จากนั้น คณะได้เดินทางต่อไปยังศาลากลางจังหวัดราชบุรี เพื่อพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ ส.ป.ก. ใน 3 จังหวัด คือ ราชบุรี กาญจนบุรี และ ประจวบคิรีขันธ์ ตามที่คสช.ได้ออกการประกาศใช้ ม.44 ดำเนินการกับผู้ครอบครองพื้นที่ ส.ป.ก. โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งผลดำเนินการในภาพรวมของประเทศ ในกรณีที่ 1 ในปัจจุบัน ได้เพิ่มเป็น 431 แปลง เนื้อที่ 437,156 ไร่ เพิ่มจากเดิม 9 แปลง ดังนี้ จ.กาญจนบุรี 3 แปลง จ.เชียงใหม่ 4 แปลง จ.เชียงราย 1 แปลง โดยแปลงที่เพิ่ม 9แปลงนี้ ได้จัดทำแผนที่แนบท้ายแล้ว ปิดประกาศแล้ว 2 แปลง (อยู่ใน จ.กาญจนบุรี) ส่วนอีก 7 แปลง ทาง ส.ป.ก.จังหวัด กำลังตรวจสอบขอบเขต จัดทำแผนที่แนบท้ายส่งให้ ส.ป.ก. ลงนาม เพื่อนำไปปิดประกาศต่อไป
โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. จ.เชียงใหม่ 5 แปลง บริษัท เชียงใหม่มิตรการเกษตร จำกัด เนื้อที่ 1,054 ไร่ บริษัท เชียงใหม่มิตรการเกษตร จำกัด เนื้อที่ 1,512 ไร่ บริษัท เชียงใหม่มิตรการเกษตร จำกัด เนื้อที่ 2,473 ไร่ บริษัท เชียงใหม่ธนาธร จำกัด เนื้อที่ 793 ไร่ ไม่ทราบผู้ครอบครอง เนื้อที่ 531 ไร่
2. จ.เชียงราย 1 แปลง นายวสันต์ ธัญธรี พันธ์ เนื้อที่ 509 ไร่
3.จ.กาญจนบุรี 1 แปลง สนามกอล์ฟไมด้า เนื้อที่ 1,749 ไร่ ติดประกาศแล้ว 424 แปลง มีผู้ยื่นคัดค้าน 45 แปลง เป็นเกษตรกรรายย่อย รวม 495 ราย จะ ตรวจสอบให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน
สำหรับในภาพรวมของ 3 จังหวัด มีพื้นที่ในกรณีที่ 1 จำนวน 26 แปลง เนื้อที่ 24,123 ไร่ จ.กาญจนบุรี 16 แปลง เนื้อที่ 17,703 ไร่ จ.ประจวบคิรีขันธ์ 1 แปลง เนื้อที่ 528 ไร่ จ.ราชบุรี 9 แปลง เนื้อที่ 6,892 ไร่ ซึ่งมีการทำประโยชน์ในการปลูกพืช เช่น มันสำปะหลัง อ้อย สับปะรด ยางพารา ปาล์ม ผลไม้ จำนวน 23 แปลง ปล่อยรกร้าง จำนวน 2 แปลง สนามกอล์ฟไมด้า จำนวน 1 แปลง ปิดประกาศแล้ว 25 แปลง เมื่อวันที่ 15 ก.ค. 59 จำนวน 13 แปลง เมื่อวันที่ 22 ก.ค. 59 จำนวน 5 แปลง เมื่อวันที่ 25 ก.ค. 59 จำนวน 7 แปลง ยังไม่ปิดประกาศ 1 แปลง คือ สนามกอล์ฟไมด้า จ.กาญจนบุรี กำลังทำแผนที่แนบท้าย มีผู้ยื่นคัดค้าน 9 แปลง (จ.กาญจนบุรี 6 แปลง, จ.ประจวบคิรีขันธ์ 1 แปลง และ จ.ราชบุรี 2แปลง) เป็นเกษตรกรรายย่อย รวม 105 ราย จะตรวจสอบให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน
อย่างไรก็ตาม ในการประชุมวันนี้ ส.ป.ก. ได้นำเสนอแนวทางการปรับปรุงพัฒนาพื้นที่ ส.ป.ก. เป็นพื้นที่ที่ยึดคืนได้ใน จ.กาญจนบุรี 1 แปลง เนื้อที่ 1,263 ไร่ ซึ่งนางเพียงใจ หาญพาณิชย์ ได้ทำหนังสือมอบคืนให้ ส.ป.ก. แล้ว ลักษณะพื้นที่ อยู่ติดถนนกาญจนบุรี-ทองผาภูมิ ห่างจาก อ.เมืองไม่มาก มีลำคลองไหลผ่าน จัดทำเป็นต้นแบบ โดยยึดรูปแบบสหกรณ์ปฏิรูปที่ดินระบำ ต.ระบำ อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี แบ่งพื้นที่ 1,263 ไร่ ให้แก่เกษตรกร 140 ครอบครัว โดยแบ่งพื้นที่เป็น 6 ส่วน ดังนี้
1. ส่วนที่พักอาศัย 140 แปลง แปลงละ 1 ไร่ รวมประมาณ 140 ไร่
2. ส่วนพื้นที่การเกษตร 140 แปลง แปลงละ 5 ไร่ 2 งาน รวมประมาณ 770ไร่
3. ส่วนพื้นที่แปลงรวม ประมาณ 242 ไร่
4. พื้นที่ส่วนกลางสำนักงานสหกรณ์ ประมาณ 39 ไร่
5. พื้นที่ส่วนกลางร้านค้าชุมชน ประมาณ 57 ไร่
6.พื้นที่แหล่งน้ำ สร้างเป็นฝายทดน้ำ จำนวน 3 แห่ง
ซึ่งการดำเนนิการต่อจากนี้ ในส่วน ส.ป.ก.จังหวัด และ หน่วยที่เกี่ยวข้อง กำลังจัดทำแผนระดับจังหวัด ตามที่ได้ประชุมเมื่อ วันที่ 26 ก.ค. 59 โดยพื้นที่ที่ยึดคืนได้ใน จ.สุราษฎร์ธานี 1 แปลง เนื้อที่ 1,160 ไร่ จะจัดสำรวจ รังวัด ออกแบบ ปรับปรุงพัฒนาพื้นที่ (ซึ่งนายสุทัศน์ คุณรักพงศ์ ได้ทำหนังสือมอบคืนให้ ส.ป.ก. แล้ว) ก่อนนำเสนอของบประมาณจากรัฐบาลในการปรับปรุงพัฒนาพื้นที่ ไร่ละประมาณ 15,000 บาท (เป็น เงินประมาณ 20 ล้านบาท) โดยรมว.เกษตรฯได้เน้นย้ำเจ้าหน้าที่ ส.ป.ก. ทั้งสามจังหวัดเรื่องการวางแผนการยึดคืนร่วมกับทุกหน่วยที่เกี่ยวข้อง จากเบาไปหาหนัก การจัดทำแนวเขต ต้องให้เจ้าของที่ข้างเคียงรับทราบ/ยินยอมด้วย การจัดบัญชีทรัพย์สินตามแบบฟอร์มของกรมบังคับคดี การถ่ายภาพ/แจ้งความดำเนินคดี การปรับปรุงพัฒนาพื้นที่ใช้รูปแบบสหกรณ์ปฏิรูปที่ดินระบำ ต.ระบำ อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี
ส่วนในช่วงบ่ายคณะได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมศูนย์การเรียนรู้/การเกษตรแปลงใหญ่ต้นแบบ (สับปะรด) ซึ่งจุดเด่นของเกษตรแปลงใหญ่ต้นแบบ (สับปะรด) พื้นที่ 1,014 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในที่ ส.ป.ก. จำนวน 88 แปลง และ นส.3 จำนวน 1 แปลง เกษตรกร 82 ราย พื้นที่อยู่ใน S3 (เหมาะสมน้อย) เป็นพื้นที่ลาดเท/เป็นดินทราย เสี่ยงต่อการชะล้างพังทลายของดิน อยู่นอกเขตชลประทาน ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ ทำให้ผลผลิตต่ำไม่ได้มาตรฐาน แต่เป็นพื้นที่ที่เหมาะสมกับสับปะรด ให้รสชาติหวาน อร่อย จึงเป็นที่นิยม จึงได้ปรับปรุงดินให้เหมาะสม ไถ่ดินตามขวางของแนวลาดชัน และ ปลูกสับปะรดแนวขวางของความลาดชัน ปรับปรุงดินด้วยปอเทือง และ ปุ๋ยอินทรีย์ จัดระบบให้น้ำครอบคลุมพื้นที่ 500 ไร่
ทั้งนี้ ศพก. ได้ให้เกษตรกรต้นแบบ คือ นายจันทร์ เรืองเรรา อบรมถ่ายทอดเทคโนโลยี ขยายเครือข่ายเป็นเกษตรแปลงใหญ่ ศพก. และ เกษตรแปลงใหญ่อยู่ด้วยกัน สามารถลดต้นทุนการผลิต ได้ร้อยละ 38.5 (ต้นทุนเดิม 6.50 บาท/กก. ลดเหลือ 4.00 บาท/กก.) เพิ่มผลผลิต ได้ร้อยละ 66.7 (ผลผลิตเดิม 4.8 ตัน/ไร่ เพิ่มเป็น 8.0 ตัน/ไร่) มีการรับรองมาตรฐาน GAP และ กำลังขอขึ้นทะเบียนเป็นสินค้า GI - ส่งเสริมการแปรรูปเพิ่มมูลค่า ซึ่งถือเป็นการนำนโยบายการปฏิรูปภาคการเกษตร ลดต้นทุนการผลิต เพิ่มโอกาสการแข่งขันมาดำเนินการ มีทุกหน่วยงานใน กษ. บูรณาการทำงานร่วมกัน เป็นรูปแบบที่นำร่องด้วย Agri-Map นำไปสู่การถ่ายทอดโดยเกษตรกรต้นแบบผ่านศูนย์การเรียนรู้ รวม เครือข่ายเป็นการเกษตรแปลงใหญ่ สามารถลดต้นทุน/เพิ่มผลผลิตได้จริง เกษตรกรยืนอยู่ได้
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit