1. การลงนามความร่วมมือกับทางเกาหลีใต้รวม 3 ฉบับ ประกอบด้วย 1.) บันทึกแสดงเจตจำนง (MOI) ระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แห่งราชอาณาจักรไทย กับกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน และการคมนาคมแห่งสาธารณรัฐเกาหลี สำหรับความร่วมมือโครงการพัฒนาลุ่มน้ำห้วยหลวงตอนล่าง จังหวัดอุดรธานี และหนองคาย ซึ่งเป็นการดำเนินความร่วมมือทางด้านเทคนิค โดยจะไม่มีการหารือและพิจารณาใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับด้านการเงินและจีทูจี2.) บันทึกข้อตกลงว่าด้วยการยอมรับร่วม (MRA) การควบคุมคุณภาพ และความปลอดภัยด้านสุขอนามัยในผลิตภัณฑ์ประมงนำเข้าและส่งออกกับกระทรวงมหาสมุทรและประมง แห่งสาธารณรัฐเกาหลี เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือด้านการควบคุมคุณภาพและสุขอนามัยของสินค้าประมงและผลิตภัณฑ์ พร้อมแลกเปลี่ยนด้านกฎระเบียบ มาตรฐาน ความรู้ด้านการตรวจสอบสินค้าประมง และกำหนดให้มีการขึ้นทะเบียนสถานประกอบการที่ส่งออก และ 3.) บันทึกความเข้าใจ (MOU) ว่าด้วยความร่วมมือด้านการป้องกัน ยับยั้ง และขจัดการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม (IUU) ด้วย โดยมีเป้าหมายร่วมสร้างความร่วมมือด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการรับรองการจับสัตว์น้ำ แลกเปลี่ยนเทคโนโลยีเพื่อใช้ในการพัฒนาทรัพยากรประมง ขณะเดียวกันยังมุ่งเสริมสร้างความร่วมมือด้านงานวิจัยและการพัฒนาด้านประมง และเสริมสร้างศักยภาพของเจ้าหน้าที่ภาครัฐและชาวประมงเพื่อการทำประมงอย่างยั่งยืน
2. การหารือความร่วมมือด้านการเกษตรกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร อาหาร และกิจการชนบท (MAFRA) สาธารณรัฐเกาหลี เพื่อผลักดันให้ไทย-สาธารณรัฐเกาหลี จัดทำเอ็มโอยู ว่าด้วยความร่วมมือด้านการเกษตรระหว่างกัน จะเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการอำนวยความสะดวกทางการค้าสินค้าเกษตร แก้ไขปัญหาอุปสรรคการนำเข้า-ส่งออก และเปิดตลาดสินค้าใหม่ ผลักดันการนำเข้าและส่งออกสินค้าเกษตรระหว่างสองประเทศ ซึ่งปัจจุบันสินค้าเกษตรไทยเป็นที่นิยมของเกาหลีใต้ เช่น ผลไม้ (มะม่วง) เป็นต้น รวมทั้งถือโอกาสติดตามความก้าวหน้าการพิจารณาเปิดตลาดไก่สดแช่เย็น/แช่แข็ง ซึ่งในปัจจุบันไทยสามารถส่งออกไปได้หลายประเทศแล้ว รวมถึงมะม่วงพันธุ์มหาชนกของไทยไปเกาหลีใต้อีกด้วย
3. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบการบริหารจัดการด้านการตลาด เกาหลีใต้นับเป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีความเข้มแข็งในเรื่องการบริหารจัดการตลาดสินค้าเกษตร ซึ่งการเดินทางไปครั้งนี้จะได้เยี่ยมชมตลาดสินค้าเกษตรของเกาหลีใต้ ที่จะเป็นประโยชน์กับการนำมาปรับใช้ในการยกระดับการจัดการตลาดสินค้าเกษตรของไทยด้วย สุดท้าย คือ การเยี่ยมชมและศึกษาดูงานการบริหารจัดการน้ำของบริษัท K-Water ประเทศไทยให้ความสนใจในเรื่องเทคโนโลยีการบริหารจัดการน้ำเกาหลีใต้มีความเชี่ยวชาญและประสบความสำเร็จอย่างมาก ในเรื่องการบริหารจัดการน้ำแบบครบวงจร โดยเฉพาะระบบการควบคุมอุทุกภัย และการจัดสรรน้ำ ที่ไทยน่าจะมีโอกาสนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาพัฒนาใช้ในประเทศไทยในอนาคต
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit