แม้ว่าในสถานการณ์การลงทุนที่มีความผันผวนสูง บริษัทฯได้ปรับกลยุทธ์การลงทุนและเพิ่มทางเลือกการลงทุนในหลากหลายรูปแบบ ทำให้นักลงทุนได้รับผลตอบแทนในระดับที่น่าพอใจและมีความเชื่อมั่นในการลงทุนมากขึ้น อาทิเช่น กองทุนที่เน้นสร้างรายได้ระหว่างทางจากการลงทุนเพื่อทดแทนกองทุนตราสารหนี้ที่ปัจจุบันให้ผลตอบแทนค่อนข้างต่ำ เช่น กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ โกลบอล อินฟราสตรัคเจอร์ อิควิตี้ (SCBGIF)กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ โกลบอล อินคัม พลัส (SCBGPLUS) และกองทุนเปิดไทยพาณิชย์ อินคัมพลัส (SCBPLUS) หรือกองทุนที่บริหารโดยใช้กลยุทธ์การป้องกันความเสี่ยง (Hedge Strategy) มาช่วยลดความผันผวนของตลาด ที่เรียกกันว่า "Absolute Return" เช่น กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ สมาร์ท เทรด 555 ฟันด์ เอ เป็นกองทริกเกอร์ที่สามารถสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนในทุกสภาวะตลาด ไม่ว่าจะเป็นตลาดขาขึ้น ขาลง หรือ side-way ไม่จำเป็นต้องอาศัยการจับจังหวะการลงทุน Market Timing แบบกองทริกเกอร์ที่ผ่านมา เนื่องจากใช้ตราสารอนุพันธ์ในการบริหารความเสี่ยงจากปัจจัยของตลาด โดยทริกครั้งแรกเมื่อ 20 มิถุนายน 2559 จากความสำเร็จทำให้มีความต้องการลงทุนต่อเนื่อง ประกอบกับสภาวะตลาดที่เหมาะสม บริษัทฯ จึงเตรียมเสนอขายกองทุนเปิดไทยพาณิชย์ สมาร์ท เทรด 555 ฟันด์ บี ในวันที่ 23-25 สิงหาคม2559 นี้ เพื่อสนองความต้องการดังกล่าว
นอกจากนั้น มีการวางกลยุทธ์การลงทุนแบบ "Thematic Investment" เพื่อหาช่องทางสร้างผลตอบแทนในหุ้นรายตัวที่เข้ากับธีมการลงทุนที่วางไว้ เช่น กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ โกลบอล ดิจิตอล (SCBDIGI) กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ ยูเอส สมอลแคป (SCBUSSM) กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ ยุโรป สมอลแคป (SCBEUSM) และกองทุนเปิดไทยพาณิชย์ หุ้นโกลบอลเฮลธ์แคร์ (SCBGHC) ซึ่งกองทุนเหล่านี้ บริษัทฯมองว่าเป็นธีมการลงทุนที่มีศักยภาพเติบโตได้ในระยะยาว จึงเป็นแนวทางการลงทุนที่จะแนะนำสำหรับช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้ไปจนถึงปีหน้า
นายสมิทธ์กล่าวว่า นอกจากความพยายามตอบโจทย์นักลงทุนเรื่องกองทุนแล้ว เรายังคำนึงถึงการดำเนินการที่เป็นประโยชน์ด้านอื่นให้กับนักลงทุนอย่างต่อเนื่อง เช่น บริษัทฯ ได้ดำเนินการขออนุมัติจากผู้ถือหน่วยลงทุนในการควบรวมกองทุนทั้งกลุ่มกองทุนหุ้น กองผสม กองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่มีนโยบายการลงทุนคล้ายกัน เพื่อทำให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการกองทุนที่ดีขึ้นและลดค่าใช้จ่ายของกองทุนทำให้ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับประโยชน์สูงสุด โดยขณะนี้ได้รับมติเห็นชอบในการควบรวมแล้ว ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการตามขั้นตอนการควบรวมกับสำนักงานคณะกรรมการ กลต. และบริษัทฯยังอยู่ระหว่างดำเนินการแปลงสภาพกองทุนอสังหาริมทรัพย์ (กอง 1) เป็นหน่วยทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs) ซึ่งถือเป็นกองทุนแรกในอุตสาหกรรม
ในด้านการให้บริการ บริษัทฯเป็นผู้ริเริ่ม Call back verification ในกระบวนการหลังเสนอขายกองทุนอย่างต่อเนื่องเพื่อให้มั่นใจว่านักลงทุนเข้าใจในสิ่งที่ตนลงทุนอย่างถูกต้องและเหมาะสม ด้วยวิธีการติดต่อสอบถามจากเจ้าหน้าที่ Call center ซึ่งมีใบอนุญาตผู้แนะนำการลงทุนหรือผู้วางแผนการลงทุนและบริษัทฯ ได้ปรับปรุง Website ใหม่ ให้มีภาพลักษณ์ทันสมัยและอำนวยความสะดวกด้านข้อมูล ให้สามารถศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนได้ง่ายขึ้น โดยรวบรวมรายละเอียดกองทุน การเผยแพร่บทความ เกี่ยวกับ ความรู้เรื่องสภาวะเศรษฐกิจและการลงทุน ตลอดจนข่าวสารต่างๆ ให้กับนักลงทุนทราบอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งยังพัฒนาการให้บริการข้อมูลPrivate Fund ผ่านทาง Website โดยลูกค้าสามารถเรียกพอร์ตการลงทุน (Portfolio) หรือรายงานสถานะการลงทุน (Statement) หรืองบการเงินด้วยตนเองได้ รวมทั้งบริษัทฯได้ให้ความสำคัญกับการให้ความรู้แก่ผู้ถือหน่วยโดยตรง โดยตั้งเป้าจัดงานสัมมนาให้ความรู้ผู้ลงทุนอย่างต่อเนื่องทุกเดือนอีกด้วย
"ในช่วงเวลาที่เหลือจากนี้จนถึงสิ้นปีก็ยังถือเป็นเรื่องท้าทายที่ทีมงานบลจ.ไทยพาณิชย์ต้องสานต่อ เพื่อให้เกิดความสำเร็จแบบยั่งยืน เรายังคงมีนโยบายขยายฐานลูกค้ารายใหม่ผ่านกองทุนรวม กลุ่มลูกค้ารายบุคคลสำหรับกองทุนส่วนบุคคล รวมทั้งกลุ่มลูกค้าองค์กรสำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยให้ความสำคัญกับการนำเสนอการจัด Asset allocation ให้เหมาะสมกับระดับการยอมรับความเสี่ยง และผลตอบแทนการลงทุนที่คาดหวังของนักลงทุนเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด และสามารถขยายเป้าหมายการลงทุนไปยังกองทุนที่มีความซับซ้อนมากขึ้นเพื่อเพิ่มโอกาสให้นักลงทุนได้รับผลตอบแทนสูงขึ้น รวมถึงการแนะนำ Employee's choices ให้กับสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ" นายสมิทธ์กล่าว
ทั้งนี้ ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2559 (ณ 30 มิถุนายน 2559) บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด มี AUM รวม 1,291,842 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 128,763 ล้านบาท จากสิ้นปี 2558 อยู่ที่ 1,163,079 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโต 11.1% ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ในปี2559 ทั้งปีที่ 100,000 ล้านบาท โดยธุรกิจกองทุนส่วนบุคคล (Private Fund) มี AUM สูงถึง 310,205 ล้านบาท เติบโต 26.6% จากสิ้นปี 58 อยู่ที่ 245,035 ล้านบาท มีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นเป็น 44.2% ขณะที่ธุรกิจกองทุนรวมมี AUM อยู่ที่ 865,347 ล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้มีมูลคาของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และโครงสร้างพื้นฐาน 142,468 ล้านบาท ส่วนธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมี AUM อยู่ที่ 116,290 ล้านบาท (ที่มา : สมาคมบริษัทจัดการลงทุน)
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit