ดร.ลักษมี ปลั่งแสงมาศ ผู้ว่าการ วว. ชี้แจงว่า โครงการสร้างภาคีบัณฑิตในการผลิตบัณฑิตระดับปริญญาโท-เอก ระหว่างสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย กับ สถาบันการศึกษา ได้ดำเนินโครงการตั้งแต่ ปี 2548 ถึงปัจจุบัน เพื่อผลิตบัณฑิตด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ โดยผ่านความร่วมมือลงนามร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่เป็นสมาชิกของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย หรือ ทปอ. ประกอบด้วย 27 มหาวิทยาลัย และร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาแห่งอื่นๆ ทั่วประเทศ อีก 6 มหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์, มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, มหาวิทยาลัยรังสิต) ซึ่งโครงการฯ มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตในสาขาวิทยาการ ดังนี้ สาขาเทคโนโลยีอาหาร สาขาเภสัชและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ สาขาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว สาขาเทคโนโลยีการเกษตร สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ สาขาจุลชีววิทยา สาขาพลังงาน สาขาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร สาขานวัตกรรมวัสดุ (เซรามิกยุคใหม่และพอลิเมอร์) สาขาวิศวกรรม สาขาเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์ สาขาเคมี และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการทำวิทยานิพนธ์ และการนำเสนอผลงานทางสัมมนาวิชาการเป็นประจำทุกปี เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษานำเสนอผลงานวิจัยที่ได้ดำเนินการ
"...ที่ผ่านมาโครงการ ฯ ประสบความสำเร็จด้วยดีตลอดมา ดังจะเห็นได้จากจำนวนนักศึกษาที่ร่วมโครงการฯ จำนวน 346 คน ประกอบด้วยนักศึกษาระดับปริญญาโท 299 คน และระดับปริญญาเอก 47 คน โดยมีนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโท จำนวน 213 คน ปริญญาเอก 24 คน รวม 237 คน นับเป็นความสำเร็จร่วมกันระหว่าง วว. กับหน่วยงานพันธมิตรทางการศึกษา ที่ร่วมกันสร้างและผลผลิตบุคลากรรุ่นใหม่ให้นำความรู้ความสามารถมาใช้พัฒนาวงการวิทยาศาสตร์ไทย และสร้างผลผลิตและผลลัพธ์อันเป็นประโยชน์แก่ประเทศ เตรียมความพร้อมในการเข้าไปทำงานและช่วยภาคอุตสาหกรรมได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังเป็นการบุคลากรเพื่อรองรับการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ให้เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน" ผู้ว่าการ วว. กล่าว
สำหรับกิจกรรมการนำเสนอผลงานของนักศึกษาโครงการฯประจำปี 2559 นี้ ประกอบด้วยการเสวนาเรื่อง Start up : From Idea to Business Success รวมทั้งการนำเสนอผลงานของนักศึกษาในโครงการฯ จำนวน 23 เรื่อง โดยนักศึกษาจะได้มีโอกาสนำเสนอผลงาน และรายงานความก้าวหน้าของวิทยานิพนธ์ แลกเปลี่ยนความรู้ ข้อคิดเห็นเชิงวิชาการกับคณาจารย์ และผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อพัฒนางานวิจัยให้มีคุณภาพมากขึ้น ตลอดจนแนวทางการแก้ปัญหาต่างๆ และในส่วนอาจารย์ที่ปรึกษาและนักวิชาการ วว. ก็จะได้มีโอกาสรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อนำกลับไปปรับปรุงพัฒนางานวิจัยต่อไป
HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit