นพ.ศรายุธ อุตตมางคพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จ.อุบลราชธานี (สคร.10) เปิดเผยว่า โรคไข้ฉี่หนู หรือโรคเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) เป็นโรคที่พบได้ตลอดปี แต่จะพบมากในช่วงฤดูฝน เนื่องจากมีฝนตกหนัก น้ำขังเฉอะแฉะ เอื้อต่อการแพร่ระบาดของเชื้อโรค ข้อมูลจากกลุ่มระบาดวิทยา พบว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง วันที่ 13 สิงหาคม 2559 ได้รับรายงานผู้ป่วยโรคไข้ฉี่หนู จำนวนทั้งสิ้น 252 ราย เสียชีวิต 6 ราย กลุ่มอายุที่พบผู้ป่วยสูงสุด คือ กลุ่มอายุ 45 - 54 ปี ส่วน อาชีพที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงสุด คือ อาชีพเกษตร 163 ราย ซึ่งจังหวัดที่พบผู้ป่วยมากที่สุด คือ จังหวัดศรีสะเกษ พบผู้ป่วย 165 ราย รองลงมาคือ จังหวัด อุบลราชธานี 60 ราย, จังหวัด ยโสธร 17, จังหวัดอำนาจเจริญ 8 ราย และจังหวัด มุกดาหาร 2 ราย ตามลำดับ
นพ.ศรายุธ กล่าวต่อไปว่า โรคฉี่หนู เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน สัตว์หลายชนิดเป็นสัตว์รังโรค เช่น หนู โค กระบือ สุกร สุนัข แมว เป็นต้น แต่หนูเป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ เพราะเชื้อโรคที่อยู่ในฉี่หนูจะปนเปื้อนอยู่ในน้ำและอยู่ในดินโคลนชื้นแฉะ เชื้อจะเข้าทางแผล รอยผิวหนังถลอก หรือผิวหนังที่แช่น้ำนานๆ กลุ่มเสี่ยงสำคัญ เช่น ชาวนา ชาวสวน ชาวไร่ เกษตรกร ผู้เลี้ยงสัตว์ คนงานโรงฆ่าสัตว์ กรรมกรขุดลอกคูคลอง เป็นต้นทั้งนี้ ขอความร่วมมือทุกภาคส่วนร่วมดำเนินการป้องกันโรคฉี่หนูตามมาตรการ 4 ลด ได้แก่ 1.ลดหนู โดยเก็บอาหารที่กินเหลือหรือขยะให้มิดชิด ทำลายขยะอย่างถูกวิธี 2.ลดการสัมผัส โดยการใส่รองเท้าบู๊ทหรือเครื่องป้องกันอื่นๆ ล้างตัวให้สะอาดและซับให้แห้งเมื่อไปสัมผัสน้ำท่วมขัง 3.ลดการเสียชีวิต โดยสังเกตอาการ ถ้ามีไข้ ปวดศีรษะรุนแรง ปวดกล้ามเนื้อ (โดยเฉพาะที่โคนขาหรือน่อง) หลังจากแช่น้ำย่ำที่ชื้นแฉะ ภายใน 7 วัน ให้สงสัยว่าเป็นโรคนี้รีบไปพบแพทย์ เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง 4.ลดการระบาด โดยให้ผู้นำชุมชน อสม. สังเกตว่ามีผู้ป่วยที่สงสัยว่าจะเป็นโรคนี้แม้เพียงรายเดียวให้แจ้งเจ้า หน้าที่สาธารณสุข เพื่อรีบดำเนินการสอบสวนและควบคุมโรคไม่ให้แพร่ระบาดต่อไป หากประชาชนต้องการ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสามารถโทรสอบถามได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร.1422
HTML::image( HTML::image( HTML::image(ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit