รีบมาดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อแสดงให้นานาประเทศได้ประจักษ์ว่าประเทศไทยมีความเข้มแข็งในการขจัดปัญหาการทำประมง IUU และการค้ามนุษย์บนเรือประมง...อธิบดีกรมประมง กล่าว
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit