จิตรกรรมเหมือนจริง แนวสัจนิยมตามหลักสุนทรียศาสตร์ของนักปรัชญายุคคลาสิคของกรีก คือการเลียนแบบหรือการเป็นตัวแทนของสรรพสิ่งทั้งหลาย ซึ่งมีทั้งเหมือนจริงและเหมือนจริงเชิงสร้างสรรค์ ตัวอย่างผลงาน เช่น พ่อ ผู้พอเพียง, แม่ ดวงใจให้แผ่นดิน, สยามบรมราชกุมารีอันเป็นที่รัก, ลำพูป่า, ดอกราชพฤกษ์, ชาวชนบท เป็นต้น
จิตรกรรมแบบนามธรรมและกึ่งนามธรรม การสร้างสรรค์รูปแบบหรือรูปทรงใหม่ ซึ่งแสดงนัยสำคัญกว่าเนื้อหา ด้วยสาระที่ลงตัวด้วยเส้น สี จังหวะ เช่น บันทึกจากทะเล, ช่อม่วง, รำลึกอาจารย์ถวัลย์, หมู่บ้านที่เกาหลีใต้, ผีตาโขน เป็นต้นจิตรกรรมแบบประเพณีไทย การนำทฤษฎีศิลปะผสมผสานกับความเป็นไทย เกิดสุนทรียะแบบไทยแท้ ผลงานมีลักษณะคล้ายจิตรกรรมฝาผนัง เช่น พระมหาชนก, พระสุวรรณสาม, พระอิศวร, พระเตมีย์, ช้างเอราวัณ, วิถีชาวบ้าน, หม่อนไหม สายใยชีวิต เป็นต้นจิตรกรรมแบบประเพณีนิยมร่วมสมัย ได้รับอิทธิพลจากศิลปะตะวันตก ความเป็นไทยที่เน้นเรื่องของน้ำหนัก เส้น สี ที่ผิดแผกแตกต่างจากจิตรกรรมโบราณ เช่น รถบุปผชาติ, บ้านโป่ง บ้านฉัน, อนุรักษ์ไทย เป็นต้นศิลปิน "กลุ่มเส้นทาง" ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๘ ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจของครูศิลปะในจังหวัดนครปฐมที่ต้องการนำเสนอผลงานตามมโนคติ จินตนาการของศิลปินแต่ละคน อันเกิดจากพุทธิปัญญา ประสบการณ์ โดยสำแดงพลังความคิด การรังสรรค์อย่างอิสระ ผสมผสานกับรสนิยมและทักษะที่สั่งสมมา ปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน ๒๖ คน จากจังหวัดนครปฐมและจังหวัดใกล้เคียง
ขอเชิญผู้สนใจศึกษา ชื่นชมผลงานจิตรกรรมหลากหลายอารมณ์ รูปแบบ ในนิทรรศการศิลปกรรม "ทศวรรษกลุ่มเส้นทาง" ทุกวันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๖.๓๐ น. ณ หอศิลป์ฯ อาคารวิสุทธิกษัตริย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ตลอดเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๙งานส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม สถานอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน มหาวิทยาลัยนเรศวร โทรศัพท์ ๐ ๕๕๙๖ ๑๑๔๘.
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit