ตามข้อตกลงแล้วบีเออี ซิสเต็มซ์ จะให้ความสนับสนุนทางด้านวิศวกรรมและข้อแนะนำตลอดการก่อสร้างเรือดังกล่าวในประเทศไทย
มร.ไนเจล สตูเวิร์ด ผู้อำนวยการฝ่ายพาณิชย์ของบีเออี ซิสเต็มซ์ กล่าวว่า "เราภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างและกระชับความสัมพันธ์ในอุตสาหกรรมการต่อเรือของประเทศไทย สัญญาฉบับนี้ถือเป็นการสนับสนุนครั้งที่สองจากกองทัพเรือไทยที่ได้ไว้วางใจในดีไซน์และการออกแบบเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งที่มีความเป็นอเนกประสงค์ของเรา"
"เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งของเราจำนวนสามลำได้รับการประจำการแล้วที่ประเทศบราซิล และอีกสามลำอยู่ในขั้นตอนการก่อสร้างเพื่อกองทัพเรือสหราชอาณาจักร แสดงให้เห็นว่าดีไซน์ของเราได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ" มร.ไนเจล กล่าวเพิ่มเติม
เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง จากบีเออี ซิสเต็มซ์เป็นเรือที่มีความเป็นเอนกประสงค์สูง ทำให้คุ้มค่าเม็ดเงินที่ลงทุนและมักเป็นตัวเลือกอันดับต้นของกองทัพเรือหลายแห่ง อีกทั้งยังสามารถเลือกก่อสร้างเรือ ณ โรงงานที่กลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์ ซึ่งเป็นโรงงานของจากบีเออี ซิสเต็มซ์ หรือ เลือกก่อสร้างเรือภายใต้ข้อตกลงอนุญาตใช้สิทธ์ในโรงงานในประเทศนั้นๆ สำหรับลูกค้าต่างประเทศได้
กองทัพเรือไทยได้รับเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งความยาว 90 เมตรลำแรก ชื่อว่า เรือหลวงกระบี่ (HTMS KRABI) จากอู่กรุงเทพในปีพ.ศ. 2556 เรือลำดังกล่าวเป็นการพัฒนาจากโครงสร้างพื้นฐานของบีเออี ซิสเต็มซ์ และได้ออกปฏิบัติการกับกองทัพเรือไทยแล้วกว่า 1,000 วัน นอกจากนี้ บีเออี ซิสเต็มซ์ ได้นำส่งเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งที่ก่อสร้างในสหราชอาณาจักรให้แก่กองทัพเรือบราซิลอีกสามลำระหว่างปีพ.ศ 2556 – 2557
ปัจจุบัน บีเออี ซิสเต็มซ์กำลังก่อสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งให้กับกองทัพเรือสหราชอาณาจักรในโรงงานที่กลาสโกลว์ ประเทศสกอตแลนด์ โดยเรือดังกล่าวจะมีโครงสร้างพื้นฐานที่คล้ายกันแต่มีปรับแต่งบางส่วนตามความต้องการของกองทัพเรือสหราชอาณาจักร นอกจากนี้ทางฝ่ายรัฐบาลอังกฤษยังมีการเตรียมการซื้อเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งเพิ่มอีกสอง ลำตามแผนยุทธศาสตร์การป้องกันและการรักษาความปลอดภัย (Strategic Defence and Security Review) ฉบับล่าสุด
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit