นายวัชรพล แดงสุภา ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านอาหารและเกษตรกรรมเชิงนิเวศ กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า "คำมั่นสัญญาลมๆแล้งๆเพิ่มขึ้น แต่ความนิยมของพืชจีเอ็มโอนั้นตรงกันข้าม แม้ว่า 20 ปีของการตลาดเพื่อสนับสนุนจีเอ็มโอโดยกลุ่มเจรจาผลประโยชน์อุตสาหกรรมที่ทรงอำนาจเทคโนโลยีการดัดแปลงพันธุกรรมกลับได้รับการยอมรับในเพียงไม่กี่ประเทศและเป็นพืชเพียงไม่กี่ชนิด โดยพื้นที่ปลูกพืชจีเอ็มโอมีเพียงร้อยละ 3 ของพื้นที่ทำการเกษตรทั่วโลก แท้ที่จริงแล้ว ข้อมูลจากอุตสาหกรรมจีเอ็มโอแสดงให้เห็นว่า ร้อยละ 90 ของพื้นที่ปลูกพืชจีเอ็มโอทั้งโลกกระจุกตัวอยู่เพียง 5 ประเทศเท่านั้น และเกือบ 100 % ของพืชจีเอ็มโอเหล่านี้เป็นพืชเพียง 2 ชนิดเท่านั้น หนึ่งคือพืชต้านทานยากำจัดวัชพืช และสองคือพืชที่ผลิตพิษฆ่าแมลง ในขณะที่ทุกภูมิภาคทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยก็ปฏิเสธพืชจีเอ็มโอ ผู้บริโภคในยุโรปไม่กินอาหารจีเอ็มโอ และข้าวโพดจีเอ็มโอเป็นพืชจีเอ็มโอชนิดเดียวที่มีการปลูกในยุโรป ส่วนใหญ่ของทวีปเอเชียยังปลอดพืชจีเอ็มโอ อินเดียและจีนมีพื้นที่ปลูกพืชจีเอ็มโอ แต่ส่วนใหญ่เป็นพืชที่ไม่ใช่อาหารนั่นคือฝ้าย และมีเพียง 3 ประเทศเท่านั้นในทวีปแอฟริกาที่ปลูกพืชจีเอ็มโอ กล่าวง่าย ๆ คือ พืชจีเอ็มโอไม่ได้เลี้ยงคนทั้งโลก[2]"
รายงาน " 20ปีแห่งความล้มเหลว จีเอ็มโอกับคำสัญญาลม ๆ แล้ง ๆ" เปิดเผยถึงปัญหาที่เกี่ยวข้องกับพืชจีเอ็มโอซึ่งรวมถึงพืชจีเอ็มโอเพิ่มปริมาณการใช้ยากำจัดศัตรูพืช เกือบทั้งหมดของพืชจีเอ็มโอถูกผลิตมาเพื่อสร้างพิษกำจัดศัตรูพืชหรือทนต่อการฉีดพ่นสารเคมีกำจัดวัชพืชบางอย่าง ศัตรูพืชและวัชพืชมีการพัฒนาให้ต้านทานต่อพิษเหล่านี้ ทำให้เกิดแมลงและวัชพืชที่ดื้อยา ซึ่งส่งผลให้เกษตรกรต้องใช้สารเคมีอยู่ตลอดเวลาพืชจีเอ็มโอไม่สามารถผลิตอาหารเพื่อเลี้ยงคนได้ทั้งโลก
ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าพืชจีเอ็มโอไม่สามารถเพิ่มปริมาณผลผลิตและยังส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของชุมชนเกษตรกรรมขนาดเล็ก ถือเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงทางอาหารไม่มีความเห็นร่วมกันในทางวิทยาศาสตร์ว่าพืชจีเอ็มโอปลอดภัยแม้อุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพพยายามสร้างความมั่นใจถึงความปลอดภัยของพืชจีเอ็มโอให้แก่ผู้บริโภค แต่นักวิทยาศาสตร์อิสระกว่า 300 คน ได้โต้แย้งในประเด็นนี้[3] นอกจากนี้ พันธุวิศวกรรมยังเป็นเทคโนโลยีที่เป็นภัยที่นำความเสี่ยงต่อสุขภาพของมนุษย์ และส่งผลกระทบอันไม่คาดคิดและไม่อาจย้อนคืนได้ต่อสิ่งแวดล้อม
"แม้ว่าร่างพระราชบัญญัติความปลอดภัยทางชีวภาพถูกตีกลับไปยังกระทรวงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รัฐบาลไทยไม่เคยเรียนรู้บทเรียนหลังจากสองทศวรรษของการปนเปื้อนพืชจีเอ็มโอในประเทศไทย[4]" นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถีกล่าว "ขณะนี้สมาพันธ์เกษตร ปลอดภัยมั่นคง ยั่งยืนแห่งชาติ (NCSSSA)[5] จัดตั้งขึ้นและอ้างเป็นกลุ่มเกษตรกรไทยชั้นนำที่สนับสนุนรัฐบาลให้ผลักดันจีเอ็มโอ แต่จริงๆแล้วสมาพันธ์เกษตร ปลอดภัยมั่นคง ยั่งยืนแห่งชาติคือกลไกสนับสนุนจีเอ็มโอที่มีบริษัทยักษ์ใหญ่ เช่นมอนซานโต และ ซีพี ควบคุมอยู่เบื้องหลัง อีกครั้งหนึ่งที่ประเทศไทยตกอยู่ในความเสี่ยงจากการครอบงำของบรรษัท"
"กรีนพีซ เรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเปิดรับฟังความเป็นเหตุเป็นผลทางวิทยาศาสตร์ พิจารณาข้อมูล แข็งขืนต่อการโฆษณาชวนเชื่อของบรรษัท ยืนหยัดปกป้องประเทศไทยจากจีเอ็มโอ และสนันสนุนเกษตรกรรมเชิงนิเวศที่ยั่งยืน เกษตรกรรมเชิงนิเวศรับประกันถึงการเกษตรที่อุดมสมบูรณ์ อาหารสุขภาพของวันนี้และวันพรุ่งนี้ ด้วยการปกป้องดิน น้ำ และสภาพภูมิอากาศ ส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพ และไม่ทำให้สภาพแวดล้อมปนเปื้อนด้วยสารเคมี หรือจีเอ็มโอ"หมายเหตุ
[1] รายงานเรื่อง "20 ปีแห่งความล้มเหลว จีเอ็มโอกับคำสัญญาลม ๆ แล้ง ๆ http://www.greenpeace.or.th/mailing/20yearsGMO_TH.pdf
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit