อันดับ 1 ของผลสำรวจยังคงเป็นของประเทศรัสเซีย (ร้อยละ 45) ขณะที่ประเทศญี่ปุ่นยังคงมีสัดส่วนผู้บริหารหญิงต่ำที่สุดในโลก (ร้อยละ 7) ทางด้านภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนั้นอยู่ที่ร้อยละ 23 โดยกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วในเอเชียแปซิฟิกมีตัวเลขเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 57 จากร้อยละ 53 ในปี 2558 ตรงข้ามกับกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ในภูมิภาคที่ลดลงจากร้อยละ 29 ในปีก่อนเหลือเพียงร้อยละ 20 ในปีนี้ โดยประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่มีสัดส่วนผู้บริหารระดับสูงเป็นผู้หญิงอันดับหนึ่งได้แก่ประเทศฟิลิปปินส์ (ร้อยละ 39) รองลงมาคือประเทศไทย (ร้อยละ 37) และอินโดนีเซีย (ร้อยละ 36) ตามลำดับ
สุมาลี โชคดีอนันต์ หุ้นส่วนสายงานตรวจสอบบัญชีของแกรนท์ ธอนตันในประเทศไทยกล่าวว่า "ผลสำรวจของประเทศไทย ได้สะท้อนถึงบทบาทในการสนับสนุนผู้หญิงสู่การป็นผู้บริหารระดับสูงของเรา ยังคงติดอันดับต้นๆ หรือ 1 ใน 10 ของผลสำรวจฯ ระดับโลกมาอย่างต่อเนื่องทุกปี ทั้งนี้เนื่องจากวัฒนธรรมและภาพลักษณ์ต่อผู้หญิงที่เปลี่ยนไป ตลอดจนการสนับสนุนทางด้านการศึกษาและการสร้างแรงกระตุ้นเพื่อผลักดันบทบาทของผู้หญิงในโลกธุรกิจที่มีอย่างต่อเนื่อง"
นอกจากนี้ เมื่อเราถามผู้บริหารระดับสูงทั่วโลกถึงลักษณะที่สำคัญของผู้นำที่ดีนั้น พบว่ากว่าร้อยละ 35 หรือมากกว่า 1 ใน 3 มองว่าทักษะด้านการสื่อสารนั้นสำคัญที่สุด อย่างไรก็ตามในประเทศไทยเอง ผู้บริหารหญิงกลับมองว่าความรักในงาน (Passion) เป็นสิ่งสำคัญที่สุดถึงร้อยละ 64 ซึ่งตรงข้ามกับผู้บริหารชายที่กว่าร้อยละ 63 มองว่าความซื่อสัตย์และคุณธรรม(Integrity)เป็นคุณลักษณะที่สำคัญที่สุดสุมาลี กล่าวต่อว่า "แม้ผู้บริหารทั้งชายและหญิงของไทยจะมีมุมมองที่ต่างกัน แต่ก็ถือเป็นการกระตุ้นให้ทีมบริหารมีมุมมองที่หลากหลายและครอบคลุมขึ้น ตั้งแต่อดีตเรามักพบว่า ธุรกิจแบบครอบครัวจะมีความคาดหวังที่แตกต่างกันสำหรับผู้สืบทอดชายและหญิงที่จะมาดูแลกิจการต่อ ผลสำรวจนี้ได้แสดงให้เห็นว่า แม้เรื่องดังกล่าวยังคงสามารถพบเห็นได้ในประเทศไทยปัจจุบัน แต่ความหลากหลายและแตกต่างนี้จะช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งแก่ธุรกิจในที่สุด"
ผลสำรวจ IBR ยังแสดงให้เห็นว่ามีเพียงร้อยละ 31 หรือ 1 ใน 3 ขององค์กรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยังไม่มีผู้หญิงอยู่ในทีมบริหารเลย ซึ่งในประเทศไทยนั้น ตัวเลขดังกล่าวมีจำนวนเพียงร้อยละ 21 ในขณะที่กลุ่มประเทศพัฒนาแล้วในเอเชียแปซิฟิกกลับมีตัวเลขดังกล่าวเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 53 ในปี 2558 เป็นร้อยละ 57 ในปีนี้ โดยญี่ปุ่นยังคงมีตัวเลขดังกล่าวเป็นอันดับ 1 ของโลกโดยสูงถึงร้อยละ 73 ขณะที่ผลสำรวจเดียวกันในประเทศรัสเซียเป็นศูนย์
สุมาลี กล่าวเสริมว่า "ผลสำรวจ IBR ของเราปีที่ผ่านมานั้น ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าองค์กรที่มีคณะกรรมการบริหารซึ่งผสมผสานทั้งเพศชายและหญิง จะช่วยทำให้มีผลการดำเนินการทางด้านการเงิน (Financial performance)ดีกว่าองค์รที่มีคณะกรรมการเป็นเพียงเพศชายเท่านั้น นอกจากนี้งานวิจัยจากวิทยาลัยการจัดการเคลล็อก (Kellogg School of Management) และนิตยสาร Scientific American ยังยืนยันถึงประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นขององค์กรอันเนื่องจากความหลากหลายในการตัดสินใจที่มีมากขึ้น ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่หลายองค์กรทั้งในประเทศไทยและทั่วโลกต่างพยายามที่จะส่งเสริมเรื่องนี้"
"หลายองค์กรในประเทศที่พัฒนาแล้วได้เคยพูดคุยถกเถียง เกี่ยวกับประเด็นเรื่องความหลากหลายในทีมผู้บริหารมาเป็นเวลานานแล้ว เราเห็นผลลัพท์แล้วว่าองค์กรที่มีทีมบริหารทั้งชายและหญิง จะมีผลการดำเนินงานที่ดีกว่าและสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจของโลกซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มันคงถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องลงมือทำอย่างจริงจัง ไม่ใช่แค่เพียงแค่คำพูดเท่านั้น แม้ว่าปัญหานี้อาจจะไม่มีวิธีการตายตัวในการรับมือหรือแก้ไข แต่จากที่รายงานของเราได้ระบุไว้ เพื่อให้สิ่งนี้เกิดความคืบหน้า เราจะต้องร่วมมือกันทั้งภาครัฐ เอกชน องค์กรและผู้หญิงเราเองด้วย" สุมาลี กล่าวสรุป
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit