ในขณะที่ ด้านสังคม ประชาชนพอใจ 8.45 คะแนน ได้แก่ การลดปัญหาทุจริต คอรัปชั่น การจัดระเบียบชายหาด จัดการกับกลุ่มอิทธิพล มาเฟียต่างๆ แก้ปัญหายาเสพติด แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม แก้ปัญหาค้ามนุษย์ แก้ปัญหาด้านการศึกษาและสุขภาพของประชาชน และพัฒนาเทคโนโลยีเปิดกว้างรับสังคมดิจิตอล เป็นต้นและ ด้านเศรฐกิจ ประชาชนพอใจได้ 6.29 คะแนน ได้แก่ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ การลดภาระค่าใช้จ่ายให้เกษตรกร เพิ่มเงินดูแลผู้สูงอายุและเด็กแรกเกิด การส่งเสริมการท่องเที่ยวหารายได้เข้าประเทศ การแก้ปัญหาค้ามนุษย์ลดปัญหาถูกกีดกันสินค้า การส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน แก้ปัญหาราคายางและพืชผลการเกษตร เป็นต้น
ดร.นพดล กล่าวว่า เมื่อให้ประชาชนจัดอันดับ รัฐบาลทุกรัฐบาลที่ผ่านมาว่ามีความพอใจรัฐบาลใดมากที่สุด พบว่า อันดับที่ 1 ได้แก่ รัฐบาลและ คสช. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ร้อยละ 63.5 อันดับที่ 2 ซึ่งถูกทิ้งห่างอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ รัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร ร้อยละ 11.3 อันดับ 3 ได้แก่ รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ร้อยละ 10.7 อันดับ 4 ได้แก่ รัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ร้อยละ 5.5 อันดับ 5 ได้แก่ รัฐบาลนายชวน หลีกภัย ร้อยละ 4.3 ตามลำดับ
เมื่อถามถึง ความเห็นต่อการปรับคณะรัฐมนตรี พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 53.0 เห็นว่าควรปรับเล็กเท่าที่จำเป็น ร้อยละ 25.7 ระบุไม่ควรปรับเลย และร้อยละ 21.3 ระบุควรปรับใหญ่ และประชาชนยังระบุด้วยว่า ลักษณะคนที่อยากให้อยู่ในคณะรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ทำงานต่อไป ได้แก่ ร้อยละ 51.7 ระบุ คนที่มุ่งมั่นทุ่มเททำงานเพื่อส่วนรวมแท้จริง รองลงมาคือ ร้อยละ 44.9 ระบุ คนที่เสียสละเพื่อชาติบ้านเมือง ร้อยละ 43.2 ระบุคนที่ไม่แสวงหาผลประโยชน์จากการแต่งตั้งโยกย้าย ร้อยละ 36.4 ระบุคนที่ไม่หลงใหลในอำนาจ ร้อยละ 29.3 ระบุ คนที่สุภาพ ถ่อมตัว ไม่ใช้อำนาจบาตรใหญ่ ร้อยละ 27.4 ระบุคนที่ไม่เอื้อประโยชน์ให้พรรคพวก คอนเน็คชั่น และ คนที่เก่ง มีความสามารถสูง ร้อยละ 22.4 ในขณะที่ ร้อยละ 13.1 ระบุ รักษาทุกคนตอนนี้ไว้ และร้อยละ 13.0 ระบุคนที่ไม่มีคนแวดล้อมเป็นพิษที่น่าสนใจคือ เมื่อ 10 อันดับแรกของกระทรวงที่ประชาชนเห็นผลงาน พบว่า กระทรวงที่ประชาชนพอใจสูงสุดอันดับแรกได้แก่ กระทรวงกลาโหม ร้อยละ 18.6 อันดับสอง ได้แก่ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ร้อยละ 15.7 อันดับสามได้แก่ กระทรวงมหาดไทย ร้อยละ 11.4 อันดับสี่ได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ ร้อยละ 10.9 อันดับที่ห้า ได้แก่ กระทรวงยุติธรรม ร้อยละ 9.0 อันดับหก ได้แก่ กระทรวงคมนาคม ร้อยละ 6.3 อันดับเจ็ด ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข ร้อยละ 5.5 อันดับแปด ได้แก่ กระทรวงการเกษตรและสหกรณ์ ร้อยละ 3.6 ในขณะที่ อันดับเก้า มี 2 กระทรวงได้แก่ กระทรวงการต่างประเทศ และ กระทรวงแรงงาน ได้ร้อยละ 2.7 และอันดับที่ 10 ได้แก่ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ร้อยละ 2.1 ตามลำดับ
ที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนระบุเป้าหมายของความต้องการให้รัฐบาล และ คสช. ทำงานสู่เป้าหมายด้านต่างๆ ให้ได้เพื่อประชาชน โดยผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 51.5 ระบุ คนไทยต้องมีงานทำ ทักษะดี เงินดี มีสุขอย่างพอเพียง รองลงมาคือ ร้อยละ 46.4 ระบุ แก้ปัญหา ปากท้อง และค่าครองชีพได้ ร้อยละ 39.4 ระบุเป้าหมายชาติบรรลุ ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ร้อยละ 26.9 ระบุ ขจัดกลุ่มผลประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง ร้อยละ 25.9 ลดความเหลื่อมล้ำในหมู่ประชาชน ร้อยละ 24.3 จัดระเบียบสังคมให้สำเร็จ และร้อยละ 16.9 ปฏิรูปการเมืองให้สำเร็จ ตามลำดับ
ที่น่าเป็นห่วงคือ เมื่อถามว่า ถ้ามีรัฐบาลใหม่ ไม่ใช่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ปัญหาอะไรจะกลับมารุนแรงทำให้ประชาชนเป็นทุกข์กว่าเดิม ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.7 ระบุ ทุจริตคอรัปชั่นจะรีเทิร์นกลับมาอีก รองลงมาคือร้อยละ 46.9 ระบุความขัดแย้งรุนแรงของคนในชาติ ร้อยละ 30.1 ระบุ การเมืองที่มุ่งผลประโยชน์พวกพ้องและฐานเสียงของพรรค ร้อยละ 19.8 ระบุ ปัญหาบุกรุกพื้นที่ป่า และอุทยาน ร้อยละ 18.3 ระบุ ปัญหาค่าครองชีพ และปากท้อง รองๆ ลงไปคือ ปัญหายาเสพติด ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ ปัญหาค้ามนุษย์ และปัญหาคนไทยถูกต่างชาติแย่งงาน แย่งอาชีพ ตามลำดับ
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit