Pete’s Dragon ภาพยนตร์จากดีสนีย์ใช้ Adobe Creative Cloud (อะโดบี ครีเอทีฟคลาวด์) เป็นเครื่องมือเบื้องหลังความสำเร็จ

31 Aug 2016
โดย นางสาวมิเชล แกลลินา, ผู้จัดการด้านการตลาดอาวุโสของครีเอทีฟคลาวด์, อาฟเตอร์เอฟเฟ็กต์, คาแร็คเตอร์ แอนนิเมเตอร์
Pete’s Dragon ภาพยนตร์จากดีสนีย์ใช้ Adobe Creative Cloud (อะโดบี ครีเอทีฟคลาวด์) เป็นเครื่องมือเบื้องหลังความสำเร็จ

เกรซ เจ้าหน้าที่ป่าไม้คิดว่า เรื่องที่พ่อของเธอเล่าว่า มีมังกรอาศัยอยู่แถบแปซิฟิคตะวันตกเฉียงเหนือเป็นเพียงแค่นิทาน จนกระทั่งเธอได้พบกับเด็กกำพร้าลึกลับที่ชื่อพีทวัยเพียง 10 ขวบที่เล่าว่าเขาอาศัยอยู่ในป่ากับมังกรตัวเขียวชื่อว่าเอลเลียต พีทคือใคร มาจากไหน แล้วเอลเลียตจริงๆ แล้วคืออะไรกันแน่?

เกรซและผู้ชมทุกท่านถูกเชิญให้เข้าไปพบกับมิตรภาพระหว่างเด็กน้อยคนหนึ่งกับมังกรที่เปลี่ยนชีวิตของพวกเขา ในภาพยนตร์เรื่อง Pete's Dragon ของดีสนีย์ ที่เข้าฉายในโรงภาพยนตร์เดือนนี้

นักเขียนและผู้กำกับเดวิด โลเวอรีย์ ที่สร้างชื่อจากภาพยนตร์อิสระเรื่อง Ain't Them Bodies Saints ได้นำภาพยนตร์คลาสสิคของดีสนีย์ที่ถูกสร้างขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ. 2517 มารีเมคให้กับผู้ชมในยุคปัจจุบัน ด้วยการเน้นไปที่ความสัมพันธ์ในวัยเยาว์ของพีทกับมังกร ภาพยนตร์ดั้งเดิมในปี พ.ศ.2517 ถูกสร้างเป็นการ์ตูนสองมิติ แต่ในเวอร์ชั่น พ.ศ. 2559 นี้ มังกรเอลเลียตถูกสร้างแบบสามมิติด้วยคอมพิวเตอร์แต่ทำให้ผู้ชมรู้สึกเหมือนสามารถสัมผัสขนปุยๆ ของเอลเลียตได้เลย

การนำเรื่องราวของพีทกับเอลเลียตมานำเสนอกับผู้ชมในยุคปัจจุบันต้องทำให้เหมือนจริง ด้วยการผสมผสานระหว่างการแสดงจริงกับตัวละครที่สร้างขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์ (CGI) ซึ่งสามารถทำให้สำเร็จได้ด้วยการวางแผนและการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดของทุกคนที่ทำงานเบื้องหลัง ซึ่งAdobe Creative Cloud มีบทบาทสำคัญในส่วนนี้ ด้วยการใช้พลังความสามารถของโปรแกรม Adobe Photoshop CC, Adobe Premiere Pro CC และ Adobe After effects CC ในการเตรียมวางแผนงานด้านภาพและมุมกล้อง และการปรับแต่งภาพก่อนและหลังการถ่ายทำ ทำให้ผู้กำกับโลเวอรี่สามารถทำการตัดต่อภาพยนตร์แบบคร่าวๆ ได้เพื่อให้มั่นใจว่าเขาได้งานที่ต้องการครบถ้วนระหว่างกำลังทำการถ่ายทำในแต่ละครั้ง

เพื่อให้เข้าใจว่า Adobe Crative Cloud ช่วยให้ทีมงานนักสร้างสรรค์เห็นภาพที่ต้องการในภาพยนตร์เรื่อง Pete's Dragon ตรงกันได้อย่างไร อะโดบีได้สัมภาษณ์ผู้กำกับ: เดวิด โลเวอรี่, โปรดิวเซอร์: จิม วิทเทเกอร์, ซูเปอร์ไวเซอร์ด้านพรีวิชวลไลเซชั่น: สจ๊วต อัลเลน และCreative Art Director ด้านวิชวลเอฟเฟคต์ของ Weta Digital: จิโน อะเซเวโดอะโดบี: ทำไมถึงสนใจทำหนังเรื่อง Pete's Dragon

วิทเทเกอร์ (โปรดิวเซอร์) : ภาพยนตร์เรื่อง Pete's Dragon เรื่องนี้ เป็นเรื่องของความสัมพันธ์และพลังของมิตรภาพระหว่างเด็กชายคนหนึ่งกับมังกร และผมก็ถูกดึงดูดด้วยความสัมพันธ์อันงดงามระหว่างพีทกับเอลเลียตในทันทีที่ผมได้อ่านสคริป ผมรู้เลยว่าเรามีภาพยนตร์ที่ยอดเยี่ยมอยู่ในมือ

โลเวอรี่ (ผู้กำกับ): ภาพยนตร์สำหรับเด็กมีความสำคัญ เพราะมันมีผลต่อชีวิตของพวกเขา ผมรู้สึกตื่นเต้นจริงๆ กับไอเดียในการสร้างภาพยนตร์ที่จะเติบโตไปพร้อมกับพวกเด็กๆ เมื่อพวกเขาได้ชมมันในครั้งแรก พวกเขาจะตื่นเต้นไปกับภาพและความมหัศจรรย์ สามารถสัมผัสถึงอารมณ์และประสบการณ์ของพีท และเมื่อพวกเขาเติบโตขึ้น พวกเขาจะพบว่ายังมีเรื่องราวอื่นๆ ในภาพยนตร์ที่สามารถนำมาใช้ได้อะโดบี: การทำวิชวลไลเซชั่นช่วยในการสร้าง Pete's Dragon อย่างไรบ้าง

วิทเทเกอร์: เอลเลียตอาจเป็นเพียงแค่มังกรตัวหนึ่ง แต่การแสดงอารมณ์ความรู้สึกของมันจะต้องเหมือนคนจริงๆ คุณต้องเชื่อได้ว่ามันมีชีวิตอยู่จริง การทำพรีวิชวล (Previsualization) เป็นเรื้องสำคัญในการทำภาพยนตร์ประเภทนี้ เพราะว่า เอลเลียตไม่มีอยู่จริง ดังนั้น ทีมงานและตัวแสดงจำเป็นต้องรู้ว่าเอลเลียตหน้าตาเป็นอย่างไร เคลื่อนไหวอย่างไร

อัลเลน (ซูเปอร์ไวเซอร์ด้านพรีวิชวลไลเซชั่น): : ถ้าเรารู้รายละเอียดล่วงหน้า เช่น เอลเลียตตัวใหญ่แค่ไหน หน้าตาเป็นอย่างไร แสดงออกแบบไหน เราจะประหยัดเงินและเวลาในการถ่ายทำไปได้เยอะมาก การเตรียมงานที่ถูกต้องก่อนการถ่ายทำจริงช่วยให้ทีมงานทุกคนเข้าใจตรงกัน ลดความสับสนในการถ่ายทำไปได้ ซึ่งเรื่องนี้มีส่วนอย่างมากในการควบคุมงบประมาณ และตารางการถ่ายทำให้อยู่ในแผนที่กำหนดเอาไว้

การทำโพสวิชวล (Postvisualization) ก็มีความสำคัญเช่นกัน เพราะนี่คือการเพิ่มความสมบูรณ์ให้กับสิ่งที่ถ่ายทำมาแล้ว เราสามารถทดลองสร้างจังหวะการเคลื่อนไหว เปลี่ยนมุมมอง ใส่ตัวละครดิจิตอลลงไป เพื่อเป็นทางเลือกเพิ่มเติมในการเล่าเรื่องของผู้กำกับและทีมผลิตอะโดบี: แล้วมีการใช้โปรแกรมของอะโดบีมาช่วยในกระบวนการทำวิชวลไลเซชั่นอย่างไรบ้าง

อัลเลน: การทดลองมีความสำคัญอย่างมากในกระบวนการทำพรีวิชวล เราต้องค้นหาทางเลือกต่างๆ ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อที่จะได้งานตรงตามที่ผู้กำกับต้องการ เราใช้ Premiere Pro CC ในกระบวนการตั้งแต่การพรีวิชวลจนถึงโพสต์วิชวล เราสามารถเปลี่ยนลำดับภาพได้อย่างรวดเร็วเมื่อผู้กำกับหรือทีมโปรดักชั่นมีไอเดียใหม่ๆ และสามารถรวมวิชวลจากแหล่งที่มาต่างๆ กัน เช่น จากฟุตเทจที่ไปถ่ายทำ, จากหุ่นสามมิติที่สร้างขึ้น (3D Models), จาก Photoshop Layers เพื่อให้ได้เอฟเฟ็กต์อย่างที่เราต้องการ

ในเรื่อง Pete's Dragon นี้ เราใช้ Photoshop CC และ After Effects CC พอสมควรระหว่างการทำวิชวล ผู้กำกับท้าทายเราให้หาทางทำให้เอลเลียตหายตัวและแสดงตัวแบบหลากหลาย เราใช้การเรนเดอร์เลเยอร์ใน Photoshop เพื่อสร้างผลในแบบต่างๆ แล้วเอาไปทำงานต่อใน After Effects

เมื่อการทำพรีวิชวลเสร็จสมบูรณ์ เราใช้ Adobe Illustrator CC เพื่อสร้างไดอะแกรมสำหรับใช้ในการถ่ายทำ ไดอะแกรมนี้จะบอกว่า กล้องควรอยู่ตรงไหน อยู่สูงเท่าไหร่ เคลื่อนกล้องไปทางใด และรายละเอียดปลีกย่อยอื่นๆเพื่อให้ทีมงานใช้ทำงานจริงได้สะดวกขึ้นอะโดบี: ช่วยเล่าเกี่ยวกับการทำให้มังกรมีชีวิตหน่อยได้ไหม

อะเซเวโด (Creative Art Director ด้านวิชวลเอฟเฟคต์ของ Weta Digital):: ปกติเราคิดว่ามังกรต้องน่ากลัว แต่ในเรื่องนี้เราต้องการสร้างสิ่งมีชีวิตที่สามารถเป็นเพื่อนกับเด็กๆได้ และเมื่อมังกรไม่สามารถพูดได้ เราจึงต้องทำให้มังกรแสดงออกทางอื่น เราออกแบบตัวละครอย่างละเอียดมาก หู ตา และขนถูกทดลองสร้างจนกว่าจะออกมาดูดี เราใช้ Adobe Photoshop CC ในการออกแบบมากจริงๆ ผมสามารถเพิ่มเลเยอร์และใส่เอฟเฟคต์เพื่อสร้างทางเลือกได้อย่างรวดเร็ว และเมื่อเราต้องการความสมจริง ผมหาข้อมูลจากสิ่งมีชีวิตจริงเพื่อมาใช้สร้างมังกร เช่น ผมรู้ว่าจะมีฉากที่เห็นเท้าของเอลเลียต ผมจึงหาภาพอ้างอิงของเล็บและอุ้งเท้าของสุนัขมาปรับใช้ เพื่อเอามาทำเป็นเลเยอร์อ้างอิงในการสร้างรายละเอียด โปรแกรม Adobe Photoshop เป็นส่วนสำคัญในกระบวนการสร้างสรรค์ เพราะว่าคุณสามารถทดลองทำอะไรหลายๆ แบบได้ ก่อนที่จะสรุปเป็นงานชิ้นสุดท้ายอะโดบี: คุณทำให้ทีมงานและนักแสดงเห็นภาพที่คุณต้องการได้อย่างไร

โลเวอรี่: มีศิลปินจากหลากหลายสาขามาทำงานร่วมกันเพื่อสร้างงาน คุณต้องทำให้ทุกคนเข้าใจทุกอย่างตรงกัน สำหรับผม โปรแกรมในชุดAdobe Creative Cloud มีส่วนสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อผมต้องการให้ทุกคนเข้าใจว่าผมอยากได้อะไร ถ้าผมอยากได้ช็อตที่รถบรรทุกวิ่งข้ามสะพาน จากนั้นก็เฟดไปเป็นช็อตที่ช่างไม้กำลังแกะสลักไม้ ผมสามารถทำได้ใน Photoshop จากนั้นก็ลากชิ้นงานไปใส่ใน After Effects เพื่อทำแอนิเมชั่น แล้วส่งไฟล์ไปให้ศิลปินที่ Weta Digital แล้วบอกว่า "นี่คือสิ่งที่ผมอยากให้เป็น" การทำแบบนี้ช่วยลดความสับสนและประหยัดเวลาในการสื่อสารไปได้มาก

ในภาพยนตร์เรื่องนี้ การสื่อสารกับนักแสดงที่ต้องเล่นกับตัวแสดงร่วมที่ไม่มีอยู่จริงอาจจะยากกว่านี้ แต่เมื่อผมสามารถเปิด After Effects แสดงภาพที่ทำการซ้อนตัวละครอนิเมชั่นเข้ามาให้นักแสดงอย่าง Robert Redfort, Bryce Dallas Howard หรือนักแสดงคนอื่นๆ ได้เห็นภาพว่าพวกเขากำลังทำการแสดงกับอะไร และตัวละครแอนิเมชั่นจะตอบสนองอย่างไร มันทำให้พวกเขาเข้าใจและทำการแสดงได้ดี ผมยังใช้ Premiere Proตัดต่อสดๆ ได้ ผมชอบตัดต่อระหว่างการถ่ายทำเพราะผมจะได้แน่ใจว่าผมได้ช็อตที่ผมต้องการ Premiere Pro เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับผม ใช้งานง่ายและมีความยืดหยุ่น ผมสามารถโหลดฟุตเทจของวันนี้ใส่แล็ปท็อป ตัดต่ออย่างรวดเร็วเพื่อให้มั่นใจว่างานเป็นไปตามแนวทางที่ต้องการอะโดบี: ช่วยยกตัวอย่างว่า Premiere Pro ช่วยอะไรคุณได้บ้างระหว่างการถ่ายทำ

โลเวอรี่: มีซีนนึงที่มีตัวแสดงเป็นเด็กสองคนคือ พีทกับนาตาลี ตกมาจากต้นไม้ใหญ่มาก ผมกังวลมากเพราะว่าเด็กสองคนต้องลอยลงมาจากความสูง 75 ฟุต ซีนนี้ต้องมีการผูกเคเบิ้ลและการเตรียมตัวอย่างมาก และคุณมีเวลาแค่ห้าชั่วโมงต่อวันในการทำงานกับเด็กๆ เพราะพวกเขาต้องไปโรงเรียน เวลาการถ่ายทำน้อยกว่าปกติมาก ดังนั้น ประสิทธิภาพคือสิ่งสำคัญ หลังจากการถ่ายทำซีนนั้นสองวัน ผมไม่ค่อยมั่นใจว่าเราได้ทุกอย่างครบตามต้องการแล้วหรือยัง ขณะที่เราเหลือเวลาถ่ายอีกแค่เพียงวันเดียว ผมใช้โปรแกรม Premiere Pro ตัดฟุตเทจทั้งหมดเข้าด้วยกันคร่าวๆ ทำให้ผมรู้ว่ายังมีปัญหาบางอย่างอยู่ มันเยี่ยมมากที่ผมสามารถรู้ได้ว่าเรายังต้องการถ่ายเพิ่มอีกตรงไหนอย่างไรบ้างในอีกหนึ่งวันที่เหลือ และนี่ทำให้เราได้ซีนที่ยอดเยี่ยมโดยที่ไม่ต้องเสียเวลามากกว่าหนึ่งวันในการถ่ายเพิ่ม และไม่ต้องเสียงบประมาณในการถ่ายใหม่อะโดบี: เห็นภาพตัวเองใช้งาน Adobe Creative Cloud ทำงานในอนาคตหรือไม่

วิทเทเกอร์: สำหรับการทำพรีวิชวล ผมต้องใช้แน่นอน เพราะเป็นเรื่องจำเป็นอย่างมากในการเตรียมงานภาพยนตร์ จากการทำงานกับโลเวอรี่ ผมพบว่าผมยังสามารถใช้งาน Premiere Pro ได้อีกมากในการถ่ายทำแบบวันต่อวัน ผมกำลังสนับสนุนให้ผู้กำกับคนอื่นๆ ทำแบบเดียวกับที่โลเวอรี่ทำ และใช้ Premiere Pro เพื่อให้เข้าใจและเห็นภาพว่า เมื่อแต่ละซีนมาอยู่ด้วยกันแล้วจะเป็นอย่างไร และใช้ประโยชน์จากมันให้มากที่สุด

อัลเลน: เราใช้ Creative Cloud ตลอดในกระบวนการสร้างและ visualization รวมถึง Photoshop และ After Effects ก็เริ่มมีความสามารถในการทำงาน 3D แล้วซึ่งทำให้เราทำงานง่ายขึ้นมาก เราจะสามารถใส่ Textures มุมกล้อง และจัดแสงเข้าไปใน 3D เพื่อสร้างความเหมือนจริงให้กับภาพมากขึ้น

อะเซเวโด: ผมนึกภาพตัวเองไม่ใช้ Photoshop ไม่ออกเลย มันเป็นเครื่องมือที่ฉลาดมาก และอะโดบีก็เพิ่มความสามารถเข้าไปอยู่ตลอดเวลา ด้วยความสามารถและแปรง Brushes แบบใหม่ๆ ทำให้เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพมากในการสร้างงานจากคอนเซปท์ และสร้างงานหลายอย่างในเวลาเดียวกันได้อย่างรวดเร็ว

โลเวอรี่: ผมตัดต่อภาพยนต์ด้วย Premiere Pro ผมชอบที่ Creative Cloud รวมทุกอย่างเอาไว้ในชุดเดียวและ สามารถทำงานเชื่อมต่อระหว่างโปรแกรมได้ แล้วการอัพเดทความสามารถใหม่ๆ ก็มีอย่างรวดเร็วทำให้โปรแกรมพัฒนาอยู่เสมอ ผมรู้เพียงว่าในอนาคตผมต้องใช้โปรแกรมของAdobe สร้างสิ่งใหม่ๆให้ออกมาเป็นเรื่องราวชีวิตบนจอภาพยนตร์อีกครั้ง

HTML::image(