จากผลการสำรวจ เมื่อถามถึงปัญหาวิกฤตทางด้านคุณธรรมที่มีความรุนแรงในสังคมไทย พบว่า สถานการณ์ปัญหาที่มีความรุนแรงในสังคมไทย โดยประเด็นที่วิกฤตมากที่สุด ร้อยละ 20.73 คือ ปัญหาความซื่อสัตย์ สุจริต การทุจริตคอร์รัปชั่น รองลงมา ร้อยละ 19.30 ปัญหาขาดความสามัคคี เกิดความขัดแย้งในสังคม และร้อยละ 14.69 ปัญหาจิตสำนึกสาธารณะ ขาดความรับผิดชอบต่อสังคมเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าส่วนรวม
เมื่อถามถึงระดับความคิดเห็นต่อการส่งเสริมคุณธรรมประเด็นต่าง ๆ ในสังคมไทย ในภาพรวมทุก ๆ ประเด็นตัวอย่างมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.00 จากคะแนนเต็ม 5
เมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็น พบว่า ประเด็นความซื่อสัตย์สุจริต ยึดมั่นในความถูกต้อง ต่อหน้าที่และบุคคลทั่วไปความพอเพียงในการดำรงชีวิตมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.15 รองลงมา คือ ประเด็นความสามัคคี มีค่าเฉลี่ย 4.10 ประเด็นความกตัญญูและมีสัมมาคารวะ มีค่าเฉลี่ย 4.05 ประเด็นความมีวินัยต่อตนเองและต่อสังคม มีค่าเฉลี่ย 4.02 ประเด็นความมีจิตสำนึกในคุณธรรม จริยธรรม มีค่าเฉลี่ย 4.01 ประเด็นการมีระเบียบวินัย มีค่าเฉลี่ย 3.98 ประเด็นการมีจิตสาธารณะและความรับผิดชอบต่อสังคม มีค่าเฉลี่ย 3.91 ประเด็นความรับผิดชอบต่อสาธารณะ มีค่าเฉลี่ย 3.90 และประเด็นความมีจิตอาสาพร้อมช่วยเหลือผู้อื่น มีค่าเฉลี่ย 3.89 ตามลำดับ
เมื่อถามถึง 5 อันดับของคุณธรรมที่เยาวชนไทยควรได้รับการปลูกฝัง พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 76.59 เห็นว่า ด้านความมีระเบียบวินัยมากที่สุด รองลงมา ร้อยละ 75.35 ความซื่อสัตย์ สุจริต และ ร้อยละ 57.94 ความมีน้ำใจเอื้อเฟื้อ/เผื่อแผ่เมื่อถามถึงคุณธรรมในการอยู่ร่วมกันของคนในสังคมไทย พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 25.02 ความสามัคคี รองลงมา ร้อยละ 20.82 ความมีน้ำใจ/เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และร้อยละ 18.79 ความมีระเบียบวินัย
เมื่อถามถึงคุณธรรมในการอยู่ร่วมกันในประชาคมอาเซียน 3 อันดับ พบว่า อันดับที่ 1 ร้อยละ 68.47 คือ ความมีวินัยเคารพในกติกาอาเซียนมากที่สุด อันดับที่ 2 ร้อยละ 59.19 คือ ความซื่อสัตย์สุจริตจริงใจต่อกัน และอันดับที่ 3 ร้อยละ 52.40 คือ ความสามัคคีของประชาชนอาเซียนและประเทศสมาชิกอาเซียน
เมื่อถามถึงสังคมไทยในปัจจุบันนี้ ควรมีมาตรฐานด้านคุณธรรมจริยธรรมขององค์กร พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 95.06 เห็นว่าควรมี เพราะ ร้อยละ 10.59 เพื่อเป็นพื้นฐานที่ดีในการพัฒนาสังคมภายในองค์กร
ร้อยละ 8.40 เพื่อเพิ่มคุณธรรมจริยธรรมด้านความสามัคคี และร้อยละ 8.01 เพื่อเป็นพื้นฐานด้านคุณธรรมที่ดีต่อองค์กรเมื่อถามถึงสังคมไทยในปัจจุบันนี้ ควรใช้เกณฑ์ด้านคุณธรรมประกอบการคัดเลือกคนเข้าเรียน/เข้าทำงาน/เข้ารับตำแหน่ง พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 84.12 เห็นด้วย เพราะร้อยละ 21.24 เพื่อคัดเลือกบุคคลากรที่มีคุณภาพและคุณสมบัติที่เหมาะสม ร้อยละ 14.22 เพื่อให้ได้บุคคลากรที่มีคุณธรรมจริยธรรมในการทำงาน และ ร้อยละ 5.98 เพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาบุคคลากรที่ดีของประเทศ
เมื่อถามถึงรัฐบาลควรส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมให้กับประชาชน 3 อันดับแรก พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 39.57 ความซื่อสัตย์สุจริต อันดับ 2 ร้อยละ 37.67 ความมีระเบียบวินัย และอันดับ 3 ร้อยละ 28.81 ความสามัคคี
เมื่อถามถึงหลักคุณธรรม 3 ประการที่ยึดเป็นหลักในการดำเนินชีวิต พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 64.54 ความซื่อสัตย์สุจริต รองลงมา ร้อยละ 36.93 ความมีน้ำใจ/เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และร้อยละ 30.01 ความมีระเบียบวินัย
เมื่อถามถึงการมีส่วนร่วมในการสร้างคุณธรรมในฐานะที่เป็นประชาชนชาวไทย พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 22.16 ปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี รองลงมา ร้อยละ 15.19 จะเป็นแบบอย่างที่ดี และ ร้อยละ 15.05 จะมีน้ำใจ/เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของหน่วยตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างเป็นเพศชาย ร้อยละ 54.94 เพศหญิง ร้อยละ 45.06 โดยมีอายุระหว่าง 46-60 ปี ร้อยละ 27.89 รองลงมา มีอายุระหว่าง 26-35 ปี ร้อยละ 25.72 อายุระหว่าง 36-45 ปี ร้อยละ 24.05 อายุระหว่าง 18-25 ร้อยละ 12.83 และอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 9.37
ตัวอย่างส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 61.03 รองลงมามีสถานภาพโสด ร้อยละ 31.95 และสถานภาพหม้าย/หย่าร้าง/แยกกันอยู่ ร้อยละ 6.19
ตัวอย่างส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษา/เทียบเท่า ร้อยละ 30.75 รองลงมาระดับปริญญาตรี/เทียบเท่า ร้อยละ 29.82 ระดับประถมศึกษา/ต่ำกว่า ร้อยละ 19.76 ระดับอนุปริญญา/เทียบเท่า ร้อยละ 9.93 และสูงกว่าระดับปริญญาตรี/เทียบเท่า ร้อยละ 9.00
ตัวอย่างส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 20.73 รองลงมาเป็นพนักงานเอกชน ร้อยละ 16.67 ผู้ใช้แรงงาน/รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 16.16 ข้าราชการ/ลูกจ้างของรัฐ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 15.70 เกษตรกร/ประมง ร้อยละ 13.48 พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 11.50 และนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 4.57
ตัวอย่างส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 25.21 ภาคกลาง ร้อยละ 23.50 ภาคเหนือ ร้อยละ 18.47 และภาคใต้ ร้อยละ 11.54
ตัวอย่างมีพื้นที่พักอาศัยอยู่ในเขตเทศบาล ร้อยละ 56.51 และอาศัยอยู่นอกเขตเทศบาล ร้อยละ 37.53