หลักเกณฑ์โครงการรับซื้อยางพารา
๑. เกษตรกรต้องขึ้นทะเบียนกับ กยท. ตาม พ.ร.บ. การยางฯ 2558
๒. มีบัญชีกับ ธ.ก.ส.
๓. ได้สิทธิ์ไม่เกินรายละ 15 ไร่ (จำนวนเศษปัดเป็น 1 ไร่) ไร่ละ 10 กิโลกรัม รวม 150 กิโลกรัม
๔. จุดรวบรวม 1,500 จุด ทั่วประเทศ โดยเน้นจุดที่เป็นวิถีของตลาดปกติเป็นหลัก
๕. แต่ละจุด คณะกรรมการประจำจุด ประกอบด้วย
๕.๑ เจ้าหน้าที่ กยท. ในพื้นที่
๕.๒ เจ้าหน้าที่ กษ. ในพื้นที่
๕.๓ เจ้าหน้าที่ คสช. ในพื้นที่
๕.๔ เจ้าหน้าที่มหาดไทยในพื้นที่
๕.๕ ปปช. และ สตง. ในพื้นที่เป็นผู้สังเกตการณ์
ขั้นตอนการปฏิบัติในการรับซื้อยางพารา
๑. เกษตรกรนำน้ำยาง ยางก้อนถ้วย ยางแผ่นดิบ มาที่จุดรวมยาง
๒. แสดงบัตรขึ้นทะเบียน กยท. และบัตรประชาชน เพื่อลงทะเบียน
๓. ส่งมอบยางให้เจ้าหน้าที่เพื่อตรวจคุณภาพและชั่งน้ำหนัก
๔. เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลในระบบอิเล็กทรอนิกส์ (ปริมาณ ประเภทยาง จำนวนเงิน) และออกเอกสารเป็นหลักฐานให้เกษตรกร 1 ฉบับ
๕. เจ้าหน้าที่ส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ในการรับซื้อแต่ละวันให้แก่ ธ.ก.ส.
๖. ธ.ก.ส. จ่ายเงินเข้าบัญชีเกษตรกรภายใน 2 วัน
๗. จากจุดรวมยางไปยังผู้ประกอบการ บันทึกข้อมูลลงระบบอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด ทั้งปริมาณยาง ประเภทของยาง และสถานที่รับปลายทาง
๘. ข้อมูลการปฏิบัติจะจัดทำ Application ให้ทุกคน download ได้ตลอดเวลา เพื่อร่วมกันติดตามโครงการและสร้างความโปร่งใส
ด้านความคืบหน้ามาตรการ "สร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง" โครงการชดเชยรายได้แก่ชาวสวนยางและคนกรีดยาง ไร่ละ 1,500 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 15 ไร่ นั้น มีจำนวนเกษตรกรในฐานข้อมูลของกยท. แล้ว 798,919 ครัวเรือน แบ่งเป็น ชาวสวนและกรีดเอง 253,026 คน คนกรีด 7,049 คน ชาวสวนจ้างต่างด้าว 30,453 คน จากนี้เจ้าหน้าที่ระดับตำบลและอำเภอจะรับรองสิทธิ์ เริ่มดำเนินการระหว่างวันที่ 20-21 มกราคม 2559 มีเกษตรกรได้รับการรับรองสิทธิ์แล้ว 103,799 คน และกยท.จะประมวลข้อมูลส่ง ธ.ก.ส. ในวันที่ 21-22 ม.ค. และจะโอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรในวันที่ 22-24 ม.ค. ทั้งนี้ภายในวันที่ 25 ม.ค.นี้ เกษตรกรจะได้รับเงินแน่นอน สำหรับเกษตรกรที่แจ้งเข้าร่วมโครงการส่วนที่เหลือ จะเร่งรัดให้ได้รับเงินช่วยเหลือภายในเดือน ม.ค. นี้ด้วย
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit