นางอัมพวัน พิชาลัย ผู้อำนวยการ ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า " ศ.ศ.ป. รู้สึกปลาบปลื้มใจที่ปัจจุบันยังมีช่างฝีมือทั้งที่เป็นผู้ที่สืบสายเลือดโดยตรงจากครูช่างหรือช่างศิลปฯบุคคลภายในครอบครัว รวมถึงลูกศิษย์ที่สืบสานงานศิลปหัตถกรรม ให้ความสำคัญและมุ่งมั่นในการสานต่องานด้านนี้อยู่เป็นจำนวนมากตามสาขาต่างๆ ซึ่งในปีนี้ ศ.ศ.ป. ได้ช่างฝีมือผู้ผ่านการคัดเลือกรอบแรกมา 13 ท่าน ด้วยหลักการพิจารณาดังนี้คือ
ด้านการอนุรักษ์ สาขาเทคนิคงานศิลปหัตถกรรมที่มีการสืบทอดมาอย่างยาวนานหรือกำลังจะสูญหาย
ด้านฝีมือ องค์ความรู้และนวัตกรรมเชิงภูมิปัญญา ทักษะฝีมือของทายาท การสืบทอดองค์ความรู้ดั้งเดิม การสร้างสรรค์เทคนิคใหม่
ด้านสังคม เป็นที่ยอมรับด้านตัวบุคคล และ/หรือผลงาน รางวัลเกียรติคุณจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ และการร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับงานศิลปหัตถกรรมที่ดำเนินอยู่
ด้านความร่วมสมัย รูปแบบสินค้า หรือการนำเสนอสินค้าและเรื่องราว
ทั้งนี้คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจะได้พิจารณาคัดเลือก"ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม"จากจำนวนผู้เข้ารอบ13ท่านและสรุปสรุปผลการคัดสรรรอบสุดท้ายเพื่อยกย่องเป็น "ทายาทช่างศิลปหัตถกรรมเพื่อรับรางวัล"เชิดชูทายาทช่างศิลปหัตถกรรม"ประจำปี2559ในวันศุกร์ที่11มีนาคม2559ณศูนย์การแสดงสินค้าและนิทรรศการนานาชาติไบเทคบางนากรุงเทพฯและผู้เข้ารอบ13ท่านมีรายละเอียดดังนี้ประเภทงานหัตถกรรมเครื่องกระดาษ (ตัดกระดาษรังผึ้ง) จำนวน 1 ท่าน ได้แก่
นางปอลิณ หยุ่นตระกูลอายุ54 ปี ช่างตัดกระดาษรังผึ้งผู้ที่อุทิศตนเพื่ออนุรักษ์งานศิลปะ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก ทายาทรุ่นที่ 2เป็นผู้สืบทอดงานตัดกระดาษรังผึ้งจากครูเปี่ยม ส่งชื่น ผู้เป็นพ่อ ด้วยมีความคิดเห็นว่า การตัดกระดาษรังผึ้งเป็นงานฝีมือโบราณที่เริ่มมีน้อยลง นางปอลิณ จึงคิดสานต่ออุดมการณ์ของพ่อ ผู้อุทิศตนให้กับงานกระดาษและทุ่มเทมาทั้งชีวิตโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนแต่เพียงต้องการให้คนรุ่นใหม่รู้จักและได้เห็นงานฝีมือที่บรรพบุรุษทำสืบต่อกันมา การตัดกระดาษรังผึ้งนิยมนำมาประดับในงานรื่นเริง เช่น พิธีแต่งงาน ขึ้นบ้านใหม่ พิธีบวชนาค แต่ปัจจุบันความนิยมกลับลดน้อยลงทำให้งานตัดกระดาษรังผึ้งหาดูได้ยาก จึงมีความคิดว่าหากไม่ลุกขึ้นมาเป็นผู้สืบทอด ใครเล่าจะเป็นผู้สานต่ออุดมการณ์และงานที่พ่อรักประเภทงานหัตถกรรมเครื่องจักสาน จำนวน 1 ท่าน ได้แก่
นายพีระศักดิ์ หนูเพชรอายุ30ปี ช่างงานจักสานใยตาล นักพัฒนาสินค้าตัวยง จ.สงขลา
ทายาทรุ่นที่ 2 เป็นผู้สานต่องานจักสานใยตาลจากคุณแม่เสริญสิริ หนูเพชร โดยแรกเริ่มไม่สนใจงานจักสานเลยแม้แต่น้อยแต่ด้วยความที่เห็นความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะพัฒนางานอย่างไม่หยุดนิ่งของแม่จึงเกิดการซึมซับอยากสานต่อเจตนารมณ์ที่แม่สร้างงานจักสานมาด้วย1สมอง2 มือ ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายจึงช่วยออกแบบคิดค้นพัฒนารูปทรงทั้งสร้างเครื่องทุ่นแรงขึ้นมา โดยใช้เครื่องจักรอุตสาหกรรมแทนแรงงานคนซึ่งช่วยให้ผลิตงานได้จำนวนมากขึ้น ทำรายได้ให้สมาชิกในกลุ่มมากขึ้นตามไปด้วยส่งผลให้กลุ่มมีความเข้มแข็งสามารถเลี้ยงปากเลี้ยงท้องได้ด้วยตนเองตามปณิธานของในหลวง"อยู่อย่างพอเพียง"ประเภทงานหัตถกรรมเครื่องปูนปั้น จำนวน 1 ท่าน ได้แก่
นายสมชาย บุญประเสริฐอายุ 42ปี ช่างฝีมืองานปูนปั้นสด ผู้มีใจรักและความอดทนเป็นเลิศ จ.เพชรบุรี
ทายาทรุ่นที่ 3 เป็นลูกศิษย์เอกที่สั่งสมสมประสบการณ์จากคุณอาทองร่วง (อาเขย) ผู้เป็นช่างฝีมือดั้งเดิมที่หาใครมีฝีมือเปรียบได้ยากนายสมชายเป็นช่างฝีมืองานปูนปั้นสดแห่งเพชรบุรีงานปูนปั้นสดเป็นงานที่ต้องใช้ทักษะกระบวนการฝีมือเชิงช่างหลายแขนงต้องเป็นผู้มีความอดทน และมีใจรักจึงจะสามารถทำงานได้สำเร็จปัจจุบันสามารถถ่ายทอดและสอนผู้อื่นที่มีความสนใจโดยไม่หวงวิชาเพราะอยากให้งานปูนปั้นเป็นที่รู้จักของคนในสังคมไทยให้มากขึ้นประเภทงานหัตถกรรมเครื่องดิน (ประติมากรรม, น้ำต้น) จำนวน 1 ท่าน ได้แก่
นายกิตติศักดิ์ ฝั้นสายอายุ32ปี ช่างฝีมือผู้หลงใหลในงานศิลปะบวกกับความมุ่งมั่นในงานปั้นดิน จ.เชียงใหม่
ทายาทรุ่นที่ 3 เป็นช่างฝีมืองานปั้นดินจากเชียงใหม่เดินรอยตามจากงานฝีมือคุณน้าสมทรัพย์ ด้วยความหลงใหลในงานศิลปะตั้งแต่ยังเด็กจึงเริ่มศึกษาและเรียนอยู่อย่างจริงจังหลังจากได้เรียนรู้ขั้นตอนในเบื้องต้นแล้วจึงนำมาพัฒนาต่อในเรื่องของรูปแบบเพราะมีความคิดที่ว่าศิลปะเป็นสิ่งที่ไม่ตายตัว สามารถต่อยอดเป็นงานที่มีรูปทรงที่น่าสนใจได้หลากหลายความรู้ที่ได้จากคุณน้าจึงนามาสู่ประติมากรรมชิ้นเอกจนมีผู้ให้ความสนใจทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ปัจจุบันจึงเริ่มถ่ายทอดเรื่องราวความรู้ที่สั่งสมประสบการณ์มาหลายปีสู่เยาวชนรุ่นใหม่ที่มีใจรักในงานศิลปะไทยร่วมสมัยเฉกเช่นเดียวกับตน ประเภทงานหัตถกรรมเครื่องไม้ จำนวน 1 ท่าน ได้แก่
นายพิเชฎฐ์ เกิดทรง อายุ42ปี ช่างแกะสลักเครื่องดนตรีไทยที่ถูกหล่อหลอมมาตั้งแต่เด็ก แห่งเมืองคนดีศรีอยุธยา
ทายาทรุ่นที่ 2 เป็นช่างฝีมือต่อยอดจากครอบครัวคุณพ่อพิมพ์และคุณแม่บุญศรีเกิดทรง จากที่ได้ร่ำเรียนการเขียนลายไทยและการแกะสลักเครื่องไม้จากคุณพ่อพิมพ์และงานลงรักปิดทองจากคุณแม่บุญศรีตั้งแต่อายุได้เพียง12ปี หลังจากลาออกจากโรงเรียนจึงหันมาช่วยคุมงานของครอบครัวอย่างเต็มตัว โดยเริ่มแรกได้ศึกษาการเขียนลายไทย ลายกนกจนชำนาญ และสามารถเริ่มแกะสลักเครื่องดนตรีได้การถ่ายทอดภูมิปัญญาของนายพิเชฏฐ์คือเลือกดำเนินตามรอยเท้าคุณพ่อและคุณแม่ที่เป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้และมอบอาชีพการงานให้ตั้งแต่เล็กจนเติบใหญ่จึงตั้งใจสืบทอดภูมิปัญญาการแกะสลัก เครื่องดนตรีไทยแบบโบราณให้คงอยู่ต่อไปในสังคมประเภทงานหัตถกรรมเครื่องรัก จำนวน 1 ท่าน ได้แก่
นายแดง แจ่มจันทร์ที่ผันตัวเองจากชาวนามาเป็นช่างเครื่องรักประดับมุกจ.นครปฐม
ทายาทที่ได้สืบทอดจากครูจักรกริศษ์สุขสวัสดิ์จากเดิมเป็นชาวนาผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมตามวิถีของครอบครัว ต่อมาได้รู้จักและคุ้นเคยกับครูจักรกริศษ์จึงหันเหชีวิตมาเอาดีทางด้านงานเครื่องรักประดับมุกซึ่งเริ่มแรกเป็นเพียงลูกมือของครูจักรกริศษ์เพียงเท่านั้นแต่เมื่อฝึกฝนจนเชี่ยวชาญจึงสามารถถ่ายทอดสู่ผู้อื่นได้ด้วยตนเองงานลงรักประดับมุกเป็นงานที่ต้องใช้ทักษะฝีมือสูง เป็นงานที่นับวันจะหาผู้สืบทอดได้ยาก จึงทำให้เกิดความรักความรู้สึกหวงแหนและอยากเผยแพร่สู่คนรุ่นหลัง โดยในปัจจุบันได้ติดตาม ครูจักรกริศษ์ไปถ่ายทอดงานเอกลักษณ์ในทุกๆที่ เพียงเท่านี้ก็รู้สึกภาคภูมิที่ได้เป็นส่วนหนึ่งใน อนุรักษ์เอกลักษณ์ศิลปหัตกรรมของชาติให้คงอยู่ได้ในปัจจุบันประเภทงานหัตถกรรมเครื่องโลหะ จำนวน 2 ท่าน ได้แก่
นายซุลฟาการ์อะตะบูอายุ22ปีช่างทำกริชรามันที่เคร่งครัดด้วยจิตวิญญาณ จ.ยะลา
ทายาทรุ่นที่ 7เป็นช่างฝีมือผู้สืบทอดการทำอาวุธโบราณ สืบทอดมาจากครูตีพะลี อะตะบู ผู้เป็นพ่อ เป็นช่างฝีมือผู้ผันตนมาเป็นผู้สืบสานงานทาอาวุธโบราณโดยเรียนรู้ประวัติศาสตร์ความเป็นของการทำกริชรามันที่ได้รับการถ่ายทอดจากผู้เป็นพ่อ โดยการเป็นช่างทำกริชโบราณที่ดีต้องมีสมาธิจิตวิญญาณและสามารถยึดข้อปฏิบัติที่ถูกทำสืบต่อกันมา25ข้ออย่างเคร่งครัดจึงจะสามารถสร้างกริชที่สมบูรณ์ได้อย่างแท้จริงไม่ใช่ใครก็ได้ที่สามารถมา ทำกริชรามันโบราณนี้ได้เพราะต้องอาศัยความเข้าใจและทักษะเชิงช่างที่ต้องฝึกฝนมาเป็นระยะเวลานาน
นางเพชรรัตน์ เจียวทอง อายุ44ปี ช่างเครื่องประดับเงินโบราณ จ.สุรินทร์
ทายาทรุ่นที่ 2 เป็นช่างฝีมือผู้สืบสานต่อและแบ่งเบาภาระหน้าที่ของพ่อคือ นายป่วน เจียวทองในการสานต่อเครื่องเงินลายโบราณ งานที่รังสรรค์ด้วยความประณีตใส่ใจทุกรายละเอียดเพราะปัจจุบันช่างฝีมือมีน้อยลงแต่ชุมชนบ้านโชคยังคงมีช่างฝีมือผู้อนุรักษ์และทำงานกันอยู่ จึงไม่มีคู่แข่งทางการตลาดมากนักเพราะชื่อเสียงที่สั่งสมมานานทำให้ผู้ซื้อบอกกันปากต่อปากจึงมีรายได้เข้ามาอย่างต่อเนื่องจึงส่งผลให้งานหัตถศิลป์อันทรงคุณค่าแขนงนี้คงอยู่ได้ในปัจจุบันประเภทงานหัตถกรรมเครื่องทอ จำนวน 5 ท่าน ได้แก่
นายธนพล รักษาวงศ์ อายุ28ปี ช่างฝีมือกลุ่ม "ดาหลาบาติก" จ.กระบี่
ทายาทรุ่นที่ 3 เป็นช่างฝีมือผู้สืบสานหัตถศิลป์ไทยที่นับเป็นภูมิปัญญาประจำท้องถิ่นภาคใต้ที่บรรพบุรุษในครอบครัวถ่ายทอดสืบต่อกันมาให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างนอกเหนือจากในท้องถิ่นของตนศิลปะบนผืนผ้าที่มีเอกลักษณ์ในการใช้น้ำเทียนสร้างสรรค์ ให้เกิดลวดลาย จึงคิดพัฒนารูปแบบและสีสันให้มีความน่าสนใจมากกว่าในอดีตจนในปัจจุบันผลงานผ้าบาติกของ ครอบครัวกลับมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในชื่อว่ากลุ่ม"ดาหลาบาติก"เนื่องด้วยจุดเด่น อันเป็นเอกลักษณ์และเทคนิคบางประการที่ไม่เหมือนบาติกเจ้าอื่นๆ จึงทำให้ผลงานมีเสน่ห์น่าสนใจและเป็นที่นิยมในปัจจุบัน
นายธนกฤต คล้ายหงษ์ ช่างฝีมือผ้าไหมมัดหมี่จ.ขอนแก่น
ทายาทช่างฝีมือผู้ที่เรียนรู้กระบวนการทอผ้าไหมมัดหมี่จากครูช่างนายสงครามงามยิ่ง ซึ่งเป็นทั้งพ่อตาและครูผู้สั่งสอนจนเกิดความเชี่ยวชาญ เมื่อได้มีความรู้และประสบการณ์จึงพัฒนาลวดลายใหม่ๆ โดยนำลายดั้งเดิมมาดัดแปลงให้มีความทันสมัยเหมาะสมกับยุคปัจจุบันจนได้รับการตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างดี โดยปัจจุบันบ้านครูสงคราม งามยิ่งเปิดเป็นแหล่งเรียนรู้การทอผ้าที่ผู้ที่สนใจสามารถมาศึกษากระบวนการทอผ้าไหมมัดหมี่ตั้งแต่ต้นจนจบเป็นผ้าหนึ่งผืนโดยมีวิทยากรชั้นครูนายสงครามงามยิ่งและธนกฤตคล้ายหงษ์เป็นผู้ช่วย ถ่ายทอดเรื่องราวอันทรงคุณค่านี้แก่ผู้ที่สนใจ
นางสาวนิดดา ภูแล่นกี่อายุ43ปี ช่างฝีมือผ้าไหมแต้มหมี่ภูมิปัญญาดั่งเดิม จ.ขอนแก่น
ทายาทรุ่นแรก ที่ริเริ่มงานผ้าไหมแต้มหมี่ที่คิดพัฒนากระบวนการจากการมัดหมี่เปลี่ยนมาใช้การแต้มหมี่ โดยผ้าไหมมัดหมี่เป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมของท้องถิ่นอีสานได้เรียนรู้และสืบทอดภูมิปัญญาของครอบครัวที่ทำกันมาตั้งแต่รุ่นคุณยาย รวมทั้งได้รับความร่วมมือจากสำนักงานพัฒนาชุมชนและมหาวิทยาลัยขอนแก่นโดยมีการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีความทันสมัยอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ชิ้นงานมีความน่าสนใจ ปัจจุบันได้นำองค์ความรู้ต่างๆเหล่านี้ไปเผยแพร่ให้กับผู้ที่มีความสนใจเพื่อให้มีคน สืบทอดงานศิลปะแขนงนี้ต่อไปในอนาคต
นางสาวยลดา ภูริผลอายุ27ปี ช่างฝีมือผ้าทอลาวครั่ง จ.อุทัยธานี
ทายาทรุ่นที่ 6 เป็นช่างฝีมือผู้สานต่อผ้าทอลาวครั่งจ.อุทัยธานีมุ่งเน้นพัฒนา ลวดลาและสีสันผลงานทุกชิ้นมีความละเอียดประณีตมากกว่าสมัยที่บรรพบุรุษเคยทำเพื่อคุณภาพของชิ้นงานที่มีความวิจิตรและได้มาตรฐานจึงทำให้ยลลดาพัฒนาการสร้างผลงานอย่างไม่หยุดนิ่งแต่ยังคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์กระบวนการดั้งเดิมทุกขั้นตอนเพื่อให้คนรุ่นหลังได้เห็นและเรียนรู้วิธีการโบราณที่กว่าจะมาเป็นผ้าหนึ่งผืนต้องใช้เวลานานทุ่มเทสร้างสรรค์ด้วยความอดทนจึงจะสามารถสร้างสรรค์ผ้าออกมาได้สำเร็จ
นายธีรวัฒน์ ทองประศาสน์อายุ39ปี ช่างฝีมือผ้าไหมมัดหมี่ จ.ขอนแก่น
ทายาทรุ่นที่2 เป็นช่างฝีมือผู้สืบทอดผ้าไหมมัดหมี่โบราณจากบรรพบุรุษโดยมุ่งมั่นพัฒนาขั้นตอนการผลิตให้สัมพันธ์กับยุคปัจจุบัน (รวดเร็วและได้ผลผลิตจานวนมากตามความต้องการตลาด)พัฒนาลวดลาย สีสันให้สวยงามกว่าที่เคยสร้างสรรค์ไว้โดยไม่ทิ้งภูมิปัญญาดั้งเดิมของบรรพบุรุษให้หายไป
สำหรับผู้ที่ผ่านการคัดสรรรอบแรกรวม 13 ท่าน ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน)จะเชิญให้มาจัดแสดงและสาธิตผลงานภายในงาน "เทศกาลนวัตศิลป์นานาชาติ 2559" พร้อมกันนี้คณะกรรมการจะสรุปผลการคัดเลือกรอบสุดท้ายเพื่อยกย่องเป็น "ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม" พร้อมรับโล่เชิดชูเกียรติคุณจากศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศฯ ซึ่งจะมีการมอบภายในงาน "นวัตศิลป์ไทย เทิดไท้มหาราชินี" ณ ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศฯ อำเภอบางไทร พระนครศรีอยุธยา ในเดือนสิงหาคมศกนี้
สำหรับผู้ที่สนใจเข้าชมผลงานและการสาธิตทำชิ้นงานของทายาทช่างศิลปหัตถกรรมทั้ง 13 ท่าน ได้ภายในงาน "เทศกาลนวัตศิลป์นานาชาติ : International Innovation Craft Fair 2016"ได้ตั่งแต่วันนี้ถึงวันที่ 13 มีนาคม ศกนี้ ณ ศูนย์การแสดงสินค้าและนิทรรศการนานาชาติ ไบเทค บางนา กรุงเทพฯ
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit