JICA หนุนกรมสุขภาพจิตช่วยเหลือและพัฒนาเด็กบกพร่องทางสติปัญญากว่า 3 พันราย มุ่งพัฒนาบริการสู่มาตรฐานสากล

24 Feb 2016
เด็กบกพร่องทางสติปัญญา ยังขาดโอกาสและความพร้อมทางการศึกษา สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต จึงได้ร่วมกับ Japan International Cooperation Agency (JICA) และ Kumamoto University ทำข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาบุคลากรผู้ให้บริการเด็กบกพร่องทางพัฒนาการและสติปัญญาในประเทศไทย จำนวน 68 ราย ภายใต้ทุนสนับสนุนจาก JICA ในระยะเวลา 3 ปี (1 ธ.ค.58 –พ.ย.61) เพื่อช่วยเหลือและพัฒนาเด็กบกพร่องทางสติปัญญากว่า 3,000 ราย หวังเปลี่ยนภาระเป็นพลัง มุ่งพัฒนาบริการสู่มาตรฐานสากล และสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างอิสระในอนาคต (Independent Living)
JICA หนุนกรมสุขภาพจิตช่วยเหลือและพัฒนาเด็กบกพร่องทางสติปัญญากว่า 3 พันราย มุ่งพัฒนาบริการสู่มาตรฐานสากล

แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันราชานุกูล เผยว่า ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา เป็นภาวะที่ทำให้เกิดข้อจำกัดด้านสติปัญญา การเรียนรู้ และการปรับตัวในการดำรงชีวิตประจำวัน โดยทั่วไปพบบุคคลที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญาร้อยละ 1-3 ของประชากร จากการศึกษาบ่งชี้ว่าบุคคลกลุ่มนี้มักพบปัญหาสุขภาพและมีความต้องการในการดูแลสุขภาพและการช่วยเหลือในด้านต่างๆ รวมทั้งด้านการศึกษาเรียนรู้สูงกว่าบุคคลทั่วไป แต่จากข้อมูลในปัจจุบันกลับพบว่าสามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขได้เพียงร้อยละ 8.4 และเข้าถึงโอกาสการศึกษาในระบบได้เพียง ร้อยละ 14 โดยสาเหตุสำคัญในประเทศไทยเกิดจากปัญหาเศรษฐกิจ คือ ครอบครัวมีรายได้ต่ำ และขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาการเรียนรู้ ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุขจึงให้ความสำคัญต่อการเพิ่มการเข้าถึงบริการทางการแพทย์และการพัฒนาบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญในการดูแลสุขภาพผู้มีความบกพร่องทางสติปัญญาและการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อการดำรงชีวิตประจำวัน

สถาบันราชานุกูลเป็นศูนย์กลางความเชี่ยวชาญระดับสูงด้านบริการเพื่อเด็กบกพร่องทางสติปัญญา ส่งเสริมบทบาทของภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานด้านพัฒนาสติปัญญา รวมถึงการส่งเสริมป้องกัน เริ่มตั้งแต่การตั้งครรภ์ไปจนถึงวัยเรียน ตามสถานการณ์พัฒนาการเด็กปฐมวัยที่มีอายุตั้งแต่ 0-5 ปี ในรอบ 15 ปีที่ผ่านมา พบว่า 1 ใน 3 ของเด็กเล็กในประเทศมีพัฒนาการล่าช้า ซึ่งถือว่ามีจำนวนที่สูงมาก โดยพบว่ามีพัฒนาการทางภาษาล่าช้า ถึง 20% ตามด้วยพัฒนาการทางปฏิภาณไหวพริบและการเข้ากับสังคม อีก 5% ซึ่งพัฒนาการทั้ง 2 ด้านจะมีผลต่อระดับสติปัญญาหรือไอคิว ทำให้เด็กกลุ่มนี้มีปัญหาการเรียนรู้ทั้งด้านการอ่าน เขียนและคิดคำนวณได้ ซึ่งหากพบเด็กกลุ่มเสี่ยง ที่มีพัฒนาการล่าช้าแล้วมีการดูแลที่ดีด้วยความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัยในปัจจุบัน เด็กจะมีโอกาสพัฒนาได้ใกล้เคียงกับเด็กปกติและพร้อมเข้าสู่ระบบการเรียนในระบบการศึกษาได้ ดังนั้น การเพิ่มทั้งจำนวนและขีดความสามารถของบุคลากรผู้ให้บริการในการบำบัดรักษา ฟื้นฟูที่ดีและ มีมาตรฐานจึงเป็นสิ่งจำเป็นมากในการพัฒนาอย่างยั่งยืน ผอ.สถาบันราชานุกูล กล่าว

ด้าน Ms Chieko Kajisawa ผู้บริหาร JICA กล่าวว่า JICA และ Kumamoto University มีความเชื่อมั่นในการดำเนินงานของสถาบันราชานุกูลและประเทศไทย จึงได้ให้การสนับสนุนด้านการศึกษาแก่บุคลากรผู้ให้บริการ จำนวน 68 ราย ณ ประเทศญี่ปุ่น เพื่อพัฒนาบุคลากรในการจัดบริการเพื่อนำมาปรับใช้กับผู้บกพร่องทางพัฒนาการและสติปัญญาให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย โดยมีโปรแกรมการอบรมจากอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์สูงจากมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงระดับโลกของญี่ปุ่น เช่น Tokyo University of Social Welfare, Kumamoto University Hospital เป็นต้น ด้วยความคาดหวังว่าจะส่งผลต่อการพัฒนาเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการและสติปัญญาในประเทศไทยได้ไม่น้อยกว่า 3,000 ราย อีกทั้งยังคาดหวังการขยายผลเผยแพร่ความรู้สู่หน่วยบริการอื่นๆต่อไป

JICA หนุนกรมสุขภาพจิตช่วยเหลือและพัฒนาเด็กบกพร่องทางสติปัญญากว่า 3 พันราย มุ่งพัฒนาบริการสู่มาตรฐานสากล JICA หนุนกรมสุขภาพจิตช่วยเหลือและพัฒนาเด็กบกพร่องทางสติปัญญากว่า 3 พันราย มุ่งพัฒนาบริการสู่มาตรฐานสากล JICA หนุนกรมสุขภาพจิตช่วยเหลือและพัฒนาเด็กบกพร่องทางสติปัญญากว่า 3 พันราย มุ่งพัฒนาบริการสู่มาตรฐานสากล