1956 ฮาร์ดไดร์ฟจานแม่เหล็กหมุนรุ่นแรกของโลก ความจุ: 5MB สื่อจัดเก็บ : แผ่นแม่เหล็กขนาด 24 นิ้ว หมุนที่ความเร็ว 1200RPM หน่วงเวลาเข้าถึงข้อมูล : 600 ms
ณ ขณะนั้น ฮาร์ดไดร์ฟเป็นระบบกลไกไฟฟ้า (electromechanical) ที่มีน้ำหนักเกือบหนึ่งตัน และประกอบไปด้วยแผ่นแม่เหล็กกว่า 50 แผ่น ที่มีหัวอ่านเพียงแค่หัวเดียว จึงทำให้หน่วงเวลาเข้าถึงข้อมูลสูงถึง 600ms ณ IBM 350 นั้นเปิดให้เช่าคิดเป็นเงินค่าเช่ากว่า 28 ล้านดอลลาร์ต่อเดือน หากเปรียบเทียบให้เห็นภาพในปัจจุบันคือ หากจะใช้ไดร์ฟแบบนี้ลงระบบปฏิบัติการ Windows 10 จะต้องใช้ไดร์ฟจำนวนทั้งสิ้น 4096 ชุด เพื่อให้ได้พื้นที่ 20GB ซึ่งจะเพียงพอต่อการติดตั้งระบบปฏิบัติการในปัจจุบัน
1970 ไดร์ฟตัวแรกของโลกที่มีระบบแก้ไขความผิดพลาดของข้อมูล ความจุ: 100MB สื่อจัดเก็บ : แผ่นแม่เหล็กขนาด 14 นิ้ว หมุนที่ความเร็ว 3600RPM หน่วงเวลาเข้าถึงข้อมูล : 30-55 ms
ไดร์ฟ IBM3330 นั้นเป็นไดร์ฟในรูปแบบที่สามารถเปลี่ยนตัวดิสก์ได้ มีแผ่นแม่เหล็ก 11 แผ่นที่สามารถถอดจัดเก็บได้ อัตตราการโอนถ่ายข้อมูลอยู่ที่ 806 KB/s ไดร์ฟรุ่นสุดท้ายของ IBM 3330 นั้นคือ Model 11 ในปี 1974 ราคา 418 พันล้านดอลลาร์
1976 ไดร์ฟตัวแรกของโลกที่มีคุณลักษณะแบบ SSD ไม่มีกลไกการหมุนหรือขยับหัวอ่าน ความจุ: 256KB - 2MB สื่อจัดเก็บ : เมมโมรีแบบ Ferrite หน่วงเวลาเข้าถึงข้อมูล : 0.75-2 ms
ก่อนการถือกำเนิดของชิป NAND Flash แถบแม่เหล็กที่ทำจากเหล็กเฟอร์ไรท์ (Ferrite) ได้เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับการจัดเก็บข้อมูลด้วยแผ่นแม่เหล็ก จุดเด่นในตอนนั้นคือความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล ตัวยูนิตหลักของไดร์ฟสามารถใส่โมดูลได้สูงสุด 8 โมดูล แต่ละโมดูลมีความจุ 256 KB โดยไดร์ฟรุ่นเริ่มต้นที่ราคาถูกที่สุดในตอนนั้นมีราคาราว 40 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งหากต้องการความจุ 1TB ก็จะต้องใช้เงินประมาณ 1.6 ล้านล้านดอลลาร์ ณ ขณะนั้น
1980 – ฮาร์ดไดร์ฟตัวแรกของโลกที่สามารถใส่ในเคสของคอมพิวเตอร์พีซีได้ ความจุ: 5MB สื่อจัดเก็บ : แผ่นแม่เหล็ก หมุนที่ความเร็ว 3600RPM หน่วงเวลาเข้าถึงข้อมูล : 85 ms
รูปแบบของไดร์ฟลักษณะนี้ มาจากการถือกำเนิดของแผ่นฟลอปปี้ดิสก์ขนาด 5.25" ในช่วงปลายยุค 1970 ตัวไดร์ฟนั้นหนัก 3.2 กิโลกรัม และถือเป็นจุดสูงสุดของการพัฒนาเทคโนโลยีฮาร์ดไดร์ฟให้มีขนาดเล็กลงมากในสมัยนั้น ภายในประกอบไปด้วยแผ่นแม่เหล็กสองแผ่น ประกบด้วยหัวอ่านสี่หัว และเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ผ่านชิปคอนโทรลเลอร์ อัตตราการโอนถ่ายข้อมูลทำได้ที่ 655KB /s
1988 – ฮาร์ดไดร์ฟขนาด 2.5 นิ้ว ตัวแรกของโลก ความจุ: 20MB สื่อจัดเก็บ : แผ่นแม่เหล็ก หน่วงเวลาเข้าถึงข้อมูล : 23 ms
PrairieTek company ได้สร้างฮาร์ดไดร์ฟตัวแรกของโลกที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานกับเครื่องแล็ปท็อป แต่ไม่ประสบความสำเร็จนัก และได้ล้มละลายไปในปี 1990 ฮาร์ดไดร์ฟขนาด 2.5" ที่ถือว่าเกิดในตลาดจริง ๆ นั้น กลับกลายเป็นไดร์ฟที่ออกมาในยุคศตวรรศที่ 21 ที่เครื่องแล็ปท็อปได้รับความนิยม วันนี้ ไดร์ฟ 2.5" ได้กลายมาเป็นมาตรฐานสำหรับไดร์ฟแบบ SSD ทั่วโลก
1995 – จุดเริ่มต้นของ NAND Flash ในแง่มุมที่ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับสื่อจัดเก็บข้อมูลดิจิตอล ความจุ: 16-896MB สื่อจัดเก็บ : NAND Flash memory หน่วงเวลาเข้าถึงข้อมูล : 0.1 ms
แฟลชไดร์ฟแบบ FFD (Fast Flash Drive) ตัวแรกของโลก ใช้อินเตอร์เฟซแบบ SCSI และมีขนาด 3.5 นิ้ว ใช้กับเครื่องเดสก์ท็อป และเนื่องจากราคาที่สูง ทำให้ FFD นั้นได้ไม่เคยได้รับความนิยมจากผู้ใช้พีซีทั่วไปเลยแม้แต่น้อย ไดร์ฟประเภทนี้ถูกใช้ในกลุ่มความมั่นคง การป้องกันประเทศ และได้เป็นที่นิยมในอุปกรณ์บันทึกข้อมูลการบินบนเครื่องบิน (กล่องดำ)
2007 – ไดร์ฟขนาด 1TB ที่ราคาเอื้อมถึงได้ง่าย ๆ ตัวแรกของโลก ความจุ: 1TB สื่อจัดเก็บ : จานแม่เหล็กหมุน 7200RPM หน่วงเวลาเข้าถึงข้อมูล : 8.5 ms
Hitachi ได้ผลิตฮาร์ดไดร์ฟขนาด 1TB ที่ตามมาด้วยการเปิดตัวไดร์ฟรูปแบบเดียวกันในปีเดียวกัน ไดร์ฟตัวแรกที่มีขนาด 1TB ตอนนั้น มีจานแม่เหล็กหมุน 5 จาน และหัวอ่าน 10 หัว ในปี 2007 ไดร์ฟมีน้ำหนักเพียง 700 กรัม ซึ่งเมื่อย้อนไปเทียบกับปี 1956 นั้น เราจะต้องใช้ไดร์ฟ IBM 350 กว่า สองแสนตัว เพื่อที่จะได้ความจุเท่ากันนี้ และไดร์ฟ IBM 350 สองแสนตัวนั้นก็คงจะมีน้ำหนักเท่า ๆ กับเครื่องบินบรรทุกระเบิดนิวเคลียร์สองลำรวมกัน
2015 – ไดร์ฟ Solid State เริ่มได้รับความนิยมจากผู้ใช้พีซีทั่วไปจนวันนี้ ความจุ: 128Gb - 1TB สื่อจัดเก็บ : NAND Flash memory หลากหลายรูปแบบ (MLC, SLC, TLC) หน่วงเวลาเข้าถึงข้อมูล : ต่ำกว่า 0.1 ms
ถึงแม้ว่าจะเป็นไดร์ฟ SSD ที่ราคาถูกที่สุด ก็ยังมีความเร็วมากกว่าฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟแบบทั่วไป ในตลาดทุกวันนี้ มีไดร์ฟ SSD ให้เลือกมากมาย และมีอินเตอร์เฟซการเชื่อมต่อหลากหลายรูปแบบ ทั้ง SATA, PCIe M.2 ไดร์ฟที่ได้รับความนิยมมากที่สุดและคุ้นเคยกันดีคือไดร์ฟรูปแบบ 2.5 นิ้ว อินเตอร์เฟซ แบบ SATA เช่น Plextor M6V ที่สามารถติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows 10 และบู้ทระบบได้ภายในเวลาต่ำกว่า 10 วินาที โปรแกรม หรือเกม ที่ติดตั้งในไดร์ฟ จะสามารถรันได้อย่างรวดเร็วกว่าไดร์ฟแบบจานแม่เหล็กหมุนในอดีต ไดร์ฟ SSD ยุคใหม่นี้จะมีเสถียรภาพ และความน่าเชื่อถือเทียบเท่ากับไดร์ฟแบบจานแม่เหล็กหมุน ด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัยมากมาย เช่น PlexTurbo 3.0 ในไดร์ฟของ Plextor ที่จะช่วยลดการเสื่อมสภาพจากสภาพในเซลล์เมมโมรีการใช้งานทั่ว ๆ ไป
ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของ Plextor นั้นได้รับรางวัลมามากมาย และได้รับการยอมรับถึงความยอดเยี่ยมของตัวผลิตภัณฑ์นั้น ๆ และจะยังคงเป็นหัวใจสำคัญของบริษัทของเราตลอดไป
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit