นิทรรศการยานยนต์แห่งอนาคตและการขนส่ง แบ่งการจัดแสดงนิทรรศการออกเป็น 4 โซน ได้แก่
1) พัฒนาการของการขนส่งในไทย – เล่าเรื่องความเป็นมาและการพัฒนาระบบการขนส่งในไทยตั้งแต่สมัยอดีต อาทิ ถนนเจริญกรุงเป็นถนนสายแรกที่ใช้รองรับการขนส่งในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ.2445รวมถึงไทม์ไลน์อธิบายพัฒนาการของระบบการขนส่งต่างๆ เช่น ทางถนน ทางอากาศ ทางน้ำ ทางรางและทางท่อเป็นต้น จวบจนถึงปัจจุบันที่มีระบบการขนส่งที่ใช้เทคโนโลยีทันสมัยเพื่อความรวดเร็วในการเดินทางสูงสุด เช่น รถไฟแมกเลฟ ที่ใช้หลักการลอยตัวด้วยพลศาสตร์ไฟฟ้าในการเคลื่อนที่
โซนรถยนต์และส่วนประกอบของรถยนต์
2) รถยนต์และส่วนประกอบของรถยนต์ – แสดงชิ้นส่วนต่างๆ ซึ่งประกอบเป็นรถยนต์หนึ่งคัน และความรู้เกี่ยวกับเครื่องยนต์กลไกที่สำคัญต่างๆ เช่น การแสดงการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซลและเครื่องยนต์เบนซิน แชสซีสและระบบบังคับเลี้ยว หลักการพลศาสตร์ และการทำงานของดิสก์เบรก เป็นต้น
โซนยานยนต์แห่งอนาคต
เอสทีซีวัน(STC 1) รถพลังงานแสงอาทิตย์คันแรกของคนไทย
รถพลังงานไฟฟ้าดัดแปลง EGAT รถพลังงานไฟฟ้าวิ่งได้ทั้งบนบกและในน้ำ
3) ยานยนต์แห่งอนาคต – แสดงต้นแบบรถยนต์ในอนาคตที่มุ่งเน้นการใช้พลังงานทดแทนและพลังงานสะอาด โดยต้นแบบรถยนต์ที่เป็นไฮไลท์ของบูธได้แก่ "เอสทีซีวัน(STC 1)รถพลังงานแสงอาทิตย์คันแรกของคนไทย" ซึ่งคิดค้นโดยวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม เอสทีซีวันจะใช้โซลาร์เซลล์รับพลังงานจากแสงอาทิตย์และนำมาแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้าเก็บสะสมไว้ในแบตเตอรี่เพื่อนำไปใช้ในการขับเคลื่อนมอเตอร์ให้รถสามารถวิ่งได้ โดยรถพลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งผลิตโดยคนไทยคันนี้ ได้ผ่านการลงสนามแข่งขันระดับโลกในงาน World Solar Challenge เมื่อเดือนตุลาคม 2558 ที่ผ่านมา
นอกจากนี้ ที่โซนยานยนต์แห่งอนาคตยังมีการจัดแสดง "รถพลังงานไฟฟ้าวิ่งได้ทั้งบนบกและในน้ำ" ซึ่งคิดค้นขึ้นโดยความร่วมมือของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดย สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (SIIT) บริษัท FOMM Corporation ประเทศญี่ปุ่น และบริษัทบางจากปิโตรเลียม จำกัดมหาชน ทั้งนี้ รถยนต์ดังกล่าวเป็นรถยนต์พลังงานไฟฟ้าขนาด 4 ที่นั่งที่เล็กที่สุดคันแรกของโลก สามารถขับเคลื่อนได้ทั้งในน้ำและบนบก มีการออกแบบตัวถังรถให้กันน้ำได้และมีขอบล้อที่มีลักษณะเป็นใบพัดทำให้สามารถลอยตัวและขับเคลื่อนได้ในน้ำ "รถพลังงานไฟฟ้าดัดแปลง EGAT" คิดค้นโดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ขับเคลื่อนด้วยพลังแบตเตอรี่ลิเธี่ยมไออ้อนผ่านมอเตอร์ ซึ่งมีส่วนช่วยในการลดมลภาวะจึงเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ "รถพลังงานไฟฟ้าสำหรับงานวิจัยภายใต้โครงการวิจัยระหว่าง มทร.ธัญบุรีและมหาวิทยาลัยนาโกย่า ประเทศญี่ปุ่น" ก็ได้นำมาจัดแสดงให้ผู้เข้าชมบูธได้ชมอีกด้วย
โซนศักยภาพไทยกับการขนส่ง
4) ศักยภาพของไทยกับการขนส่ง – แสดงศักยภาพของประเทศไทยในฐานะผู้ผลิตรถยนต์เชิงพาณิชย์เป็นอันดับ 6 ของโลก สำหรับการใช้ภายในประเทศและส่งออกไปยังต่างประเทศ นอกจากนี้ การเปิดประชาคมอาเซียน (AEC) ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการขยายเครือข่ายระบบการขนส่ง และส่งผลให้ความต้องการบุคลากรในวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์และการขนส่งมีเพิ่มมากยิ่งขึ้นอีกด้วย
ค้นพบโลกแห่งยานยนต์และการขนส่งที่น่าสนใจได้ที่ นิทรรศการยานยนต์แห่งอนาคตและการขนส่ง (Future Vehicles & Logistics Pavilion) ในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2559 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 18 – 28 สิงหาคม ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี อาคาร 2 – 8 เปิดให้เยาวชนและประชาชนทั่วไปเข้าชมงานโดยไม่มีค่าใช้จ่าย
สำหรับโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาที่ต้องการเข้าชมเป็นหมู่คณะ ติดต่อได้ที่โทร 02-577-9960 เวลาที่ เหมาะสำหรับการเข้าชมสำหรับประชาชนทั่วไป วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 15.00-19.00 น. และวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 09.00-19.00 น. ติดตามข้อมูลข่าวสารและรายละเอียดงานได้ที่ www.thailandnstfair.com หรือ Facebook : มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ LINE ID: thailandnstfair หรือ Instagram : ThailandNSTFair
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit