ปัจจุบันประชากรในปริมณฑลเพิ่มจำนวนสูงมากจากการขยายตัวของเมือง ทั้งปทุม นนทบุรี สมุทรปราการ เมื่อคิดจะพักผ่อนก็จะไปพัทยา ชะอำ หัวหิน ใช้เวลาเดินทาง 3 - 5 ชม.จึงจะได้พักผ่อน หากโครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ฯ แล้วเสร็จ ประชาชนจะได้มาเที่ยวพักผ่อนได้สะดวกและบ่อยขึ้น Feeder system เชื่อมโครงข่ายตลอดแม่น้ำ14 กม.มีความสำคัญยิ่ง เนื่องจากการพัฒนาแม่น้ำครั้งใหญ่นี้ หากจะให้เกิดการใช้ประโยชน์เต็มที่ต่อประชาชน และนักท่องเที่ยว ต้องทำให้โครงข่ายการเดินทางจากรอบนอกสู่ทางเดินริมน้ำได้สะดวกตลอดเส้นทาง จะมาเที่ยวแม่น้ำตรงไหนก็ได้ หน่วยงานภาครัฐต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งคนต้องร่วมมือกัน เช่น รฟม. กทม. ขสมก.ที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันพัฒนาโครงข่ายสนับสนุนขนส่งคน Feeder System เชื่อมต่อรถไฟฟ้าและทางเดิน เพื่อให้ประชาชนจากปริมณฑลซึ่งปัจจุบันมีจำนวนมากขึ้นและนักท่องเที่ยวสามารถเข้าถึงแม่น้ำและทางเดินได้สะดวกตลอดแม่น้ำฝั่งละ 7 กม.นี้ ไม่จำเป็นต้องเข้าเมืองอย่างเดียวจึงจะเข้าถึงแม่น้ำได้ นักท่องเที่ยวมาเยือน กทม.ปีละ เกือบ 20ล้านคน นี่คือโอกาส กระตุ้นเศรษฐกิจชุมชนและอุตสาหกรรมท่องเที่ยว โครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำฯจะเป็นแหล่งดึงดูดให้คนไทยและนักท่องเที่ยวมาเรียนรู้ และสัมผัสความหลากหลายของมรดกวัฒนธรรมของชุมชนสองฝั่ง
สำหรับ กรณีวิมานพระอินทร์ ไม่ได้ทำให้โครงการพัฒนาริมฝั่งเจ้าพระยาสะดุดแต่อย่างใด จากเมื่อเร็วๆนี้มีเพจหนึ่งได้แพร่ข่าวอ้างว่าร่างแบบพิพิธภัณฑ์กรุงเทพมหานคร หรือ อาคารวิมานพระอินทร์ ได้ลอกแบบ โดยครั้งแรกอ้างว่าลอกแบบจากคนไทย และอีกไม่กี่วันถัดมาได้เปลี่ยนมาเป็นอ้างว่าลอกแบบสถาปนิกชาวอังกฤษที่ทำในปี 2007 แต่มีข้อกังขาว่าแบบของฝรั่งเองก็ยังไปคล้ายกับของสถานีรถไฟนาโกย่าในญี่ปุ่นที่สร้างเสร็จในปี 2001 สำหรับเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ดี ที่ สจล.รับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่าย และเพื่อความสบายใจของทุกฝ่าย ทางสจล.ได้ถอนแบบออกจากรายงานที่จะนำส่งแก่กทม. ทั้งนี้ต่อไปในอนาคตการพัฒนาพิพิธภัณฑ์กรุงเทพมหานคร อยู่ในการพิจารณาของ กทม. ในการกำหนดแนวทางและรายละเอียดการออกแบบต่อไป
ส่วนเรือง มหาวิทยาลัยรับงานโครงการภาครัฐได้หรือไม่ ขณะนี้มีการยื่นเรื่องไปยังคณะกรรมการกฤษฎิกาเพื่อรอการวินิจฉัย หากสภาวิชาชีพจะใช้กรณี สจล.เป็นบรรทัดฐานว่ามหาวิทยาลัยรับงานภาครัฐได้หรือไม่ ก็มีการตั้งคำถามว่า จะใช้มาตรฐานเดียวกันกับมหาวิทยาลัยอื่นๆที่รับงานภาครัฐมายาวนานด้วยหรือไม่ 90 กว่าปีที่ก่อตั้งมหาวิทยาลัยแห่งแรกในไทยขึ้นมา จนปัจจุบันมีจำนวนมากมายหลายแห่ง บทบาทของมหาวิทยาลัย ไม่เพียงเปิดการเรียนการสอนเท่านั้น แต่ยังได้เป็นที่พึ่งของประชาชน และสังคม สนับสนุนงานภาครัฐในการร่วมพัฒนาประเทศไทยมาจนเจริญก้าวหน้ามาถึงทุกวันนี้ด้วย
ที่ผ่านมา แทบทุกกระทรวงมีการจ้างมหาวิทยาลัยของรัฐ เพราะเป็นแหล่งรวมผู้เชี่ยวชาญหลายสาขามากที่สุด ความน่าเชื่อถือและเป็นกลางทางด้านวิชาการ มหาวิทยาลัยรับงานภาครัฐได้ แม้ไม่มีใบอนุญาติจากสภาสถาปนิก และสภาวิศวกร ในทางปฎิบัติ หน่วยราชการทั่วประเทศ ถ้าจะจ้างเอกชนก็ทำ TOR ประกวดแบบ ยกเว้น มหาวิทยาลัยของรัฐมีสิทธิ์รับงานได้ตาม พรบ.ของสจล. และสามารถอิงตาม "ระเบียบสำนักนายกฯ ว่าด้วยพัสดุ ปี 2535" ไม่ว่ากระทรวงพลังงาน กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงคมนาคม กรมโยธาธิการและผังเมือง ที่ออกแบบก่อสร้างอาคารมาทั่วประเทศ กรมอนามัยจะออกแบบโรงพยาบาลทั่วประเทศ กทม. ทหารยุทธโยธา กองพลาธิการตำรวจ ก็อิงระเบียบสำนักนายกนี้ ส่วนข้อสรุปคงต้องรอจากคณะกรรมการกฤษฏีกา
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit