1. การแสวงหาแนวทางการบริหารจัดการเพื่อสร้างความสมดุลระหว่าง น้ำ อาหาร พลังงานและระบบนิเวศ
2. ร่วมกำหนดวิธีการรับมือที่เหมาะสมกับสภาพการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศที่มีผลต่อปริมาณน้ำทั้งอุทกภัยและภัยแล้ง
3. การใช้ระบบชลประทานและการระบายน้ำเพื่อลดความยากจนและความหิวโหย
โดยร่วมวางแนวทางพัฒนาแหล่งน้ำซึ่งถือเป็นปัจจัยพื้นฐานให้เพียงพอที่จะสนับสนุนเกษตรกรรายย่อยใช้ทำการเกษตร ซึ่งไทยจะนำเสนอพระอัจฉริยภาพด้านการบริหารจัดการน้ำของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ให้ทั่วโลกได้รับรู้ด้วย
ขณะเดียวกัน นอกจากความร่วมมือเพื่อพัฒนาการชลประทานแล้ว ไทยและภูฏานยังเป็นสมาชิก "กลุ่มความร่วมมือด้านดินแห่งเอเชีย (Asian Soil Partnership: ASP)" สมาชิกทั้งหมด 19 ประเทศ รวมทั้งไทยและภูฏาน ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) มีวัตถุประสงค์ในการรวมกลุ่มพันธมิตรด้านการจัดการทรัพยากรดินของประเทศในภูมิภาคเอเชีย เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรดินต่อการดำรงชีวิตอยู่ของสิ่งมีชีวิต เพื่อให้ทุกประเทศในโลกมีการบริหารจัดการการใช้ทรัพยากรดินให้เกิดความยั่งยืน โดยไทยได้รับเลือกให้เป็นประธานคณะกรรมการอำนวยการ ดังนั้น ในฐานะที่ไทยเป็นประธาน ASP จึงได้เชิญชวนให้ภูฏานร่วมการสนับสนุนการจัดทำแผนปฏิบัติการของภูมิภาค เพื่อสร้างสรรค์ให้เกิดความร่วมมือและการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อการอนุรักษ์ พัฒนา ฟื้นฟู ทรัพยากรดิน เพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน และขอเชิญผู้แทนของภูฏานเข้าร่วมประชุมเพื่อให้การรับรองแผนปฏิบัติการในเดือนธันวาคม 2559 นี้ ซึ่งกรมพัฒนาที่ดินของไทยจะได้ประสานงานอย่างใกล้ชิดในรายละเอียดระหว่างกันต่อไป
ความร่วมมือดังกล่าวข้างต้น จะเป็นจุดเชื่อมโยงความร่วมมือระหว่างสองประเทศให้มีความแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นต่อไป โดยเฉพาะประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับทางภูฏาณในการแก้ไขปัญหาข้อจำกัดด้านการเกษตรของภูฏาน ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่เพาะปลูกมีจำกัด เพียง 2.3% ของพื้นที่ทั้งหมด ระบบชลประทานที่ยังไม่มีประสิทธิภาพ ดินมีคุณภาพต่ำ เกษตรกรยังทำการเกษตรแบบยังชีพ และทำไร่เลื่อนลอย รวมถึงการปศุสัตว์ที่ภูมิประเทศของภูฏาณมีสภาพที่เหมาะสมกับปศุสัตว์หลายชนิด ซึ่งที่ผ่านมา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ส่งผู้เชี่ยวชาญมาร่วมวิเคราะห์ศักยภาพด้านพื้นที่ของภูฏาน รวมทั้งถ่ายทอดเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้แก่เจ้าหน้าที่ด้านปศุสัตว์ในภูฏาน พร้อมทั้งจัดการฝึกอบรมและศึกษาดูงานด้านปศุสัตว์ให้แก่ฝ่ายภูฏานในหลายๆ ด้าน ไม่เพียงแต่ความร่วมมือกันในการก่อสร้างโรงงานแปรรูปเนื้อสัตว์แห่งแรกขึ้นในภูฏาน ที่น่าจะมีการพัฒนามากยิ่งขึ้นในอนาคต ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตรระหว่างกันมากขึ้น
"ปัจจุบันภูฏานเป็นประเทศคู่ค้าสินค้าเกษตรกับไทยอันดับ 159 ระหว่างปี 2556 – 2558 มีสัดส่วนการค้าสินค้าเกษตรกับไทยในสัดส่วนร้อยละ 0.0026 เมื่อเทียบกับที่ไทยค้าขายกับทั่วโลก โดยคิดเป็นมูลค่าสินค้าเกษตรเฉลี่ยปีละ37 ล้านบาท และไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้ามาตลอด โดยคิดเป็นมูลค่าส่งออก 36 ล้านบาท และนำเข้า 1 ล้านบาท สินค้าเกษตรที่ไทยส่งออกไปภูฏาน คือ อาหารปรุงแต่ง และอาหารแปรรูป สินค้าเกษตรที่ไทยนำเข้าจากภูฏาน ได้แก่ เห็ด บิสกิตหวาน เชื้อพันธุ์สัตว์ สมุนไพร เป็นต้น ประเทศคู่ค้าสินค้าเกษตรที่สำคัญของภูฏาน คือ อินเดีย ฝรั่งเศส บังกลาเทศ" พลเอก ฉัตรชัย กล่าว
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit