4 หนุ่ม มทร.ธัญบุรี ดึงสติคนไทย คิดก่อนโพสต์ ศึกษาก่อนแชร์

22 Aug 2016
กลายเป็นเรื่องราวใหญ่โตในโลก Social media สำหรับการโพสต์ภาพของข้าราชการหนุ่มคนหนึ่ง หรือว่าจะเป็นคลิประหว่างการปฏิบัติงานของหน่วยงานหนึ่ง จนกลายเป็นที่พูดถึงกันอย่างมาก และส่งผลกระทบกลับมาในทางลบกับผู้โพสต์ ในฐานะของนักศึกษาพวกเขาเหล่านี้มีความคิดเห็นกันอย่างไรบ้าง
4 หนุ่ม มทร.ธัญบุรี ดึงสติคนไทย คิดก่อนโพสต์ ศึกษาก่อนแชร์

นายวิรัช โหตระไวศยะ รองอธิการบดีด้านพัฒนานักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี เปิดเผยว่า ต้องยอมรับว่าสื่อออนไลน์เข้ามามีบทบาทและมีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตของทุกคน ไม่ว่าจะเป็นผู้ใหญ่ วัยรุ่น ตลอดวัยเด็ก ซึ่งตนเองในฐานะที่ดูแลทางด้านนักศึกษา พยายามนำสื่อออนไลน์มาใช้ ใช้ด้วยภาษาที่สุภาพ ยกตัวอย่าง ผลสำเร็จของการนำมารณรงค์โครงการการไหว้ และการแต่งกายถูกระเบียบ "แต่งกายดี มีวินัย ใส่ใจคุณธรรม มีสัมมาคารวะ" เวลาที่เจอนักศึกษา นักศึกษาจะยกมือไหว้ โดยส่วนตัวตนเองจะโพสต์ผ่านสื่อออนไลน์ 3 ประเด็นหลักๆ คือ การโพสต์ให้ข้อคิด การโพสต์ให้กำลัง ให้คำปรึกษา และการโพสต์ชื่นชมนักศึกษาที่ได้รับรางวัล ทุกวันนี้การพูดคุยสื่อสารตัวต่อตัวน้อยมาก ส่วนใหญ่นักศึกษาจะพูดคุยการสื่ออนไลน์ จึงอยากให้ครูบาอาจารย์หรืออาจารย์ที่ปรึกษา ใช้สื่อออนไลน์เป็นเครื่องมือช่วยในการให้คำปรึกษา แต่ข้อควรระวังควรใช้ภาษา ถ้อยคำที่สุภาพ เพราะว่าทุกวันนี้สังคมไทยวุ่นวาย น่าเป็นห่วง อยากให้เป็นสังคมไทยที่เอื้ออาทรให้กันและกัน

อุปนายกองค์การนักศึกษาคนที่ 1 "แป๊ะ" นายเอกศักดิ์ วิสฤตาภา นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาอุตสาหกรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ เล่าว่า ไม่รู้ว่า Social media กลายเป็นปัจจัยที่ 5 ของตนเองตั้งแต่เมื่อไร เพราะว่า ตนเองต้องโพสต์รูปภาพและข้อความลงทุกวัน ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นรูปภาพในการทำกิจกรรมขององค์การนักศึกษา จุดประสงค์ของการโพสต์ภาพ ตนเองอยากให้รุ่นน้องได้เห็นถึงการทำกิจกรรม และมาทำกิจกรรมกันเยอะๆ มีบ้างที่โพสต์ข้อความบ่นในการทำงาน แต่จะระมัดระวังให้มากที่สุด นอกจากนี้ยังเอาไว้คุยกับพ่อและแม่ เพราะว่า พ่อแม่ของตนเองเล่นด้วย ทุกคนรับรู้เกี่ยวกับภัยของ Social media ฉะนั้นต้องระมัดระวัง ซึ่งตอนนี้มีกฎหมาย พรบ.คอมพิวเตอร์ ออกมา ขอให้ทุกคนจงระมัดระวัง

ทางด้านฝ่ายประธานรับฟังความคิดเห็น สภานักศึกษา มทร.ธัญบุรี "ฮิว" นายรัฐพล ฉิมมี นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เล่าว่า สื่อ Social media เป็นช่องทางที่ได้รับความนิยมและเข้าถึงวัยรุ่นได้ดีที่สุด สามารถทำให้เด็กธรรมดาหนึ่งคน กลายเป็นเน็ตไอดอลภายในค่ำคืน หรืออาจกลายเป็นผู้ร้ายภายในค่ำคืน ฉะนั้นควรมีสติในการทำอะไรก็ตาม ควรพิจารณาให้ดี ไม่ควรคิดเพียงอยากเป็นผู้นำ ต้องการความเห็นอกเห็นใจ ที่สำคัญคลิปขายของที่ลงในโลกออนไลน์ควรมีความพอดี ไม่หลอกลวงผู้บริโภค

"แบงค์" นายอภิสิทธิ์ ต้นสกุล นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยศึกษา คณะศิลปกรรมศาสตร์ รองประธานฝ่ายนักศึกษาสัมพันธ์ องค์การนักศึกษา เล่าว่า ในการโพสต์ facebook ทุกคนชอบคิดว่าเป็นพื้นที่ส่วนตัวของตนเอง แต่จริงๆ แล้ว facebook เป็นพื้นที่สาธารณะ ถ้าไม่ได้ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว จะทำให้เพื่อนใน facebookสามารถเห็นข้อความที่โพสต์ลงไป ฉะนั้นจะทำอะไรควรมีการคิดก่อนโพสต์ จะได้ไม่ส่งผลต่อตัวเองภายหลัง โดยตัวอย่างมีให้เห็นทุกวันในสังคมไทย ทั้งเรื่องของความรู้สึกต่างๆ ที่ไปสะกิดใจของคนไทยหลายๆ คน รวมไปจนถึงเรื่องความละเอียดอ่อนของความรู้สึก ยิ่งคนเราได้ไปพบไปเจออะไรมา ปัจจุบันต้องโพสต์ เพื่อให้คนอื่นเข้ามาแสดงความคิดเห็น หรือกดไลท์กดแชร์ ตนเองยอมรับว่าเป็นหนึ่งคนที่ชอบกดแชร์ข่าวสารที่เกิดขึ้น แต่ตนเองจะเข้าไปอ่านกระทู้ทุกครั้งก่อน เพื่อหาข้อมูลความเป็นจริงก่อนที่จะแชร์ออกไป เพราะว่าถ้าเรื่องที่ตนเองแชร์ไปถ้าไม่จริง อาจจะก่อให้เกิดความเสียหายส่วน "ออย" นายธนภัทร ยอดสุข นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ประธานชมรมวิทยุสมัครเล่น มทร.ธัญบุรี เล่าว่า การที่จะโพสต์อะไรมันเหมือนดาบ 2 คม ถ้าโพสต์ในทางสร้างสรรค์จะส่งผลดีต่อตัวเราเอง ทำให้คนที่เห็นรู้สึกดี ซึ่งส่วนตัวจะโพสต์จะโพสต์เรื่องที่ไม่กระทบต่อคนอื่นๆ ที่เห็น "โพสต์เรื่องที่เราสบายใจ คนอื่นจะสบายใจไปด้วย" จงพึงคิดเสมอว่า เรื่องในใจที่เราโพสต์ลงไปใน facebook ต่อไปจะไม่ไปเป็นเรื่องในใจ สิ่งดีๆ ในสังคมไทย เป็นสิ่งที่ดี ควรจะกดแชร์กดไลท์ แต่สิ่งที่ไม่ดี ไม่ควรจะส่งเสริม

อย่างไรก็ตามก่อนที่จะโพสต์หรือแชร์อะไรลงไปในโลก Social media สิ่งใดที่ไม่สร้างสรรค์ และเป็นการทำลาย หรือกระทบคนอื่น ไม่ควรจะโพสต์ ฉะนั้นคิดก่อนโพสต์ ศึกษาก่อนแชร์กันด้วยนะจ๊ะ

HTML::image( HTML::image( HTML::image(