ปภ. รายงาน 2 จังหวัดภาคเหนือคุณภาพอากาศอยู่ในระดับส่งผลกระทบต่อสุขภาพ พร้อมประสานจังหวัดภาคเหนือลดผลกระทบจากวิกฤตหมอกควัน

10 Feb 2016
ปภ.รายงาน 2 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ ลำปาง และลำพูน คุณภาพอากาศอยู่ในระดับที่ส่งผลกระทบ ต่อสุขภาพ พร้อมจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังสถานการณ์ ติดตามข้อมูลคุณภาพอากาศ รวมถึงประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบผลกระทบของหมอกควันต่อสุขภาพอนามัย ตลอดจนบูรณาการทุกภาคส่วนสนธิกำลังในการระดมวัสดุอุปกรณ์ควบคุมปัญหาหมอกควัน ฉีดพ่นน้ำเพิ่มความชื้นและลดปริมาณฝุ่นละอองหมอกควันในอากาศ เพื่อควบคุมสถานการณ์หมอกควันมิให้วิกฤตรุนแรง

นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า จากการประสานข้อมูลคุณภาพอากาศกับกรมควบคุมมลพิษ เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2559 ณ เวลา 04.00 น. พบว่า 9 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน แม่ฮ่องสอน น่าน แพร่ พะเยา และตาก ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10)เฉลี่ย 24 ชั่วโมง มีค่าระหว่าง 51 - 132 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งคุณภาพอากาศในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางถึงส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โดยมี 2 จังหวัด ซึ่งคุณภาพอากาศเกินเกณฑ์มาตรฐานและอยู่ในระดับส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ได้แก่ จังหวัดลำปาง ค่า PM10 93 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร จังหวัดลำพูน ค่า PM10 132 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

ทั้งนี้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้ประสานจังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังสถานการณ์ ติดตามข้อมูลคุณภาพอากาศ รวมถึงระดมรถบรรทุกน้ำฉีดพ่นน้ำเพิ่มความชื้นและลดปริมาณฝุ่นละอองในอากาศ ตลอดจนบูรณาการ ทุกภาคส่วนสนธิกำลังในการระดมวัสดุอุปกรณ์ควบคุมไฟป่าและหมอกควัน พร้อมประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบผลกระทบของหมอกควันต่อสุขภาพอนามัย และติดตามข้อมูลข่าวสารคุณภาพอากาศ รวมถึงปฏิบัติตามคำแนะนำโดยเคร่งครัด ตลอดจนขอความร่วมมือประชาชนงดเว้นการเผาขยะ เศษวัสดุทางการเกษตร เพื่อลดระดับความรุนแรงของสถานการณ์ หมอกควันมิให้วิกฤตมากขึ้น สำหรับประชาชนที่อาศัยในพื้นที่ที่มีหมอกควันปกคลุม ให้หลีกเลี่ยงการประกอบกิจกรรมในที่โล่งแจ้งเป็นเวลานาน เพราะจะสูดดมฝุ่นละอองจำนวนมากเข้าสู่ร่างกาย อาจทำให้เจ็บป่วยได้ รวมถึงใช้ผ้าเช็ดหน้าหรือหน้ากากอนามัยปิดปากและจมูกทุกครั้งที่ออกนอกบ้าน เพื่อป้องกันมิให้สูดดมฝุ่นละอองเข้าสู่ร่างกาย ส่วนผู้ขับขี่ให้เพิ่มความระมัดระวัง ในการใช้รถใช้ถนนเป็นพิเศษ เพราะทัศนวิสัยในการมองเห็นเส้นทางอยู่ในระดับต่ำ0-2243-0674 0-2243-2200 www.disaster.go.th

ฝากข่าวประชาสัมพันธ์?

ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit