นายนพรัตน์ เมธาวีกุลชัย ผู้อำนวยการ ทีเส็บ กล่าวว่า "การพัฒนาประเทศไทยสู่การเป็นเมืองไมซ์ที่ยั่งยืนเป็นหนึ่งในการทำงานตามแผนแม่บทระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2558-2562) ของทีเส็บที่เน้นนโยบายการรักษาสิ่งแวดล้อมและการบริหารจัดการงานไมซ์ตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน เน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็น MICE Sustainable Destination โครงการส่งเสริมผู้ประกอบการไมซ์ในการจัดซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์จากเกษตรกรโดยตรง หรือ Farm to Functions เป็นโครงการที่เกิดจากการประสานพลังของ 3 ภาคส่วนคือ รัฐบาล เอกชน และประชาชนตามนโยบายประชารัฐ ได้แก่ ทีเส็บ โครงการสามพรานโมเดล สมาคมส่งเสริมการประชุมนานาชาติ (ไทย) สมาคมโรงแรมไทย และสมาคมการแสดงสินค้า (ไทย) เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558"
Farm to Functions มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการไมซ์ไทยได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาวิถีการเกษตรอย่างยั่งยืนผ่านการจัดซื้อผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์โดยตรงจากเกษตรกร ส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการไมซ์ไทยในการนำเสนอบริการด้านอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพให้แก่นักเดินทางกลุ่มไมซ์ ตลอดจนติดอาวุธให้แก่ผู้ประกอบการไมซ์ไทยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน เกิดภาพลักษณ์ที่ดีแก่ผู้ประกอบการและประเทศไทย
"Farm to Functions ก่อให้เกิดประโยชน์ใน 3 ด้านหลัก ได้แก่ ด้านการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ผู้ประกอบการไมซ์ได้เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน ลดต้นทุนในการบริหารงาน กลุ่มเกษตรกรหรือชุมชนมีรายได้แน่นอน ด้านสังคม ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อสังคม ทำให้นักเดินทางกลุ่มไมซ์ได้บริโภคอาหารที่ดี มีคุณภาพ สิ่งแวดล้อมได้รับผลกระทบน้อยลงจากการปลูกพืชของเกษตรกรด้วยวิธีเกษตรอินทรีย์ และด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน หรือ Community Engagement เกิดการ
กระจายรายได้จากอุตสาหกรรมไมซ์สู่ภาคชุมชน พัฒนาเกษตรกรให้ได้เรียนรู้การทำธุรกิจ และเปิดโอกาสให้ภาคชุมชนเข้ามามีบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศมากขึ้น เกิดความยั่งยืนของการพัฒนาตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ" นายนพรัตน์ กล่าว
สำหรับความคืบหน้าของโครงการดังกล่าวนั้น ปัจจุบันมี 9 ผู้ประกอบการไมซ์เข้าร่วมโครงการ ได้แก่ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ศูนย์การประชุมอิมแพค เมืองทองธานี ศูนย์การแสดงสินค้านานาชาติไบเทค โรงแรมพลาซ่า แอทธินี อะ รอยัล เมอริเดียน
โรงแรมเดอะสุโกศล กรุงเทพฯ โรงแรมทวิน ทาวเวอร์ โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ โรงแรมสามพราน ริเวอร์ไซด์ และโรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพฯ โดยทั้ง 9 หน่วยงานได้ลงนามความร่วมมือกับ กลุ่มข้าวสัจธรรมอำนาจเจริญ เกษตรกรกลุ่มแรกที่เข้าร่วม
โครงการ โดยกลุ่มข้าวสัจธรรมได้ส่งมอบข้าวออร์แกนิกที่ได้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์นานาชาติ (International Federation of Organic Agriculture Movements - IFOAM) แบบไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง โดยผู้ประกอบการตั้งเป้าการสั่งซื้อจำนวน 300 ตันต่อ ปี เป็นระยะเวลาต่อเนื่อง 2 ปี เบื้องต้นเป็นการสั่งซื้อข้าวเพียงอย่างเดียว เนื่องจากเก็บรักษาและขนส่งสะดวก และจะขยายไปสู่เกษตรอินทรีย์ประเภทอื่นๆ
"โครงการ Farm to Functions นับเป็นโครงการแรกของโลกในการรวมกลุ่มภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ประกอบการไมซ์เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจภาคชุมชน ส่งเสริมให้ประเทศไทยสู่การเป็น MICE Sustainable Destination ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 คาดการณ์ว่าประเทศไทยจะมีโอกาสต้อนรับนักเดินทางกลุ่มไมซ์และรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 คิดเป็นจำนวนนักเดินทางกลุ่มไมซ์ 1,060,000 คน สร้างรายได้ 92,000 ล้านบาท นายนพรัตน์ กล่าวสรุป
HTML::image( HTML::image( HTML::image(