ประเทศในกลุ่มอาเซียนมีสัดส่วนบทความงานวิจัยทั่วโลกรวมกันเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าตั้งแต่ปี 2006

12 Sep 2016
ประเทศในกลุ่มอาเซียนมีสัดส่วนบทความงานวิจัยทั่วโลกรวมกันเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าตั้งแต่ปี 2006 และมีความเคลื่อนไหวทางด้านการจดสิทธิบัตรเพิ่มสูงขึ้นกว่า 40% ในรอบสามปีที่ผ่านมา
ประเทศในกลุ่มอาเซียนมีสัดส่วนบทความงานวิจัยทั่วโลกรวมกันเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าตั้งแต่ปี 2006

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนได้มีสัดส่วนบทความงานวิจัยทั่วโลก (วารสารทางวิทยาศาสตร์) รวมกันเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่า และมีความเคลื่อนไหวทางด้านการจดสิทธิบัตร ซึ่งโดยทั่วไปแสดงถึงการเติบโตของนวัตกรรมของภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มสูงขึ้นกว่า 40% ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา นี่คือบางส่วนของข้อมูลสำคัญที่ปรากฏในรายงาน "อาเซียน – ศูนย์กลางการวิจัยและนวัตกรรมแห่งใหม่" จัดทำโดย หน่วยธุรกิจทรัพย์สินทางปัญญา & วิทยาศาสตร์ (IP & Science) ทอมสัน รอยเตอร์ส อันเป็นการบ่งบอกว่าภูมิภาคอาเซียนกำลังจะเป็นศูนย์กลางทางด้านการวิจัยและนวัตกรรมที่รุ่งเรือง

รายงานการวิจัยซึ่งเป็นฉบับล่าสุดของซีรีส์ที่โฟกัสตามกลุ่มประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดหาภาพรวมและบทวิเคราะห์ของงานวิจัยในประเทศกลุ่มอาเซียนและผลกระทบของงานวิจัยและนวัตกรรม โดยอิงจากการที่บทความวิจัยได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทางด้านวิทยาศาสตร์และความเคลื่อนไหวที่เกี่ยวข้องกับการจดสิทธิบัตร ซึ่งรวบรวมจากดัชนีในฐานข้อมูล Web of Science Core Collection, Derwent World Patents Index® และ Derwent Patents Citation Index®

บางส่วนของข้อมูลสำคัญจากผลรายงาน:

• กลุ่มประเทศอาเซียนมีสัดส่วนผลงานทางด้านบทความวิทยาศาสตร์ในโลกที่เพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าซึ่งวัดได้จากฐานข้อมูล Web of Science โดยเพิ่มขึ้นจาก 1.37% ในปี 2006 เป็น 2.43% ในปี 2015 และเมื่อพูดถึงผลิตผลทางด้านงานวิจัย ประเทศในกลุ่มอาเซียนมีผล งานเพิ่มขึ้นเกือบสามเท่าในช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมาในขณะที่ทั่วโลกเพิ่มขึ้นราว 50%

• มาเลเซีย บรูไน และเวียดนาม ต่างมีผลิตผลทางด้านบทความงานวิจัยที่เพิ่มขึ้นอย่างโดดเด่นในทศวรรษที่ผ่านมา คิดเป็นสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 300% ระหว่างปี 2006-2015

• การเคลื่อนไหวทางด้านสิทธิบัตรจากกลุ่มประเทศอาเซียนเพิ่มขึ้นมากกว่า 40% ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา

• ภูมิภาคอาเซียนมีความก้าวหน้าเป็นอย่างมากในแง่ของการพัฒนานวัตกรรมภายในประเทศ สัดส่วนของการยื่นขอจดสิทธิบัตรโดยหน่วยงานภายในประเทศเมื่อเทียบกับจำนวนการยื่นขอจดสิทธิบัตรทั้งหมดเพิ่มขึ้นจากน้อยกว่า 9% ในปี 2005 เป็น 12.5% ในปี 2014 แสดงให้เห็นว่าการลงทุนทางด้านการวิจัยและพัฒนาของประเทศในแถบอาเซียนเริ่มจะเห็นผลอย่างเป็นรูปธรรมแล้ว

• เทคโนโลยีที่ประเทศในกลุ่มอาเซียนเน้นให้ความสำคัญเท่าที่วัดจากการจดสิทธิบัตรนั้นได้แก่ด้าน เคมี เกษตรศาสตร์ และแพทย์ศาสตร์ และไม่ค่อยเน้นไปที่ด้านเซมิคอนดัคเตอร์หรือโทรคมนาคม

ภูมิภาคอาเซียนประกอบด้วย 10 ประเทศที่มีอาณาเขตใกล้กันแต่ทว่ามีความแตกต่างที่หลากหลาย เช่น จำนวนประชากร ความมั่งคั่งและลักษณะภูมิประเทศ ผลิตผลงานวิจัยในภูมิภาคนี้โดยส่วนใหญ่มาจากกลุ่มนักวิจัยในสิงคโปร์ มาเลเซียและประเทศไทย ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 85% ของบทความงานวิจัยทั้งหมดในภูมิภาคนี้ ตามมาด้วยประเทศในกลุ่มที่สองซึ่งประกอบด้วยเวียดนาม อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา แต่ละประเทศในกลุ่มอาเซียนต่างก็มีจำนวนผลิตผลงานวิจัยที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่รวดเร็วกว่าค่าเฉลี่ยโลก, สหรัฐอเมริกา และกลุ่มสหภาพยุโรป

สำหรับประเทศไทยนั้นมีสัดส่วนผลงานทางด้านบทความงานวิจัยทั่วโลกที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งวัดจากฐานข้อมูล Web of Science โดยมีจำนวนบทความงานวิจัยทั้งสิ้น 7,200 บทความในปี 2015 หรือคิดเป็น 0.48% ของฐานข้อมูลทั้งหมด อย่างไรก็ตามในแง่ของการสร้างอิทธิพลต่อวงการซึ่งบ่งชี้โดยการอ้างอิงบทความงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (คุณภาพของงานวิจัย) ประเทศไทยถูกระบุว่ามีความใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยการอ้างอิงบทความงานวิจัยทั่วโลกตั้งแต่ปี 2006 โดยมีแนวโน้มที่ปรับตัวดีขึ้นในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา

ในแง่ของการจดบันทึกบทความที่ได้รับการอ้างอิงสูงของโลก ประเทศไทยได้รับการบันทึกว่าบทความที่มีการนำไปอ้างอิงสูงที่สุดคือในประเภทหลากหลายสาขา (Multidisciplinary) ตามด้วยฟิสิกส์ งานวิจัยของประเทศไทยที่มีความโดดเด่นมากเป็นพิเศษคือทางด้านการแพทย์คลีนิค และที่น่าสนใจเป็นพิเศษก็คือประเทศไทยเป็นผู้นำโลกทางด้านวิทยาเชื้อรา (การศึกษาเกี่ยวกับเชื้อราและเห็ด) รวมถึงคุณสมบัติทางด้านพันธุกรรมและชีวเคมี และการนำไปใช้ในมนุษย์เช่น เป็นแหล่งเพาะเชื้อ ยา อาหาร และสารที่มีฤทธ์ทางประสาท รวมถึงผลเสียและอันตราย

การสำรวจความเคลื่อนไหวการติพิมพ์และอ้างอิงบทความวิจัย รวมทั้งการดำเนินการทางด้านการจดสิทธิบัตรนี้แสดงให้เห็นว่าตัวชี้วัดทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับภูมิภาคอาเซียนกำลังพุ่งไปในทิศทางที่ถูกต้อง โดยเฉพาะเมื่อการเพิ่มขึ้นของงานวิจัยและนวัตกรรมในภูมิภาคนี้กำลังส่งผลดีต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนมากขึ้น

สามารถดาวน์โหลดรายงานนี้ได้ที่ http://stateofinnovation.thomsonreuters.com/asean-an-emerging-hub-in-research-and-innovation

HTML::image( HTML::image(