นางหิรัญญา สุจินัย เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บอร์ดบีโอไอ) ที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานว่า ที่ประชุมได้อนุมัติส่งเสริมการลงทุนแก่กิจการในกลุ่มต่างๆ จำนวน 14 โครงการ เงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 39,329.44 ล้านบาท กิจการในกลุ่มกิจการด้านการเกษตร ได้แก่
1.บริษัท เพ็ท โฟกัส จำกัด ได้รับส่งเสริมขยายกิจการผลิตอาหารสัตว์เลี้ยง (PET FOOD) เงินลงทุนทั้งสิ้น 1,338.1 ล้านบาท กำลังการผลิตปีละประมาณ 86,400 ตัน ตั้งโรงงานที่จังหวัดลพบุรี โครงการนี้จะเพิ่มการใช้ผลิตผลทางการเกษตร เช่น มันสำปะหลัง รำข้าว ข้าวโพดและปลาป่นที่จะนำมาผลิตเป็นอาหารสัตว์
2. บริษัท กรีนสปอต จำกัด ได้รับส่งเสริมขยายกิจการผลิตเครื่องดื่มจากธัญพืช เงินลงทุนทั้งสิ้น 4,680.9 ล้านบาท กำลังการผลิตปีละประมาณ 162,000,000 ลิตร ตั้งโรงงานที่จังหวัดสระบุรี โครงการนี้ จะใช้วัตถุดิบเป็นถั่วเหลืองโดยการรับซื้อจากกลุ่มเกษตรกรพื้นที่ภาคเหนือปีละประมาณ 2,362 ตัน
3. บริษัท ซันชาย ไบโอเทค อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ได้รับส่งเสริมขยายกิจการผลิตสารให้ความหวาน เช่น มอลโทสไซรัป และกลูโคส เงินลงทุนทั้งสิ้น 1,734.3 ล้านบาท กำลังการผลิตปีละประมาณ 3,600 ตัน ตั้งโรงงานที่จังหวัดปราจีนบุรี โครงการนี้จะใช้วัตถุดิบในประเทศมูลค่า 1,375.4 ล้านบาทต่อปี คิดเป็นร้อยละ 97.7 ของมูลค่าวัตถุดิบทั้งสิ้น
4.บริษัท กำแพงเพชร ไบโอ เอทานอล จำกัด ได้รับส่งเสริมในกิจการผลิตเอทานอล 99.5% เงินลงทุนทั้งสิ้น 1,500 ล้านบาท กำลังการผลิตปีละประมาณ 60,000,000 ลิตร ตั้งโรงงานที่จังหวัดกำแพงเพชร โครงการนี้เป็นการผลิตเพื่อทดแทนหรือลดการนำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศ สนับสนุนการใช้วัตถุดิบในประเทศ ได้แก่มันสำปะหลังซึ่งสอดคล้องกับนโยบายการใช้พลังงานทดแทนของภาครัฐกิจการในกลุ่มแร่ เซรามิกส์ ได้แก่
5.บริษัทกบินทร์บุรีกล๊าส อินดัสทรี จำกัดได้รับส่งเสริมขยายกิจการผลิตกระจกแผ่นเรียบ ( FLOAT GLASS ) กำลังการผลิตปีละประมาณ 198,000 ตัน กระจกแปรรูป ( TEMPERED GLAS )กำลังการผลิตปีละประมาณ 198,000 ตัน และขวดแก้วปีละประมาณ 105,600 ตัน เงินลงทุนทั้งสิ้น 7,645 ล้านบาท ตั้งโรงงานที่จังหวัดปราจีนบุรี โครงการนี้จะใช้เทคโนโลยีทันสมัยและมีแผนการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้พนักงานคนไทยได้รู้ระบบการผลิตจากผู้เชี่ยวชาญ และตอบสนองนโยบายภาครัฐในการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยเป็นผู้ประกอบการที่มีศักยภาพสามารถแข่งขันกับนักลงทุนต่างชาติได้ กิจการในกลุ่มผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักร และอุปกรณ์ขนส่ง ได้แก่
6.บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด ได้รับส่งเสริมขยายกิจการผลิตชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์เครื่องจักรกลทางการเกษตร เช่น จอบหมุน เงินลงทุนทั้งสิ้น 2,030.6 ล้านบาท กำลังการผลิตปีละประมาณ 72,000 ชุด ตั้งโรงงานที่จังหวัดชลบุรี โครงการนี้ เป็นการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าชิ้นส่วนและอุปกรณ์เครื่องจักรกลทางการเกษตรจากต่างประเทศ และสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรกลทางการเกษตรซึ่งเป็นอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
7.บริษัท บางกอกแคน แมนนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ได้รับส่งเสริมขยายกิจการผลิตตัวกระป๋องอลูมิเนียม กำลังการผลิตปีละประมาณ 800,000,000 ชิ้น เงินลงทุนทั้งสิ้น 2,660 ล้านบาท ตั้งโรงงานที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โครงการนี้เป็นการสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตอาหารและเครื่องดื่มซึ่งเป็นอุตสาหกรรมต่อเนื่อง และลดการนำเข้ากระป๋องอลูมิเนียมสำหรับบรรจุเครื่องดื่มจากต่างประเทศ กิจการลงทุนตามนโยบาย Super Cluster
8. MR.CARTERN ZUR STEEGE และ MR.WATARU HAMAURA ได้รับการส่งเสริมกิจการผลิตชิ้นส่วนยานพาหนะ เช่น ELECTRONIC FUEL INJECTOR ซึ่งเป็นหัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์เทคโนโลยีใหม่ล่าสุด ที่มีประสิทธิภาพเผาไหม้เชื้อเพลิงได้ดี ช่วยลดมลพิษ เป็นต้น เงินลงทุนทั้งสิ้น 1,754.1 ล้านบาท ตั้งโรงงานที่จังหวัดระยอง ทั้งนี้เป็นการลงทุนขนาดใหญ่รายแรกที่ได้รับส่งเสริมการลงทุนตามนโยบายส่งเสริมการลงทุนเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในกลุ่มคลัสเตอร์ ยานยนต์และชิ้นส่วน (Super Cluster) ตามแผนของบริษัทต้องการใช้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนยานพาหนะ เพื่อรองรับตลาดในภูมิภาค และตลาดอื่น ๆ ที่มีศักยภาพ กิจการในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่
9. บริษัท อินทรี ดิจิตอล จำกัด ได้รับส่งเสริมกิจการซอฟต์แวร์ เงินลงทุนทั้งสิ้น 2,159 ล้านบาท ตั้งกิจการที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร โครงการนี้เป็นการพัฒนาระบบซอฟต์แวร์มาตรฐานระดับโลกที่เป็นทรัพย์สินทางปัญญาของคนไทย ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลของรัฐบาลกิจการในกลุ่มเคมีภัณฑ์ พลาสติกและกระดาษ ได้แก่
10. บริษัท แอ๊ดวานซ์ พัลพ์ มิลล์ 3 จำกัด ได้รับส่งเสริมกิจการผลิตเยื่อกระดาษฟอกขาว กำลังการผลิตปีละประมาณ 472,500 ตัน เงินลงทุนทั้งสิ้น 6,460 ล้านบาท ตั้งโรงงานที่จังหวัดบุรีรัมย์ โครงการนี้ใช้วัตถุดิบในประเทศมูลค่า 4,898.6 ล้านบาทต่อปี และสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์กระดาษพิมพ์เขียนในประเทศ
11.บริษัท พรีแพค ประเทศไทย จำกัด ได้รับส่งเสริมขยายกิจการผลิตสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เช่น บรรจุภัณฑ์ชนิดอ่อน (FLEXIBLE PACKAGING) กำลังการผลิตปีละประมาณ 7,000 ตัน เงินลงทุนทั้งสิ้น 1,197 ล้านบาท ตั้งโรงงานที่จังหวัดสมุทรสงคราม สมุทรสาครและจังหวัดระยอง โครงการนี้ใช้วัตถุดิบในประเทศทั้งสิ้น มูลค่าประมาณ 483.6 ล้านบาทต่อปี ซึ่งเป็นการสนับสนุนอุตสาหกรรมต้นน้ำคือการผลิตเม็ดพลาสติกและฟิล์มพลาสติก ใช้เทคโนโลยีทันสมัยก่อให้เกิดการพัฒนาทักษะและความชำนาญให้ผู้ปฏิบัติงาน กิจการบริการ และสาธารณูปโภค ได้แก่
12. บริษัท ทีทีดับบลิว จำกัด (มหาชน) ได้รับส่งเสริมขยายกิจการผลิตน้ำประปา ขนาด 36,500,000 ลูกบาศ์กเมตรต่อปี เงินลงทุนทั้งสิ้น 2,147.44 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่จังหวัดสมุทรสาคร โครงการนี้มีมูลค่าการใช้เครื่องจักรใหม่ในประเทศ 836.98 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 83.7 ของมูลค่าเครื่องจักรทั้งสิ้น มีการใช้ระบบกรองแบบ FILTER UNDERDRAIN และ UF ซึ่งเป็นเทคโนโลยีจากประเทศสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น
13.บริษัท เอส ที เพาเวอร์ กรุ๊ป จำกัด ได้รับส่งเสริมขยายกิจการเขตอุตสาหกรรมพื้นที่ 1,941 ไร่ โดยเป็นพื้นที่เขตอุตสาหกรรม 1,280 ไร่ พื้นที่สาธารณูปโภคและพื้นที่ส่วนกลาง 660 ไร่ เงินลงทุนทั้งสิ้น 2,523 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่จังหวัดชลบุรี โครงการนี้เป็นการพัฒนาพื้นที่ที่มีศักยภาพให้เป็นเขต/นิคมอุตสาหกรรม และทำให้หลายอุตสาหกรรมที่เป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายเติบโตได้อย่างรวดเร็ว เช่น อุตสาหกรรมเกษตรกรรม
14.บริษัท ไทยโพลิเอททีลีน จำกัด ได้รับส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาสูตรและกระบวนการของตัวเร่งปฏิกิริยา เช่น ตัวเร่งปฏิกิริยาของพอลิโพรพิลีน ตั้งโครงการที่จังหวัดระยอง เงินลงทุนทั้งสิ้น 1,500 ล้านบาท โครงการนี้เป็นการพัฒนาสูตรการผลิตเม็ดพลาสติกเพื่อให้มีคุณภาพและตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของผู้ใช้งาน ลดค่าใช้จ่ายและถ่ายทอดความรู้แก่บุคลากรให้ด้านวิจัยและพัฒนา
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit