นายวีระ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ที่ประชุมมีมติให้กรมศิลปากร กลับไปทำประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาปรับการยกร่าง พ.ร.บ. หอสมุดแห่งชาติ พ.ศ.... เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะและเพื่อความเหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อทุกภาคส่วนในการดำเนินการยกร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว เพื่อนำเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป อย่างไรก็ตาม ในเบื้องต้นที่ได้มีการนำเสนอร่างแผนยุทธศาสตร์ 4 ด้านสำหรับการพัฒนาหอสมุดแห่งชาติ ได้แก่
1.สนับสนุนและพัฒนากิจกรรมส่งเสริมการอ่านในสังคมดิจิทัล โดยออกมาตรการผลักดันการดำเนินงาน อาทิ จัดหาสื่อการอ่านเพื่อการเรียนรู้ที่มีคุณธรรม เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงหนังสือ สื่อโสตทัศนวัสดุและสื่อดิจิทัล วิจัยพัฒนากิจกรรมการอ่าน สร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมการอ่าน และพัฒนาครูและบรรณารักษ์ให้เป็นนักส่งเสริมการอ่าน รวมถึงพัฒนาสภาพแวดล้อมดิจิทัลที่เอื้อต่อการส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้
2.พัฒนาการบริการมรดกภูมิปัญญาดิจิทัลแห่งชาติ โดยออกมาตรการผลักดันการดำเนินงาน อาทิ คัดเลือกมรดกภูมิปัญญาของชาติสำหรับดิจิไทซ์ เพื่ออนุรักษ์และการเผยแพร่บริการ การสร้างคลังมรดกภูมิปัญญาแห่งชาติออนไลน์การพัฒนาโปรแกรมห้องสมุดดิจิทัลมรดกภูมิปัญญาแห่งชาติ รวมถึงพัฒนาการให้บริการและระบบการนำเสนอมรดกภูมิปัญญาดิจิทัลแห่งชาติภายในหอสมุดแห่งชาติที่มีความทันสมัย
3.พัฒนาบทบาททางด้านวิชาชีพสู่ระดับสากล โดยจะออกมาตรการผลักดันการดำเนินการ อาทิ จัดอบรมทักษะและสมรรถนะทางวิชาชีพและการจัดอบรมภาษาต่างประเทศให้กับบรรณารักษ์หอสมุดแห่งชาติ บรรณารักษ์ห้องสมุดประเภทต่างๆ และ ครูบรรณารักษ์ในโรงเรียนทั่วประเทศอย่างต่อเนื่อง รวมถึงยกระดับวารสารวิชาการหอสมุดแห่งชาติเข้าสู่ฐานข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)
และ 4. ผลักดันพ.ร.บ.หอสมุดแห่งชาติซึ่งที่ประชุมมีมติให้ทบทวนว่าร่างแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าวครอบคลุมปัญหาทุกด้านหรือไม่ และจะต้องมีการปรับแก้หรือเพิ่มเติมส่วนใดบ้างและให้นำเสนอต่อที่ประชุมในครั้งต่อไป