ดร.สุวิทย์แสดงวิสัยทัศน์ของโมเดลประเทศไทย 4.0 ว่าการเคลื่อนไหวครั้งนี้จะเป็นการประกาศถึงการเปลี่ยนแปลงจากแอนะล็อกไทยแลนด์ไปเป็นดิจิทัลไทยแลนด์ การลงทุนต่างๆทางด้านเทคโนโลยีจะเน้นทางด้านอาหาร การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ สุขภาพ การมีสุขภาพแข็งแรงและวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ เครื่องมืออุปกรณ์อัจฉริยะ ระบบอัตโนมัติและเมคาทรอนิกส์ เทคโนโลยีดิจิทัล อินเทอร์เน็ตสำหรับสิ่งของ ปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยีสมองกลฝังตัว และงานบริการทางด้านวัฒนธรรมที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์และมีมูลค่าสูง โดยจะเน้นทางด้านโครงสร้างพื้นฐานเชิงสังคม และสร้างสังคมที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วม ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของระบบสวัสดิการ
ดร.สุวิทย์ซึ่งได้อธิบายคำว่าประเทศไทย 4.0 ว่า "เป็นการก้าวเข้าสู่ความเจริญเติบโตในศตวรรษที่ 21 ผ่านความมั่นคง ความมั่งคั่งและความยั่งยืน" และยังได้ยกตัวอย่างถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร จีน อินเดียและเกาหลีใต้ อีกทั้งกล่าวว่าเศรษฐศาสตร์เชิงสร้างสรรค์ของประเทศไทยจะตั้งอยู่บนพื้นฐานของสามเสาหลักคือ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงต่างๆจะครอบคลุมถึงการปฏิรูปเศรษฐกิจ การยกระดับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อีกทั้ง "งานวิจัยและพัฒนา" นอกเหนือจากการปฏิรูปการศึกษา
"ความต้องการโมเดลประเทศไทย 4.0 เกิดขึ้นเนื่องจากประเทศไทยจำเป็นที่ต้องก้าวพ้นกับดักของประเทศรายได้ปานกลาง ตลอดจนกับดักของความไม่เท่าเทียมกัน และต้องแก้ไขความไม่สมดุลย์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ" ท่านรมช.กล่าว และเสริมอีกว่าประเทศไทยสามารถบรรลุผลในเรื่องดังกล่าวได้โดยการสร้างเครื่องมือขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีเขียวที่เน้นการมีส่วนร่วม
การผลักดันทางยุทธศาสตร์ของโมเดลประเทศไทย 4.0 จะรวมถึงการเชื่อมโยง (ระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาคและระดับโลก) และการสร้างองค์กรเชิงนวัตกรรมที่ขับเคลื่อนโดยภาคประชาชน ในด้านการค้า ประเทศไทยจะพยายามยามเปลี่ยนจากพรมแดนให้กลายเป็นสะพาน ท่านรัฐมนตรีช่วยสุวิทย์ยืนยันถึงการเปลี่ยนแปลงสี่ประการ จากตลาดระดับชาติสู่ตลาดระดับโลก จากข้อกำหนดด้านการค้าสู่การอำนวยความสะดวกด้านการค้า จากการเพิ่มมูลค่าเป็นการสร้างมูลค่า และการเปลี่ยนแปลงจากการขายสินค้าไปเป็นขายงานบริการดร.สุวิทย์ได้กล่าวถึงบทบาทของสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ในการบรรลุวิสัยทัศน์ของโมเดลประเทศไทย 4.0 ด้วย
ศ.วรศักดิ์ กนกนุกุลชัย อธิการบดีสถาบันเอไอที ได้กล่าวขณะต้อนรับ ดร.สุวิทย์ ว่าสถาบันเอไอทีมีความกระตือรือร้นที่จะได้รับข้อมูลโดยตรงเกี่ยวกับประเทศไทย 4.0 "ในขณะที่ช่วงประเทศไทย 1.0 เน้นในการเพิ่มผลผลิตของภาคเกษตรกรรม ในช่วงประเทศไทย 2.0 เน้นอุตสาหกรรมเบา ในช่วงประเทศไทย 3.0 เน้นอุตสาหกรรมหนักเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้ช่วยเปลี่ยนเศรษฐกิจของประเทศไปสู่สถานะประเทศที่มีรายได้ปานกลาง" ศ.วรศักดิ์กล่าว "จึงถือเป็นโอกาสอันดีที่ได้รับฟังข้อมูลดังกล่าวจากบุคคลที่เป็นทั้งริเริ่มและผลักดันนโยบายโมเดลประเทศไทย 4.0 โดยตรง" ศ.วรศักดิ์กล่าวเสริม
อธิการบดีสถาบันเอไอทียังกล่าวถึงวิธีการจัดตั้งโครงการเมืองนวัตกรรมอาหารเพื่อสนับสนุนการผลิต การแปรรูปและการตลาดสินค้ามูลค่าเพิ่มทางการเกษตร ภายใต้ความริเริ่มประเทศไทย 4.0 รัฐบาลไทย ทั้งนี้สถาบัน เอไอทีได้ลงนามในข้อตกลงกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในโครงการดังกล่าว และสถาบันเอไอทีได้เสนอที่จะเป็นสถานที่ตั้งศูนย์นานาชาติเพื่อความมั่นคงและคุณภาพอาหารแบบบูรณาการ (International Center for Integrated Food Safety and Quality) เพื่อสนับสนุนโครงการเมืองนวัตกรรมอาหารด้วย
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit