ผศ.ดร.ศิริชัย เปิดเผยว่า ในการเก็บทะลายปาล์มน้ำมันจากต้นปาล์มน้ำมันที่มีอายุมากนั้น จะต้องใช้กำลังคนในการตัดและเก็บจำนวนมาก เนื่องจากต้นปาล์มน้ำมันมีความสูงมากกว่า 8 เมตร ต้องใช้เคียวด้ามยาวในการตัด ซึ่งการใช้งานเคียวสำหรับตัดนั้น ผู้ใช้จะต้องมีทักษะในการทำงานสูง อีกทั้งยังต้องใช้แรงงานจำนวนมาก เพื่อช่วยในการพยุงเคียวและบังคับเคียวให้ตัดได้ถูกตำแหน่ง ความสูงของต้นปาล์มน้ำมัน เป็นอุปสรรคที่ทำให้ไม่สามารถกำหนดตำแหน่งการตัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและอาจทำให้ทะลายปาล์มน้ำมันที่ถูกตัดเสียหายจากการตัด ทำให้ทะลายปาล์มน้ำมันมีคุณภาพลดลง การขนส่งเป็นอีกหนึ่งปัญหาในเการเก็บทะลายปาล์มน้ำมัน เนื่องจากสภาพพื้นที่ปลูก กว่าร้อยละ 70 เป็นพื้นที่ลาดชัน สภาพเอียงสูง เป็นแอ่งบางส่วน หากมีฝนตกจะเกิดเป็นดินโคลนยากลำบากต่อการเก็บและขนส่ง
ทีมงานผู้วิจัยจึงออกแบบ และพัฒนาตัดและเก็บทะลายปาล์มน้ำมันแบบเอนกประสงค์ขึ้นมา เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการขนส่ง การตัด และเก็บ ทะลายปาล์มน้ำมัน อย่างบูรณาการระหว่างระบบขับเคลื่อนกับระบบยก ระบบเท และเก็บทะลายปาล์มน้ำมัน ที่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีความสามารถในการช่วยยกตัว ผู้ตัดทะลายปาล์มน้ำมัน ให้สูงขึ้นจากพื้นดิน4.5 เมตร ทำให้มีความสามารถขับเคลื่อนไปได้ในสภาพพื้นที่ที่เป็นอุปสรรค ด้วยความเร็วสูงสุด 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีความสามารถในการช่วยยกตัวผุ้ตัดทะลายปาล์มน้ำมันให้สูงขึ้นจากพื้นดิน 1.7 – 4.5 เมตร อีกทั้งยังมีความสามารถในการเคลื่อนย้ายทะลายปาล์มน้ำมันจากพื้นดินขึ้นสู่กระบะบรรทุก ด้วยการใช้ชุดคีบ ที่มีรัศมีการทำงาน 3.5 เมตร และสามารถบรรทุกทะลายปาล์มน้ำมันเพื่อการขนย้ายได้ถึง 1.5 ตัน โดยเลือกใช้เทคโนโลยีที่สารมารถทำงานได้จริงตรงกับวัตถุประสงค์ และสามารถลดแรงงานลงมากกว่า 50 - 60 %
จากการวิเคราะห์ในกรณีที่เกษตรนำรถตัดและเก็บทะลายปาล์มน้ำมันเอนกประสงค์ มาเปรียบเทียบกับการตัดและเก็บด้วยแรงงานคนที่มีค่าแรง 300,000 บาทต่อพื้นที่ปลูก 100 ไร่ แต่หากใช้รถตัดและเก็บทะลายปาล็มน้ำมันเอนกประสงค์จะมีค่าใช้จ่ายเหลือเพียง 260,000 บาท และลดคนงานจาก 5 คน เหลือเพียง 2 คน อย่างไรก็ตามหากมีการใช้งานรถตัด และเก็บทะลายปาล์มน้ำมันเอนกประสงค์ ในพื้นที่ปลูกมากกว่า 100 ไร่ จะทำให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนได้มากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับค่าจ้างแรงงานในการตัด และเก็บด้วยแรงงานคนปกติ วันละ 300 บาทจำนวน 5 คน จะเห็นว่าต้นทุนในการใช้งานของเกษตรกรจะลดลงเมื่อพื้นที่การใช้งานเกษตรกรมากขึ้น
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ผศ.ดร.ศิริชัย ต่อสกุล081 701 6136
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit