"กรณีช่องไม่พร้อมจ่ายค่าเช่าโครงข่ายเพราะโต้แย้งกันเรื่องการติดตั้งล่าช้า คุณภาพ และราคา นอกจาก กสท. จะพิจารณาแนวปฏิบัติหากมีการขอยกเลิกแล้ว ควรเชิญทั้งสองฝ่ายมาหาทางออกร่วมกันอีกครั้ง โดยดูจากข้อเท็จจริงด้านเทคนิคที่ปรากฎ ถ้าตกลงกันได้ก็จบถ้าไม่จบก็ต้องฟ้องศาลต่อไป แต่ทุกฝ่ายต้องมีหลักประกันว่าจะไม่กระทบคนดู และช่องต้องมีคลื่นในการออกอากาศตามสิทธิ์ที่ประมูลมา ดังนั้นถ้าจะยกเลิกสัญญาเดิมก็ควรมีการหาโครงข่ายสำรองไว้ด้วย ส่วนการแก้ไขปัญหาภาพรวม กสทช.ควรเป็นตัวกลางในการตรวจสอบมาตรฐานของทุกโครงข่าย และต้องกำกับดูแลค่าเช่าโครงข่ายตามต้นทุนที่แท้จริง เพื่อความเป็นธรรมในการแข่งขันด้วย" สุภิญญา กล่าว
นอกจากนี้ ที่ประชุมเตรียมพิจารณาการดำเนินการตามกฎหมายอาญา กรณีมีการกล่าวอ้าง กสทช. และสำนักงาน กสทช. เพื่อเรียกรับผลประโยชน์จากผู้มีความประสงค์จะประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง เนื่องจากมีกรณีกลุ่มผู้ได้รับความเสียหายมีการปลอมแปลงเอกสาร แบบคำขอต่างๆใช้เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ของ กสทช. เพื่อให้คนหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่ออกโดย กสทช. และสำนักงาน กสทช. รวมทั้งมีการกล่าวอ้างผ่านแอพพลิเคชั่นไลน์(LINE) ถึง กสทช. ว่าได้มีการออกใบอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุให้แก่สถานีเครือข่าย ซึ่งองค์กรวิทยุชุมชนภาคธุรกิจมีการเรียกรับผลประโยชน์จากการดำเนินการดังกล่าว และ พิจารณาวาระการอนุมัติผังรายการหลักประจำปี 2559 ของสถานีวิทยุกระจายเสียง 1 ปณ. จำนวน 8 สถานี(ภายหลังการปรับปรุงตามมติที่ประชุม กสท.ครั้งที่3/2558) ซึ่งนางสาวสุภิญญา กล่าวว่า กรณีวิทยุ 1 ปณ. ของสำนักงาน กสทช.เอง เป็นรูปธรรมที่ชัดเจนถึงปัญหาที่ค้างคาในการเรียกคืนคลื่นความถี่วิทยุกระจายเสียงของภาครัฐเดิมที่ไม่มีความจำเป็น ทั้งที่ตามแผนแม่บท กสทช. หน่วยงานรัฐทั้งหมดมีระยะเวลาในการถือครองคลื่นความถี่ถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2560 แต่สำนักงานยังไม่เสนอแผนการเรียกคืนคลื่นความถี่อย่างเป็นระบบมาให้บอร์ดพิจารณาเลย
"ส่วนตัวคิดว่าถึงเวลาแล้วที่ กสทช. ต้องพิจารณาให้สำนักงานคืนคลื่นวิทยุ 1 ปณ. มาจัดสรรใหม่ตามกฎหมายเพื่อเป็นแบบอย่างให้กับหน่วยงานรัฐอื่นๆ ที่ต้องพิจารณาความจำเป็นสิทธิ์การถือครองคลื่นวิทยุใน 5 ปีตามกฎหมายที่จะครบกำหนดปีหน้า การถ่วงเวลาออกไปจะไม่เป็นผลดีกับการปฎิรูปคลื่นความถี่และส่งผลต่อความล่าช้าในการปฎิรูปกิจการวิทยุกระจายเสียงทั้งหมด เพราะตอนนี้ กสทช. ยังไม่สามารถเปิดให้มีการขอจัดสรรคลื่นวิทยุใหม่ เนื่องจากต้องรอแผนพัฒนากิจการวิทยุกระจายเสียง และ ตารางคลื่นความถี่ใหม่ ที่ต้องมาจากเรียกคืนคลื่นรายเดิมของรัฐมาจัดสรรใหม่ด้วย ถ้าไม่แก้จุดนี้ก็ทำให้การจัดสรรคลื่นใหม่ยาก ระหว่างนี้ใครตั้งสถานีใหม่จึงผิดกฎหมาย" สุภิญญากล่าว
วาระอื่นๆ น่าติดตาม ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงประเภทรายการเพื่อความเหมาะสมรายการ "เซ็กส์แฟมิลี่" ทางช่อง 8 วาระเพื่อทราบช่องรายการ POP TV ได้ดำเนินการเสียค่าปรับเปรียบเทียบคดีตามที่มีการออกอากาศรายการหรือโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารโดยไม่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 ทั้งนี้สำนักงานได้ทำการบันทึกประวัติของผู้ประกอบกิจการฯต่อไป และวาระอื่นๆ ติดตามผลการประชุมในวันจันทร์นี้...
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit