ทั้งนี้ เพื่อให้การควบคุมและยับยั้งการเผาพื้นที่การเกษตร ไม่ให้เป็นสาเหตุหนึ่งในการเกิดปัญหาหมอกควันทางภาคเหนือ กระทรวงเกษตรฯ ได้กำหนดให้ปี 2559 เป็นปีแห่งการรณรงค์หยุดการเผาในพื้นที่การเกษตรโดยเน้นย้ำดำเนินการใน 4 มาตรการหลัก คือ มาตรการที่ 1 ด้านการรณรงค์และประชาสัมพันธ์ จัดงานรณรงค์ในท้องถิ่น (Field Day) รวม 54 ครั้ง มีผู้เข้าร่วม 17,210 ราย โดยบูรณาการกับหน่วยงานอื่น เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ข้อมูลเพื่อกระตุ้นจิตสำนึกในการหยุดการเผาผ่านสื่อต่างๆ มาตรการที่ 2 ด้านการป้องกันและเฝ้าระวังความเสี่ยง ถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกร รวม 16,908ราย จัดทำแปลงสาธิตการจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทดแทนการเผา 56 แห่ง พื้นที่ 2,782 ไร่ จัดทำฐานการเรียนรู้การหยุดการเผาในพื้นที่การเกษตรในศูนย์การเรียนรู้ฯ และศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.) 113 แห่ง จัดเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และเชื่อมโยงการทำงานเพื่อสนับสนุนการหยุดการเผาในพื้นที่การเกษตร 113 ครั้ง โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้แทนชุมชนเข้าร่วม 3,713ราย เจ้าหน้าที่ออกปฏิบัติงานในพื้นที่เพื่อประชุมชี้แจงทำความเข้าใจ ถ่ายทอดความรู้กับเกษตรกร 1,113 ครั้ง
มาตรการที่ 3 ด้านการเผชิญเหตุ แจ้งขอความร่วมมือ อกม. ในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ดำเนินการทำความเข้าใจกับเกษตรกรในชุมชนติดตามสถานการณ์ แจ้งเตือน เฝ้าระวัง และแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่การเกษตรในช่วงวิกฤตหมอกควัน สนับสนุนให้วิทยากรเกษตรและอาสาสมัครเกษตร เฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่การเกษตร มีพื้นที่เป้าหมายการดำเนินงาน รวม 380,690 ไร่ มาตรการที่ 4 การส่งเสริมและสร้างเครือข่ายในการงดเผาในพื้นที่เกษตรกรรม สร้างชุมชนเกษตรปลอดการเผาต้นแบบใน 20 ตำบล ครอบคลุมพื้นที่ 210 หมู่บ้าน สร้างการมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่การเกษตรในพื้นที่ ทั้งหมด 244 ตำบล (กำหนดเป้าหมายไว้ 201 ตำบล) ครอบคลุมพื้นที่ 1,210 หมู่บ้าน
"ล่าสุดขณะนี้ได้มีการตั้ง War Room ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ ได้มอบหมายให้สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 จ.เชียงใหม่ และสำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 9 จังหวัดพิษณุโลก รับผิดชอบติดตามสถานการณ์ปัญหาหมอกควันร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และรายงานผลมายังกระทรวงเกษตรฯ ด้านกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ได้เพิ่มศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงจากเดิม 2 แห่ง เป็น 5 แห่ง ในจังหวัดนครสวรรค์ กาญจนบุรี เชียงใหม่ พิษณุโลก นครราชสีมา จันทบุรี ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ซึ่งตั้งแต่เริ่มตั้งศูนย์ฯ และออกปฏิบัติการฝนหลวงตั้งแต่วันที่ 15 – 23 ก.พ. ที่ผ่านมา พบว่ามีฝนตกในบริเวณพื้นที่จังหวัดนครปฐม อยุธยา และสุพรรณบุรี ทั้งนี้ กรมฝนหลวงฯ จะติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์และเตรียมพร้อมออกปฏิบัติการฯ ทำฝนเทียม เมื่อสภาพภูมิอากาศเอื้ออำนวยอีกด้วย" นายสุรพล กล่าว
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit